วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567
พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง
SHARE

พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง

โพสต์โดย Nabi เมื่อ 18 มีนาคม 2564 - 16:52

“พิชัย” เสนอ 6 แนวทางลดราคาน้ำมันช่วยประชาชน แนะลดภาษีสรรพสามิต 5 บาททันทีอย่าปล่อยบริษัทพลังงานเอาเปรียบประชาชน

พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง

18 มีนาคม 2564 นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทยด้านเศรษฐกิจ และอดีต รมว. พลังงาน กล่าวว่า ตามที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้เพิ่มสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับราคาประมาณ 70 เหรียญสหรัฐต่อบาเรล และ ราคาน้ำมันยังมีแนวโน้มที่จะทรงตัวและอาจเพิ่มขึ้นอีกได้ หลังจากสัปดาห์ที่แล้วมีการก่อการร้ายในประเทศซาอุดีอาระเบีย และ กลุ่มโอเปคได้ประกาศลดการผลิตน้ำมันดิบ อีกทั้งคาดกันว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้น และเศรษฐกิจจีนจะดีขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีความต้องการใช้น้ำมันมากขึ้น แต่ตนเชื่อว่าราคาน้ำมันคงจะไม่ขึ้นสูงมากนัก ทั้งนี้เพราะปริมาณสำรองน้ำมันดิบในสหรัฐโดยเฉพาะ Shale Oil ที่มีเป็นจำนวนมากและพร้อมที่จะผลิตออกมาเมื่อราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น อีกทั้งความต้องการใช้น้ำมันในอนาคตจะมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ จากปริมาณ การใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามทิศทางกระแสโลก

พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง
พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง

อย่างไรก็ดี การที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น ทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไทยปรับสูงขึ้นด้วย ดังนั้นตนจึงอยากเรียกร้องให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว. กลาโหม และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ ได้พิจารณาลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนที่กำลังลำบากจากพิษเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยที่ในอดีตมีการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันเพื่อนำมาสร้างถนนและปรับปรุงซ่อมแซมถนน แต่เมื่อราคาน้ำมันมีราคาสูงขึ้น รัฐบาลในอดีตได้ลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเหลือเพียงลิตรละ 0.01 บาทเท่านั้น หรือเกือบไม่ได้เก็บเลย ในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยก็เก็บเพียงลิตรละ 0.01 บาทเท่านั้น แต่เมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงมากในช่วงหลังการปฏิวัติ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ได้เพิ่มการเก็บสรรพสามิตน้ำมันดีเซลขึ้นเรื่อยๆ จนถึง ลิตรละ 5.99 บาท ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันดีเซลของไทยไม่ได้ลดลงตามราคาน้ำมันของโลกที่ลดลง แต่เมื่อราคาน้ำมันโลกเริ่มเพิ่มขึ้นสูง รัฐบาลก็ควรจะลดการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลนี้ลดลง โดยสามารถลดลงได้ถึงลิตรละ 5 บาทเลย ซึ่งจะช่วยประชาชนได้อย่างมาก และตนได้เสนอเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว แต่พลเอกประยุทธ์กลับนิ่งเฉย ทั้งนี้เพราะอาจจะไม่รู้เรื่อง หรือ อาจจะกลัวรัฐขาดรายได้ ซึ่งในอดีตก็ไม่เคยได้รายได้นี้อยู่แล้ว

พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง

ทั้งนี้ไม่ใช่การยกเลิกการเก็บภาษีสรรพสามิต ตามที่มีผู้ที่เสนอยกเลิกภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งน่าจะขาดความรู้ความเข้าใจและไม่ได้ศึกษามาก่อน เพราะการเก็บภาษีสรรพสามิตเป็นกฎหมาย การจะยกเลิกการเก็บภาษีจะต้องผ่านหลายขั้นตอน ซึ่งไม่น่าจะยกเลิกได้ เแต่ควรเป็นการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตให้เก็บน้อยลง และเมื่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลง รัฐก็สามารถจะกลับมาจัดเก็บใหม่เพิ่มขึ้นได้ แต่ไม่น่าจะจัดเก็บสูงถึงลิตรละ 5.99 บาท เพราะเมื่อรวมกับภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วภาษีซ้อนภาษีจะสูงถึงลิตรละ 6.41 บาทเลย

ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ได้ศึกษาเรื่องการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลดังกล่าวอย่างจริงจัง และได้พิจารณาเร่งดำเนินการเพราะจะช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนได้อย่างมาก เพราะน้ำมันดีเซล นอกจากจะเป็นน้ำมันที่ประชาชนมีรายได้น้อยใช้กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว ยังเป็นต้นทุนหลักของการขนส่งสินค้าของประเทศไทยด้วย ในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่นี้เงินอยู่ในกระเป๋าประชาชนย่อมจะดีกว่าเงินอยู่ที่รัฐบาล อีกทั้งปัจจุบันรัฐบาลยังใช้เงินอย่างสะเปะสะปะไร้ทิศทางที่จะฟื้นเศรษฐกิจประเทศได้เลย

พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายแนวทางที่จะลดราคาน้ำมันเพื่อช่วยเหลือลดค่าใช้จ่ายของประชาชนได้ ซึ้งจะสามารถพิจารณาทำได้ทั้งหมด 6 แนวทางดังนี้

การลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบในปัจจุบันอาจจะไม่ผันผวนมากเหมือนในอดีตแล้ว การจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันในช่วงที่ราคาน้ำมันผันผวนอาจจะจำเป็นต้องมีบ้าง แต่ไม่ต้องมีมากนักเพราะคงไม่ต้องใช้เงินมาก ที่ผ่านมามีการเก็บเงินกองทุนน้ำมันเข้ามามาก จนต้องส่งเงินเข้ารัฐเป็นหมื่นล้านบาทเลย

ยกเลิกการเก็บกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งหากมีการใช้เงินกองทุนนี้อย่างสะเปะสะปะ โดยตั้งแต่มีการปฏิวัติ หรือ ตั้งแต่ ปี 2557- 2563 มีการให้เงินกองทุนกับ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กอ. รมน. และ ศอ. บต. จำนวนหลายพันล้านบาท ไปจัดซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง แล้วยังใช้งานไม่ได้ อีกทั้งยังล่องหน ก็ควรจะยกเลิกการเก็บกองทุนนี้ ราคาน้ำมันจะได้ลดลง ซึ่งถ้าจะเก็บเงินเข้ากองทุน เงินจากกองทุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนี้ ควรจะต้องถูกใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศอย่างแท้จริง

การกำหนดราคาหน้าโรงกลั่น จะต้องเท่ากับหรือถูกกว่าราคาน้ำมันที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ จะเอาเปรียบประชาชนไม่ได้ และจะมาอ้างแบบมั่วๆว่า ราคาส่งออกต่ำ บริษัทน้ำมันจะได้แย่งกันขายในประเทศ เพราะโรงกลั่นทั้งหมดมีเจ้าของเกือบจะเรียกได้ว่าผูกขาด รัฐควรจะต้องเข้าไปกำหนดราคาหน้าโรงกลั่นอย่างยุติธรรม อย่าปล่อยให้บริษัทน้ำมันเอาเปรียบประชาชน

พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง

เจรจาขอลดราคาเอทานอลที่ผสมในน้ำมันแก็สโซฮอลล์ให้ลดลง ราคาแก็สโซฮอล์มีราคาสูงกว่าราคาเนื้อน้ำมันเบนซินที่กลั่นแล้วมาก ปัจจุบันราคาเนื้อน้ำมันที่กลั่นแล้วอยู่ที่ 15.22 บาท ในขณะที่ราคาเอทานอล อยู่ที่ 24.83 บาท และ อาจมากกว่านั้น ดังนั้นรัฐควรเจรจาขอลดราคาเอทานอลลงซึ่งสามารถทำได้ เพราะราคาเอทานอลในตลาดโลกก็ต่ำกว่านี้ ทั้งนึ้ กระทรวงพลังงานทำถูกต้องแล้วที่ยกเลิกแนวทางที่จะใช้ E 20 (ผสมเอทานอล 20%) ทดแทน E 10 (ผสมเอทานอล 10%) จะผสมเอทานอลมากขึ้นเพื่อให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นทำไม ในเมื่อเอทานอลมีราคาสูงกว่าน้ำมันมาก

ลดค่าการตลาด ปัจจุบันค่าการตลาดพุ่งขึ้นไปสูงมากถึง ลิตรละ 2.28 -4.31 บาท ซึ่งสูงมาก เมื่อไม่นานมานี้ ค่าการตลาดอยู่ที่ประมาณ 1 บาทกว่า เกือบ 2 บาทซึ่งก็ว่าสูงแล้ว เป็นกำไรที่บริษัทน้ำมันได้เพิ่มขึ้นมาก เพราะปั๊มน้ำมันได้ส่วนแบ่งค่าการตลาดนี้น้อยมากเพียงลิตรละ 50-60 สตางค์ เท่านั้น อีกทั้งบริษัทน้ำมันได้กำไรจากค่าการกลั่นและการบริหารจัดการอยู่แล้ว ในอดีตก็มีการเจรจาลดค่าการตลาดนี้

นี่เป็น 6 แนวทางที่รัฐบาลสามารถทำได้ทันทีเพื่อช่วยเหลือประชาชนบรรเทาความเดือดร้อนในภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ แล้วยังต้องมาเจอกับราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นสูง

พิชัย จี้ ประยุทธ์ ลดภาษีน้ำมัน 5 บาท อย่าปล่อยบริษัทพลังงาน เอาเปรียบ ปชช. แนะ 6 แนวทาง

ทั้งนี้ หากจำกันได้ในช่วงแรกพลเอกประยุทธ์เคยโทษผมแบบมั่วๆ หาว่ารัฐบาลที่แล้วสร้างปัญหาด้านพลังงานมากมาย แต่พอพลเอกประยุทธ์บริหารประเทศเองกลับยิ่งสร้างปัญหาทางพลังงานมากกว่าเดิมมาก ทั้งเรื่องราคาน้ำมันที่สูงจากการเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น ทั้งๆที่ เป็นช่วงเวลาที่โชคดีที่ราคาน้ำมันโลกลดลงมาก แต่พลเอกประยุทธ์กลับเพิ่มการเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลทำให้ประชาชนต้องจ่ายในราคาที่สูงขึ้นมาก ไม่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันโลกที่ราคาถูกลง แต่พอราคาน้ำมันโลกขึ้นกลับไม่ยอมลดการจัดเก็บภาษี ทำให้ประชาชนต้องเดือดร้อนกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องการออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าจำนวนมากจนมีกำลังผลิตล้นเกิน ทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าไฟฟ้าแพงขึ้นจากค่าความพร้อมที่มีโรงงานไฟฟ้าแต่ไม่ได้เดินเครื้อง นอกจากนี้ยังมีการใช้เงินกองทุนอนุรักษ์พลังงานอย่างสะเปะสะปะส่อไปในทางทุจริตจำนวนมากที่พลเอกประยุทธ์ยังไม่ได้ตอบสังคม อีกทั้งยังไม่ห้ามปรามโดยปล่อยให้กองทัพบกประกาศจะผลิตไฟฟ้า 30,000 เมกกะวัตต์ บนพื้นที 3 แสนไร่ มูลค่ากว่า 6 แสนล้านบาท ทั้งที่ประเทศมีกำลังผลิตไฟฟ้ามีล้นเกินมากอยู่แล้ว เป็นต้น ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ได้ศึกษาเรื่องที่ตนแนะนำมาทั้งหมดนี้ เพื่อจะได้ทำความเข้าใจและหาทางแก้ไข อย่าได้ถูกบริษัทพลังงานหลอกได้ และอย่าปล่อยให้บริษัทพลังงานเอาเปรียบประชาชน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ประชาชนกำลังลำบากกันอย่างมาก


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com