วันพุธที่ 17 เมษายน 2567
อนามัยโลก (WHO)ภาวะหลังโควิด เล่นงานผู้ป่วยทั่วโลก เรื้อรังนาน 6 เดือน
SHARE

อนามัยโลก (WHO)ภาวะหลังโควิด เล่นงานผู้ป่วยทั่วโลก เรื้อรังนาน 6 เดือน

โพสต์โดย Nabi เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2564 - 15:11

สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย วันที่ 13 ก.พ. 2564 พบป่วยรายใหม่ 126 ราย รวมสะสม 24,405 ราย หายป่วยแล้ว 21,180 ราย ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 3,145 ราย เสียชีวิตสะสม 80 ราย ด้าน องค์การอนามัยโลก (WHO)คาดการณ์ว่าประชาชนจำนวนมากจะเผชิญผลกระทบจาก “ภาวะหลังโควิด”

อนามัยโลก (WHO)ภาวะหลังโควิด เล่นงานผู้ป่วยทั่วโลก เรื้อรังนาน 6 เดือน

สำนักข่าวซินหัวไทย รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) ประเมินสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ในปัจจุบัน คาดการณ์ว่าประชาชนจำนวนมากจะเผชิญผลกระทบจาก “ภาวะหลังโควิด” (post-COVID condition) หรือ “โควิดระยะยาว” (Long COVID)

อนามัยโลก (WHO)ภาวะหลังโควิด เล่นงานผู้ป่วยทั่วโลก เรื้อรังนาน 6 เดือน
(แฟ้มภาพซินหัว : บุคลากรทางการแพทย์เก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งเพื่อตรวจโรคโควิด-19 จากเด็กชายในเมืองชะฮ์อาลัม รัฐเซอลาโงร์ของมาเลเซีย วันที่ 30 ม.ค. 2021)
อนามัยโลก (WHO)ภาวะหลังโควิด เล่นงานผู้ป่วยทั่วโลก เรื้อรังนาน 6 เดือน

”วิธีป้องกันภาวะดังกล่าวที่ดีที่สุดคือการป้องกันโรคโควิด-19 ตั้งแต่แรกเริ่ม” ดร. ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การฯ แถลงข่าวเมื่อวันศุกร์ (12 ก.พ.) พร้อมเสริมว่ามีการประชุมระดับโลกของกลุ่มผู้ป่วย ผู้เชี่ยวชาญทางคลินิก และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อเพิ่มความเข้าใจ “โควิดระยะยาว” ทีโดรสกล่าวว่าการประชุมข้างต้นจัดขึ้นเป็นครั้งแรก มุ่งเน้นการบรรลุความตกลงเกี่ยวกับการนิยามภาวะหลังโควิดในทางการแพทย์ ซึ่งจะมีความสำคัญต่อบรรดาผู้เชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและการรักษา “โควิดระยะยาว” ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 ทั้งอาการเล็กน้อยและอาการรุนแรง “ความท้าทายส่วนหนึ่งคือผู้ป่วยที่มีภาวะโควิดระยะยาวอาจมีอาการเจ็บป่วยแตกต่างกันหลายรูปแบบ ซึ่งอาจเป็นการป่วยเรื้อรังหรือการป่วยชั่วคราวก็ได้” ทีโดรสกล่าว

อนามัยโลก (WHO)ภาวะหลังโควิด เล่นงานผู้ป่วยทั่วโลก เรื้อรังนาน 6 เดือน
อนามัยโลก (WHO)ภาวะหลังโควิด เล่นงานผู้ป่วยทั่วโลก เรื้อรังนาน 6 เดือน

ด้านดร. เจเน็ต ดิแอซ ผู้เชี่ยวชาญประจำทีมการเตรียมความพร้อมดูแลสุขภาพ (Health Care Readiness) ขององค์การฯ กล่าวระหว่างการแถลงข่าวอีกงานหนึ่งว่าภาวะหลังโควิด-19 เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะแตกต่างกันและอาจกินเวลานานถึง 6 เดือนหลังติดเชื้อ

ดิแอซเผยว่ากลุ่มอาการร่วมส่วนใหญ่ที่มีการรายงาน ได้แก่ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยเรื้อรัง (PEM) สมองล้า (brain fog) ในบางเวลา หายใจไม่อิ่ม ไอ รวมถึงอาการแทรกซ้อนทางจิตใจและประสาท ซึ่งภาวะเหล่านี้อาจพบได้ในผู้ป่วยที่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยนอกที่มีอาการเล็กน้อย “จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะหลังโควิด-19 ปัจจุบันยังไม่มีความชัดเจนว่าคนกลุ่มใดมีความเสี่ยงมากที่สุดและทำไมจึงเกิดภาวะเหล่านี้ขึ้นมา” ดิแอซกล่าวทิ้งท้าย

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สำนักข่าวซินหัวไทย


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com