วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567
เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews
SHARE

เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews

โพสต์โดย Shambhala TS เมื่อ 2 เมษายน 2564 - 15:07

ผู้สื่อข่าวสำนักข่าว จาม ประจำธนบุรี-นครปฐม รายงานข่าว วิศวกรรมศาสตร์มหิดล จับมือ เอไอเอส วิจัยพัฒนานวัตกรรมต้นแบบหุ่นยนต์ "UVC Moving CoBot" หุ่นยนต์แขนกลเคลื่อนที่อัจฉริยะฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวีซี สร้างพื้นที่ปลอดไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99%

เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา จังหวัดนครปฐม รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากร คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดตัวหุ่นยนต์สร้างพื้นที่ปลอดภัยไวรัส UVC Moving CoBot หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ ฆ่าเชื้อไวรัสและแบคทีเรียได้ถึง 99.99% โดยมีบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงที่จะพัฒนาไปเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ในอนาคต นับเป็นเครื่องมือใหม่ช่วยธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเดินหน้าต่อด้วยมาตรฐานความปลอดภัย อุ่นใจและปลอดภัย รับมือสถานการณ์ อันเกิดขึ้นในระลอกใหม่ในอนาคต

เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews
เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 นับเป็นอัตราการติดเชื้อสูงในเดือน ก.พ. หลายประเทศยังประกาศล็อคดาวน์อีกครั้งหนึ่ง สำหรับประเทศไทยยังมีผู้ติดเชื้อเป็นระยะๆ และกำลังจะเปิดประเทศในพื้นที่เป็นเรื่องของการท่องเที่ยวในบางจังหวัด ฉะนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสร้างความมั่นใจอุ่นใจ สำหรับคนไทยและนักท่องเที่ยว จะนำหุ่นยนต์ตัวนี้เข้ามาช่วยในการทำความสะอาดฆ่าเชื้อในพื้นที่ เช่น สนามบิน ห้าง ร้าน รวมไปถึงเรื่องของโรงพยาบาล การที่ใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยเพื่อเป็นการทุ่นแรง ลดความเสี่ยงจากบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews
เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews

ดร.เอกชัย วารินศิริรักษ์ หัวหน้าทีมวิจัยและหัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สำหรับ UVC Moving CoBot ระบบหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซีแบบเคลื่อนที่ มีส่วนประกอบหลัก 4 อย่าง ซึ่งทำงานร่วมกัน

เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews
เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews

 

  • 1. แหล่งกำเนิดรังสียูวีซี ขนาดกำลังอย่างน้อย 16 วัตต์ ขนาดหลอดยาว 25-35 เซนติเมตร ติดตั้งบนปลายแขนของหุ่นยนต์แขนกล

 

  • 2. หุ่นยนต์แขนกลอัจฉริยะ ซึ่งแขนด้านหนึ่งของหุ่นยนต์ติดตั้งแหล่งกำเนิดรังสียูวีซี และแขนอีกด้านหนึ่งเป็นฐานของหุ่นยนต์ ติดตั้งเข้ากับ AGV รถนำทางอัตโนมัติ สามารถครอบคลุมการฉายรังสีในระยะ 65-75 ตารางเซนติเมตร เคลื่อนไหวได้ความเร็วต่ำสุด 2 เซนติเมตร/5 นาที และความเร็วสูงสุด 110 เซนติเมตร/นาที ยกโหลดน้ำหนักวัตถุได้ 5 กิโลกรัม

 

  • 3. รถนำทางอัตโนมัติ (Automated Guide Vehicle: AGV) สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่มีแถบแม่เหล็กกำหนดไว้ ตัวรถมีความเร็วในการเดินทางไม่ต่ำกว่า 8 เมตร/นาที สามารถรับน้ำหนักได้ถึง 500 กิโลกรัม ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็นระบบขับเคลื่อน

 

  • 4. ระบบเครื่องจักรมองเห็น (Machine Vision) ทำหน้าที่ค้นหาสัญลักษณ์เพื่อประเมินผลคุณลักษณะของวัตถุภายในพื้นที่ โดยระบบจะจดจำวัตถุและออกคำสั่งการเคลื่อนที่ตามที่บันทึกไว้หรืออ่านคำสั่งด้วยรหัสบาร์โค้ด
เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews
เปิดตัวหุ่นยนต์สุดล้ำ ฆ่าเชื้อไวรัสด้วยรังสียูวี-สร้างพื้นที่ปลอดไวรัส #JarmLocalNews

 

เรื่องและภาพโดย: ทอมฉัน บุญไสย์  ทีมข่าวประจำธนบุรี-นครปฐม



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com