อัปเดตอาการ ของผู้ติดเชื้อโควิด สายพันธ์ุ โอไมครอน หลังพบ 8 อาการหลักที่พบในประเทศไทย ล่าสุด ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความ ถึงอาการเฉพาะตัวของผู้ติดเชื้อโควิด สายพันธุ์ โอไมครอน

ซึ่งเป็นข้อมูลจาก ดร.จอห์น แคมพ์เบล แพทย์จากอังกฤษ โดยให้ข้อมูลว่า "อาการเปลี่ยนจากเดิมโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ โดยอาการไข้ไม่ชัดเจน และไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับกลิ่นและรส ส่วนอาการหลัก ๆ ที่พบ มีดังนี้
- ปวดหัว 65%
- อ่อนเพลียอ่อนล้า 65% ตั้งแต่ไม่มากจนกระทั่งถึงลุกไม่ไหว
- น้ำมูกไหล 65%
- เจ็บคอ 57%
- จาม 55%

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เผยว่า สาเหตุที่อาการไม่รุนแรง เกิดจาก ทั้งตัวไวรัสเอง และภูมิในมนุษย์จากการติดเชื้อคราวก่อน และจากการได้รับวัคซีน นอกจากนั้น จากการที่ไวรัสชอบจมูก ปาก ทางเดินหายใจส่วนต้น มากกว่าปอดลึก ๆ แม้จะลงไปได้ แต่แน่นอนว่า มีเวลาให้ภูมิทุกระบบเข้ามาต่อสู้ทัน ทั้งนี้ เป็นที่อธิบายได้ว่า ทำไมคนอายุตั้งแต่ 55 ปี ชัด ๆ ที่ 70 ปีกว่า จึงมีอาการมากกว่า สว และ/หรือ มีโรคประจำตัว ปัจจัยที่ไม่เปลี่ยนแปลง "เริ่มช้าไงครับ"

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ( 5 ม.ค. 65 ) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ได้อัพเดตข้อมูลเพิ่มเติมว่า "ถึงไม่อยากติด..ก็ยังติดได้
1. โอไมครอนพิสูจน์แล้วว่าวัคซีนมาตรฐาน 3 เข็ม กันติดได้ 60-70% ระยะแรก
แต่ต้องฉีด (ขอชั้นผิวหนังเพื่อปลอดภ้ยจากวัคซีน ใช้ 10 ไมโครกร้มของ โมเดนา ไฟเซอร์)
2. ฉีด ทำไม ในเมื่อก็ยังติดในระยะต่อมา?
เพราะ ไม่ต้องการให้ตึดทันทีทันใดเป็นแสน เป็นล้านคน
3. เกิดอะไรขึ้นถ้าติด
จำนวนมหึมาพร้อมกัน? แม้ความเสี่ยงที่ต้องเข้าโรงพยาบาล <เดลต้า 30% และเสียชีวิต <เดลต้า 60% แต่จะมีคนสูงวัย อ้วน โรคประจำตัว ที่อาจได้ผลกระทบเต็มๆ

ดังนั้น การดึง หน่วงการติดเชื้อจะช่วย รพ และบุคลากรสาธารณสุข (ที่จะค่อยๆติดเชื้อตามไปด้วย) ให้พอรับมือไหว
4. อะไรที่ช่วยนอกจากวินัย-วัคซีน?
ยาที่ใช้ได้เลย เมื่อรู้ว่าติด กันไม่ให้หนัก Dr V channel ยูทูป 27/12/64
5. ถ้าภายในหกสัปดาห์นับจากปีใหม่เป็นต้นไป ถึงสูงสุดและค่อยๆราบเรียบในสามเดือน แล้วจะมีอะไรต่อ?
ประกาศ อิสรภาพ และภาวนาไม่ให้มีตัวใหม่ ที่แพร่เร็ว และอาการหนักโดยเดลต้าหนักมากแพร่ช้า โอไมครอน เบากว่ามากแพร่เร็ว และจากนี้ ตามรักษาเยียวยาคนที่หายจากโควิด แต่ยังมีอาการต่อเนื่องยืดยาวหลายระบบของร่างกายไปเป็นเดือนคือ Long COVID ทั่วโลกประมาณการว่ามีถึง 30% และกระทบสมอง 8%

ขอบคุณข้อมูลจาก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา