วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567
หมอจุฬาแนะ รัฐต้องห้ามชุมนุมเด็ดขาดเสี่ยงกระจายโควิด สร้างแนวทางรับฟังปัญหาสังคม
SHARE

หมอจุฬาแนะ รัฐต้องห้ามชุมนุมเด็ดขาดเสี่ยงกระจายโควิด สร้างแนวทางรับฟังปัญหาสังคม

โพสต์โดย Nabi เมื่อ 21 กรกฏาคม 2563 - 11:45

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความ ในเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่องการชุมนุมมีใจความสำคัญว่า ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้โรคระบาดเกิดแพร่กระจายขยายวงไปอย่างกว้างขวางได้

หมอจุฬาแนะ รัฐต้องห้ามชุมนุมเด็ดขาดเสี่ยงกระจายโควิด สร้างแนวทางรับฟังปัญหาสังคม

กรณีของโควิด-19 มีงานวิจัย ที่ระบุให้ทุกประเทศออกนโยบายเพื่อป้องกันไม่ให้มีการชุมนุมอยู่พอสมควร ซึ่งมีหลายกรณีที่เป็นตัวอย่าง เช่น การรวมตัวกันทำพิธีทางศาสนาในประเทศมาเลเซีย ช่วงปลายเดือน ก.พ.-ต้น มี.ค. จนทำให้เกิดการระบาด และมาเลเซียตอนนี้มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากกว่าไทยเกือบ 3 เท่า รวมทั้งกรณีประเทศอื่นๆ เช่น สหรัฐอเมริกา หรือกลุ่มประเทศยุโรป ที่มีการชุมนุม เดินขบวนต่างๆ และมีรายงานผู้ติดเชื้อจำนวนมากในระยะเวลาถัดมา

หมอจุฬาแนะ รัฐต้องห้ามชุมนุมเด็ดขาดเสี่ยงกระจายโควิด สร้างแนวทางรับฟังปัญหาสังคม
หมอจุฬาแนะ รัฐต้องห้ามชุมนุมเด็ดขาดเสี่ยงกระจายโควิด สร้างแนวทางรับฟังปัญหาสังคม

นพ.ธีระ ระบุด้วยว่า ตามหลักวิชาการแพทย์การชุมนุมนั้นทำให้เสี่ยงต่อการระบาดของโรค เนื่องจากจำนวนคนที่อยู่ร่วมกันจำนวนมาก แออัด เบียดชิด อยู่กันเป็นเวลานาน มีการพูดคุย ตะโกน หยิบจับของกินของใช้ร่วมกัน รวมถึงการไม่ได้มีการป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เช่น ใส่หน้ากากแบบใส่บ้างถอดบ้าง และมีการใช้ห้องสุขาร่วมกันโดยไม่ระวังเรื่องความสะอาด เป็นต้น

มีงานวิจัยเคยคาดประมาณผลของนโยบายห้ามการชุมนุมว่า สามารถที่จะลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค โควิด-19 ได้ราว 35% (ช่วงความเชื่อมั่น 95% ตั้งแต่ 21-47%) ในทางกลับกันหากไม่มีการห้ามการชุมนุมในสถานการณ์ที่มีโรคระบาด จะทำให้มีโอกาสแพร่กระจายของโรคสูงกว่าการมีนโยบายถึง 54%

หมอจุฬาแนะ รัฐต้องห้ามชุมนุมเด็ดขาดเสี่ยงกระจายโควิด สร้างแนวทางรับฟังปัญหาสังคม
หมอจุฬาแนะ รัฐต้องห้ามชุมนุมเด็ดขาดเสี่ยงกระจายโควิด สร้างแนวทางรับฟังปัญหาสังคม

“วิเคราะห์กันแบบตรงไปตรงมา หากการชุมนุมของแต่ละวงนั้นเกิดผลกระทบแค่กลุ่มคนในวงชุมนุมแต่เพียงอย่างเดียว ก็คงไม่มีใครไปว่าอะไรแต่ในสถานการณ์โรคระบาดนั้น การกระทำดังกล่าวมีโอกาสส่งผลกระทบต่อคนในสังคมวงกว้าง” “เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่รัฐจำเป็นต้อง Take action seriously เพราะการคิดจะใช้สิทธิของตนเองในการแสดงออกนั้น ต้องไม่ไปละเมิดสิทธิคนอื่น อันหมายรวมถึงต้องไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของคนอื่นในสังคม” นพ.ธีระ เสนอว่า หลายเดือนถัดจากนี้ สิ่งที่รัฐควรทำคือ

  • 1.ป้องกันไม่ให้เกิดการชุมนุม ตราบใดที่ยังมีปัญหาโรคระบาดทั่วโลกเช่นนี้
  • 2.สร้างแนวทางรับฟังแนวคิดในการแก้ไขปัญหาสังคมจากทุกฝ่าย ไม่ว่าฝ่ายเราฝ่ายเขาหรือฝ่ายไหนๆ ภายใต้ตัวบทกฎหมาย
  • 3.ตั้งใจบริหารจัดการ ประคับประคองประเทศไทยให้ปลอดภัยไปตลอดรอดฝั่งในช่วงสงครามโรคระบาด โควิด-19 นี้ ไม่เลือกปฏิบัติ ก้าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ยึดหลักอดทน อดกลั้น อดออม และพอเพียง
  • 4.ลด ละ เลิก นโยบายทุนนิยม ที่เสี่ยงต่อการถูกล่อด้วยกิเลส แลกกับความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายฟองสบู่ท่องเที่ยว ที่ควรพักไว้อย่างน้อย 6 เดือนแล้วจึงค่อยพิจารณาตามสถานการณ์ขณะนั้นอีกครั้ง
  • 5.ทำคลอดนโยบายที่เน้นการทำให้ไทยยืนได้บนขาตนเอง ใช้ปัจจัยสี่ในการดำรงชีพจากทรัพยากรภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า

“ในขณะที่ประชาชนชาวไทยนั้น เวลานี้เราคงต้องรับรู้ว่า ศึกโรคระบาดนี้ยาวนาน และตอนนี้ความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ สิ่งที่เราแต่ละคนจะทำได้ดีที่สุดคือ รักตัวเอง ป้องกันตัวเองและครอบครัว ใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร พูดน้อยๆ พบปะคนน้อยลงสั้นลง เลี่ยงที่แออัดที่ชุมนุมที่อโคจร และหมั่นสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบายต้องรีบไปตรวจรักษาเพื่อตัดวงจรของการระบาดแต่เนิ่นๆ”

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Thira Woratanarat


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com