วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567
SHARE

กรมการแพทย์ แนะ โรคลมชัก ไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด หยุดชักเองได้

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 28 เมษายน 2565 - 17:41

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า สาเหตุโรคลมชัก เป็นโรคทางสมองที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ และมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี สาเหตุเกิดจากความผิดปกติของสมองตั้งแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง มีผลให้ส่งกระแสไฟฟ้าผิดปกติ แล้วแสดงออกเป็นอาการชัก 

ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากสร้างผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว ทั้งปัญหาสุขภาพในฐานะของโรคและความเจ็บป่วย ยากลำบากต่อการเข้ารับการศึกษา การประกอบอาชีพ การวางแผนครอบครัว ตลอดจนคุณภาพชีวิต ซึ่งกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

อาการแสดงของโรคลมชักมีความหลากหลาย เช่น ชักเกร็ง กระตุก ชักแบบเหม่อนิ่ง เคี้ยวปาก หรือบางครั้งเคลื่อนไหวแขนขาไปมาในท่าเดิมซ้ำ ๆ อาการชักเกิดขึ้นและหายเองในระยะเวลาอันสั้น โดยส่วนมากประมาณไม่เกิน 2 นาที บางครั้งสังเกตได้ยาก ทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่รู้ตัว หรือบางครั้งมีอาการชักแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่แปลก

ทำให้ถูกมองว่าป่วยด้วยโรคทางจิตเวช หรือมองเป็นเรื่องไสยศาสตร์ ผีเข้า เป็นเหตุให้ไม่ได้รับการรักษาตามมาตรฐาน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโรคนี้สามารถรักษาหายได้ หากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ โดยปราศจากอาการชัก ในกรณีผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยยากันชัก

ปัจจุบันก็ยังสามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัดสมอง ซึ่งจะมีขั้นตอนการประเมินผ่าตัดในผู้ป่วยแต่ละรายไป โดยสถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่สามารถให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคลมชักแบบครบวงจร มีเครื่องมือที่ทันสมัย และมีความพร้อมในการประเมินการผ่าตัด และรับส่งต่อผู้ป่วยจากทั่วประเทศ

นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยที่มีอาการชัก บางครั้งมีอาการเกร็งกระตุกรุนแรง บางครั้งหลังชักมีอาการสับสนวุ่นวาย การช่วยเหลือระหว่างที่ชักและหลังชักแล้ว จึงควรช่วยเหลือดูแลเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก

เนื่องจากขณะมีอาการชัก ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัว และไม่สามารถควบคุมตนเองได้ ผู้ดูแลจึงควรป้องกันอันตรายโดยรอบที่อาจเกิดขึ้น เช่น อย่าให้ตกน้ำ อย่าให้เดินไปเดินมาในพื้นที่อันตราย อย่าให้สัตว์ร้ายทำอันตราย อย่าให้ประสบอุบัติเหตุ จนกว่าจะรู้ตัวรู้เรื่องเป็นปกติ เท่านี้คือการดูแลให้ปลอดภัย

แต่หลาย ๆ เหตุการณ์ยังเป็นความเชื่อที่ผิด และอันตรายต่อสุภาพของผู้ป่วย เช่น กดท้องแรงๆ การหาอะไรใส่ปาก การพยายามจับยึด การจับกดแขน กดขา การพยายามจะทำให้ผู้ป่วยอยู่นิ่ง ๆ อันนี้อันตรายทั้งต่อตัวผู้ป่วยและผู้ช่วยเหลือ การดูแลที่ดี คือ ไม่งัด ไม่ง้าง ไม่ถ่าง ไม่กด ถ้าหากผู้ป่วยชักนาน 5 นาทีขึ้นไป หรือได้รับบาดเจ็บขณะชัก ควรรีบนำส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือโทรสายด่วนฉุกเฉิน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือที่เหมาะสม

 

ขอบคุณ กรมการแพทย์

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com