วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567
SHARE

อาหารที่กินได้

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 29 เมษายน 2565 - 10:54

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงผู้ที่เพิ่งหายจากโควิด-19 การรักษาตัวเองนอกจากพักผ่อนให้เพียงพอ ทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ เรื่องของอาหารถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมาก เพราะฉะนั้นอาหารที่ต้องระวัง หรือใส่ใจเป็นพิเศษสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 มีอะไรบ้าง

โดยเฉพาะกับคำถามยอดฮิตในช่วงนี้ "ติดโควิดกินทุเรียนได้ไหม" อาจารย์แววตา เอกชาวนา นักกำหนดอาหารวิชาชีพอิสระ เคยให้ข้อมูลกับไทยโพสต์ไว้ว่า ผู้ป่วยโรคโควิด 19 ควรรับประทานอาหารแบคทีเรียต่ำ (Low-Bacterial Diet) ซึ่งก็คืออาหารปรุงสุกใหม่และสะอาด ซึ่งจะช่วยลดอาการติดเชื้อไวรัสในผู้ป่วยลงได้ หรือในคนที่ติดเชื้อระดับต่ำก็สามารถหายเองด้วยการกินอาหารกลุ่มนี้

ส่วนผลไม้อย่างทุเรียนนั้น จริง ๆ แล้วตัวทุเรียนเองไม่ได้เป็นปัญหาอะไรกับผู้ป่วยโควิด แต่ที่ต้องระวังคือเปลือกของทุเรียน มีดที่ใช้ และขั้นตอนระหว่างปอกเปลือกที่อาจมีเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ ปนเปื้อนได้ โดยทั่วไปจึงแนะนำให้ผู้ป่วยโควิดหลีกเลี่ยงการรับประทานทุเรียน

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโควิดก็สามารถกินทุเรียนได้ หากญาติของผู้ป่วยสามารถล้างเปลือกทุเรียนจนสะอาด ใช้มีดที่ทำความสะอาดเป็นอย่างดี และเมื่อปอกทุเรียนแล้วก็บรรจุใส่ในกล่องที่สะอาด มีฝาปิด ให้ผู้ป่วยเปิดกล่องรับประทานได้ทันที

ในส่วนของที่ต้องระวัง ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า เนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก คอ หลอดลม และปอด ซึ่งอาการแสดงที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น

กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่มีไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก มีเสมหะ หอบเหนื่อย

กลุ่มที่ 2 มีอาการผะอืดผะอม อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ มีลมในกระเพาะ หรือถ่ายเหลว

กลุ่มที่ 3 มีอาการปวดเมื่อย อ่อนเพลีย

เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาตามอาการป่วยของตนเอง และควรเลือกกินอาหารให้เหมาะสม โดยควรเลือกอาหารที่ ไม่ทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง ต้องเป็นอาหารที่ไม่เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ ต้องไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

กลุ่มอาหารที่อาจทำให้อาการแย่ลง

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไอ คัดจมูก คันคอ มีเสมหะ​ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง ดังนี้

- เครื่องดื่มแช่เย็น  เครื่องดื่มปั่นต่าง ๆ ที่มีรสหวาน น้ำอัดลม เบียร์ แอลกอฮอล์ ชานมไขมุก ชา กาแฟใส่นม เครื่องดื่มที่มีน้ำเชื่อม น้ำตาล นมข้นหวาน เนื่องจากการทานเครื่องดื่มที่มีความเย็นและมีความหวาน จะทำให้อาการที่เป็นอยู่เป็นมากขึ้น เช่น มีน้ำมูก คันคอ ไอ หรือมีเสมหะมากขึ้น

- อาหารรสจัด อาหารมันจัด หวานจัด เผ็ด มีเครื่องเทศ เครื่องแกง

- อาหารที่มีน้ำมันเยอะ ของทอดต่าง ๆ  อาหารฟาสต์ฟู้ด

- อาหารกินเล่น หรือขนมคบเคี้ยว ขนมถุงต่าง ๆ ขนมที่มีชีส นม หรือเนย เช่น ขนมปังอบเนย

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการย่อยยาก​ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง หรือผะอืดผะอมมากขึ้น ดังนี้

- เนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อเป็ด เป็นต้น

- เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ

- อาหารปิ้งย่าง

- มะพร้าว

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้อาการแย่ลง

- หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด

- งดอาหารประเภทนม โยเกิร์ต ชีส ผลไม้สด

- หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารประเภททอด

- หากไม่สามารถรับประทานอาหารในปริมาณต่อมื้อตามปกติได้หมด ให้แบ่งรับประทานอาหารออกเป็นหลายมื้อในช่วงวัน

กลุ่มอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อ

- อาหารหมักดอง ปูเค็ม ปลาร้า

- อาหารปิ้งย่าง

- เครื่องในสัตว์ต่าง ๆ

- อาหารที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุก

- อาหารที่ปรุงไม่สะอาด ปนเปื้อนฝุ่น มลภาวะต่าง ๆ

กลุ่มอาหารที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน

- ผู้ป่วยที่เป็นโรคเก๊าท์ ไม่ควรกินอาหารที่กระตุ้นให้เกิดยูริคในร่างกายสูง เช่น ยอดผัก เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก

- ทานอาหารไม่สุก หรือสุก ๆ ดิบ ๆ อาหารค้างคืน หรืออาหารที่ต้องอุ่นไมโครเวฟ อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรืออาหารเป็นพิษได้

-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือเครื่องดื่มชูกำลังต่าง ๆ

อาหารที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโควิด-19

- เน้นทานอาหารปริมาณน้อย แต่ทานบ่อย ๆ

- ทานอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก

- อาหารย่อยง่าย เช่น ปลา

- ทานอาหารอุ่น ๆ

- ดื่มเครื่องดื่ม น้ำอุณหภูมิห้อง ไม่แช่เย็น  หรือน้ำอุ่น น้ำส้ม น้ำมะนาว น้ำขิง

นอกจากนี้อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 ได้แก่ อาหารที่ต้องสัมผัสจากมือ อาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ใช้ภาชนะซ้ำ ๆ เช่น หั่นบนเขียงซ้ำ ๆ ใช้กะละมังผสมซ้ำ ๆ เช่น ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ก๋วยเตี๋ยวหลอด ปอเปี๊ยะสด ส้มตำ ยำต่าง ๆ ก๋วยเตี๋ยวลุยสวย สลัดผัก บุฟเฟ่ต์ ผลไม้หั่นชิ้น

เพราะฉะนั้นควรกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เชื้อโรคแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกาย และที่สำคัญควรงดอาหารสด อาหารกึ่งดิบกึ่งสุก และอาหารที่ขายตามท้องตลาดที่แม่ค้าพ่อค้าไม่สวมหน้ากากอนามัยหรือถุงมือป้องกัน รวมถึงเมื่อสัมผัสภาชนะห่อหุ้มอาหารที่มาจากนอกบ้าน ควรล้างมืออย่างถูกต้อง ด้วยน้ำ สบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทุกครั้ง

ขอบคุณ  กรมสุขภาพจิต ไทยโพสต์ และ โรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์แนชั่นแนล หนองแขม



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com