การค้นพบที่อาจสร้างความสั่นสะเทือนให้แก่นักโภชนาการหลายคน เมื่อนักวิทยาศาสตร์จากญี่ปุ่นค้นพบว่า การกินไอศกรีมเป็นอาหารเช้า ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัวและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของจิตใจ

เว็บไซต์ข่าว Telegraph รายงานว่า นาย โยชิฮิโกะ โคกะ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเคียวริอึน ได้ดำเนินการทดสอบการกินไอศกรีมในทันทีหลังจากตื่นนอนตอนเช้า โดยใช้แบบทดสอบทางจิตใจบนเครื่องคอมพิวเตอร์ พบว่าอาสมัครที่กินได้ไอศกรีมในตอนเช้า มีปฏิกิริยาการตอบสนองและประมวลผลข้อมูลได้ดีกว่าอาสาสมัครที่ไม่ได้กินกินไอศกรีมในตอนเช้า
โดยหลังจากที่ทำการตรวจสอบคลื่นสมองพบว่า คลื่นความถี่อัลฟาในสมองของผู้กินไอศกรีมตอนเช้ามีอัตราความถี่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลต่อการเพิ่มระดับการตื่นตัวของร่างกาย และช่วยลดระดับความขุ่นเคืองในจิตใจด้วย

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การที่สมองและจิตใจมีความตื่นตัวมากขึ้น หลังจากกินของที่มีอุณหภูมิต่ำ ศาสตราจารย์โยชิฮิโกะจึงได้ทำการทดสอบกับกลุ่มทดลองเดิม โดยเปลี่ยนมาใช้น้ำเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำเช่นเดียวกันแทน และพบว่า การดื่มน้ำเย็นตอนเช้าก็ช่วยให้กลุ่มตัวอย่างมีความตื่นตัวมากขึ้น และอารมณ์ดีขึ้น แต่ระดับไม่ได้มากเท่ากับผู้ที่กินไอศกรีมในตอนเช้า
อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์โยชิฮิโกะยังคงดำเนินงานวิจัยของเขาต่อไป และยังไม่ได้ข้อสรุปเชื่อมโยงแน่ชัด ระหว่างประสิทธิภาพทางอารมณ์จากการกินไอศกรีมและส่วนประกอบที่เฉพาะเจาะจง ในขณะที่งานวิจัยอื่น ๆ กล่าวว่า การที่ไอศกรีมช่วยเพิ่มอารมณ์บวกและพลังงานมากขึ้น ดูจะเป็นเรื่องที่โกหกมากกว่า มีนักโภชนาการหลายคนไม่เห็นด้วยกับการค้นพบครั้งนี้

ตัวอย่างเช่น Katie Barfoot นักจิตวิทยาโภชนาการจากมหาวิทยาลัยเรดิง ประเทศอังกฤษกล่าวว่า "คำอธิบายที่เป็นไปได้ที่สุดในสาเหตุที่ระดับการตื่นตัวเพิ่มขึ้น มันเรียบง่ายคือน่าจะเป็นการรับประทานอาหารเช้า กับไม่รับประทานอาหารเช้ามากกว่า"
"สมองของเราต้องการกลูโคสเพื่อการทำงานของร่างกาย และมื้ออาหารที่มีกลูโคสสูง (ของหวาน) ช่วยใหการทำงานของจิตใจเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับสมองของผู้ที่อดอาหารเช้า แต่อย่างไรก็ตาม นี้ไม่ได้เกี่ยวกับการรับประทานของหวานในตอนเช้าแต่อย่างใด เพราะผลการศึกษาได้เน้นสำรวจไปที่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคอาหารดัชนีน้ำตาลต่ำ กับอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลสูงมากกว่า"

แม้ว่าการศึกษานี้ยังคงดำเนินอยู่ต่อไป แต่เคยมีผลการศึกษาแล้วว่าการกินไอศกรีมรสวานิลลาช่วยกระตุ้นให้ "จุดความสุข" ในสมองสว่างวาบขึ้นมา ได้ราวกับกำลังฟังเพลงโปรดสักเพลงอยู่

ขอบคุณ Telegraph