วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567
SHARE

เปิดประสิทธิภาพ ยารักษาโควิด 4 ชนิด ต่างกันอย่างไร แบบไหนดีที่สุด

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 22 เมษายน 2565 - 17:11

นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ แถลงการใช้ ยารักษาโควิด ว่า การรักษาโควิด ได้มีการติดตามข้อมูล และปรับแนวทางการรักษาเป็นระยะ สำหรับยา ฟาวิพิราเวียร์ มีการใช้มาแล้ว 2 ปี โดยช่วงแรกศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศที่มีการนำยานี้มาใช้ 

ซึ่งกลไกออกฤทธิ์คือ การยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัส ทำให้เชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไป จากการทบทวนอย่างเป็นระบบ ข้อมูลล่าสุดพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ มีอาการดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับ โดยเฉพาะในช่วง 14 วัน สัดส่วนอาการดีขึ้น 86.9% 

ส่วนการติดตามอาการจากการใช้ยาอื่น มี ยาเรมดิซิเวียร์ ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ตำแหน่งเดียวกับยา ฟาวิพิราเวียร์ ช่วงเริ่มต้นองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ยังไม่ได้แนะนำหรือรับรอง แต่เมื่อใช้ยามาสักระยะ ก็ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐ ให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน โดยให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งมีประโยชน์ในกลุ่มคนที่รับประทานไม่ได้ มีปัญหาการดูดซึม สามารถใช้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมีอาการลดลง นอนโรงพยาบาลลดลง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับยาหลอก โดยกลุ่มรับยาเรมดิซิเวียร์พบนอนโรงพยาบาล 10 วัน กลุ่มที่รับยาหลอกนอนโรงพยาบาล 15 วัน

ยาตัวที่ 3 คือ โมลนูพิราเวียร์ อยู่ในกระบวนการเตรียมพร้อมกระจาย หลังอนุมัติจากอีโอซี สธ. และ ศบค.แล้ว กลไกออกฤทธิ์จุดเดียวกันกับ ฟาวิพิราเวียร์ ช่วยให้ผู้ป่วยลดความเสี่ยงการเกิดอาการรุนแรง โดยขนาดยาคือ 800 มิลลิกรัม (มก.) แบ่งเป็น 200 มก. จำนวน 4 แคปซูล รับประทานทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา 5 วัน รวม 40 แคปซูลต่อคน

และยาตัวที่ 4 แพกซ์โลวิด ที่กำลังดำเนินการจัดหาเข้ามา กลไกการออกฤทธิ์ต่างกัน โดยออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ ทำให้เชื้อลดจำนวนลง ไม่สามารถเกิดผลกับโรคได้ โดยยานี้ประกอบด้วยยา 2 ตัว คือ Nirmatrelvir 150 มก. และ Ritonavir 100 มก. รับประทาน Nirmatrelvir 2 เม็ด และ Ritonavir 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน ช่วยลดความเสี่ยงการนอนโรงพยาบาลลง 88% กรณีให้ยาภายใน 5 วันหลังมีอาการ ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุด จึงมีการสำรองสำหรับประชาชน โดยกลางเดือนหน้าน่าจะนำเข้ามาและกระจายต่อไป

"จากการติดตามการใช้ยามาสักระยะหนึ่ง ยาแต่ละตัวมีข้อดีเสียต่างกัน เช่น เรมดิซิเวียร์ช่วยกลุ่มอาการปานกลาง ให้ได้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือมีปัญหาการรับประทานหรือการดูดซึม, ยาฟาวิพิราเวียร์ ติดตามแล้วยังมีประโยชน์ และให้ได้คนตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ส่วนยา 2 ตัวที่เหลือยังเป็นข้อห้ามสำหรับหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม นอกจากประสิทธิภาพและความปลอดภัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความพร้อมในการใช้ยา การจัดหายา และราคายา ซึ่งมีคณะกรรรมการพิจารณาแนวทางการรักษา โดยมีการติดตามค่าใช้จ่ายแต่ละราย เช่น ยาฟาวิพิราเวียร์ทั้งกระบวนการรักษา 1 คอร์ส อยู่ที่ 800 บาท เรมดิซิเวียร์ 1,512 บาท ส่วนยาใหม่ทั้งโมลนูพิราเวียร์และแพกซ์โลวิดอยู่ที่คอร์สละ 1 หมื่นบาท"

นพ.มานัส กล่าวอีกว่า จากการติดตามทั้งของกรมการแพทย์ หรือสำนักการแพทย์ กทม. ยืนยันว่า ยังพบประสิทธิภาพประสิทธิผล และความปลอดภัยของฟาวิพิราเวียร์ หลายประเทศก็ใช้รักษาโควิด ทั้งนี้ การได้มาของแนวทางการรักษาจะมีการปรับเปลี่ยนตามหลักฐานเชิงประจักษ์ และมีการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งล่าสุดมีการปรับปรุงแนวทางไปเมื่อวันที่ 1 มี.ค. และสัปดาห์หน้าอาจจะมีการปรับอีก

ซึ่งมีการจำแนกตามรุนแรงของโรค ยาตัวเลือกที่มีให้ใช้ ยารักษาตามอาการ และฟ้าทะลายโจร นอกจากนี้ จากการรักษาแบบ เจอ แจก จบ พบว่า กลุ่มรักษาด้วยยาตามอาการมี 52% ยาฟ้าทะลายโจร 24% และฟาวิพิราเวียร์ 26%  อัตราการป่วยต่อประชากร การติดเชื้อของไทย อัตราการเสียชีวิต เมื่อเทียบกับหลายประเทศยังอยู่ในระดับควบคุมได้ดี และก่อนได้แนวทางการรักษา หรือยาที่ใช้ในปัจจุบัน มีการพิจารณาจากคณะกรรมการอย่างรอบด้าน และเหมาะสมกับในประเทศไทย

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก กรมการแพทย์



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com