ผู้สื่อข่าวสำนักข่าว จาม ประจำจังหวัดสตูล รายงานข่าวว่า อำเภอทุ่งหว้า ขนเจ้าหน้าที่เข้าป่า ตามชาวซาไกเกือบ 50 คนทำบัตรประชาชน สร้างตัวตนให้มีสิทธิ์เท่าเทียมคนทั่วไป

วันนี้ (14 ก.ย. 2563) นายพีรพัฒน์ เงินเจริญ นายอำเภอทุ่งหว้า จ.สตูลมอบหายให้นายสุเมธ สุขเจริญ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตรฯ อำเภอทุ่งหว้า พร้อมเจ้าหน้าที่ อส.ทุ่งหว้า ลงพื้นที่บริเวณบ้านราวปลา ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เป็นพื้นที่ติดกับแนวเขตเทือกเขาบรรทัด และรอยต่อระหว่างจังหวัดตรัง – พัทลุง


โดยนำเอกสารตรวจสอบในเรื่องหนังสือยืนยันและรับรองกลุ่ม มานิ ชาวมานิ หรือที่คนไทยเรียกขานว่า (เงาะป่าซาไก) เป็นชาวพื้นเมืองที่พบในพื้นที่ป่าภาคใต้ และการลงตรวจสอบสัญชาติบุคคลเหล่านี้ ซึ่งทางอำเภอทุ่งหว้ามีเป้าหมายให้ชาวานิทุกคนที่อาศัยทับในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว มีบัตรประชาชนครบทุกคน และได้มีสิทธิ์เท่าเทียมกับบุคคลประชาชนทั่วไป มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง ค่ารักษาพยาบาล การรับเงินค่าครองชีพตามรัฐบาลที่ให้และเงินผู้สูงอายุอีกมากมายตามกฎหมายไทย


นายสุเมธ สุขเจริญ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตรฯ อำเภอทุ่งหว้า เปิดเผยว่า วันนี้ลงพื้นที่เข้าป่าเพื่อออกตามหามานิ โดยทางอำเภอทุ่งหว้า สำรวจแล้วพบมานิอาศัยอยู่ เกือบ 50 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม มานิสร้างทับ หรือที่พักเขาในป่าเป็นจุดๆระยะห่างหมู่บ้านของประชาชน แต่สิ่งหนึ่งในวันนี้ทาง นาย พีรพัฒน์ เงินเจริญ นายอำเภอทุ่งหว้า จ.สตูล เล็งเห็นถึงคุณภาพชีวิตของเหล่ามานิ ที่อยู่ในป่าจึงได้สั่งการให้ผู้รับผิดชอบเข้าป่าเดินเท้าเข้าไปหามานิทันที สำรวจเพื่อเอาประวัติ ชื่อนามสกุล นิ้วมือมาเพื่อยื่นเรื่องทำบัตรประชาชน มีเลขประจำตัว 13 หลักทุกคน และมีเด็กเล็กๆก็พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ พอครบอายุ 7 ปีบริบูรณ์ ก็ทำบัตรประชาชนทันที


นายสุเมธ สุขเจริญ หัวหน้าฝ่ายทะเบียนและบัตรฯ อำเภอทุ่งหว้า กล่าวอีกว่า ตามขั้นตอนตามระเบียบในการมีบัตรประชาชนนั้น ของมานิในพื้นที่อำเภอทุ่งหว้า มานิ เราทำกระบวนการสอบสวนจึงได้นั้น เจ้าหน้าที่ปกครองที่นำพาไปที่อำเภอ เมื่อเขาไม่มาเราก็ต้องเดินทางมาหาเขาถึงถิ่น


โดยจุดแรกคือประทับหรือพิมพ์รอยนิ้วมือ รวบรวมเอกสารทุกคนส่งต่อท่านนายอำเภอทุ่งหว้า อนุมัติเพื่อเพิ่มรายชื่อลงทะเบียนราษฯแล้วออกบัตรประชาชนได้ ยอดมานิในทุ่งหว้าแบ่งเป็น 3 กลุ่มรวมแล้วราวๆเกือบ 50 คน มีบัตรแล้ว 21 คน ที่เหลือมาเก็บข้อมูลเพิ่มเติม นางสาวกาญจนา คงสุรินทร์ อายุ 32 ปี ผู้แลมานิในพื้นที่อำเภอทุ่งหว้า กล่าวว่า มานิในพื้นที่ทุ่งหว้า ตนเองเป็นผู้ดูแล และคอยประสานในเรื่อง มานิไม่สบาย เป็นไข้ เพราะปัจจุบันวิวัฒนาการความเจริญเข้า มานิเหล่านี้เริ่มใช้ชีวิตแบบคนเมือง สิ่งหนึ่งที่เขาต้องการ คือ อาหาร ขนม ใครมีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนได้...



เรื่องและภาพโดย: เอนก ขันทสิกรรม ทีมข่าวภูมิภาค จาม ประจำจังหวัดสตูล