วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567
SHARE

“เพื่อไทย” เตือน ถ้าไม่เปลี่ยนผู้บริหารเศรษฐกิจไทยอาจทรุดหนัก

โพสต์โดย ปราชญ์สีรุ้ง เมื่อ 3 มกราคม 2566 - 10:02

 

“เพื่อไทย” เตือน เศรษฐกิจไทยปี 66 ยังผันผวน ถ้าไม่เปลี่ยนผู้บริหารอาจทรุดหนัก ชี้ จับตา 5 ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ แนะ ประชาชนเลือกทางออกสำหรับประเทศ

 

นางสาว จุฑาพร เกตุราทร โฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย และ ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. กทม. เขต บางรัก สาทร ปทุมวัน กล่าวว่า การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายนหดตัวติดลบที่ - 6% ซึ่งเป็นการติดลบติดต่อกันเป็นเดือนที่สอง หลังจากการส่งออกเดือนตุลาคมหดตัวและติดลบไป -4.4% ซึ่งคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้เตือนไว้ก่อนแล้วว่าเป็นสัญญาณเศรษฐกิจที่ไม่ดี และแนวโน้มจะทำให้การส่งออกของไทยในปีนี้น่าจะไม่สดใส ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้ จะทำให้เศรษฐกิจไทยอาจจะไม่ขยายตัวได้มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากยังเป็นผู้บริหารประเทศชุดเดิม เศรษฐกิจก็จะยิ่งทรุดลงได้ ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลยอมรับความจริงว่าเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นจากที่ตกลงมาในปี 2563 ที่ -6.2% เลย เพราะปี 2564 ขยายได้ 1.5% และ ปีที่แล้ว 2565 น่าจะขยายได้เพียง 3 % กว่าเท่านั้น ซึ่งรวมกันแล้วยังไม่เท่าที่ตกลงมา ดังนั้นการที่จะอ้างว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วจนธนาคารโลกชม น่าจะไม่เป็นความจริงและเข้าใจผิด เพราะเศรษฐกิจไทยยังอยู่ในแดนลบมา 3 ปีติดต่อกันแล้ว ประชาชนถึงได้ลำบากกันอย่างมาก

 

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ลงอีกได้ โดยอยากจะขอเตือน 5 ปัจจัยเสี่ยงดังนี้

1. ปัญหาหนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งหนี้สาธารณะที่พุ่งสูงจากการก่อหนี้ของรัฐบาลแล้วใช้แบบสะเปะสะปะ และ หนี้ครัวเรือนที่ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากรายได้ที่ลดลงของประชาชน อีกทั้งหนี้ธุรกิจที่สืบเนื่องมาจากวิกฤตไวรัสโควิด ส่งผลกระทบให้มีหนี้เสียในระบบธนาคาร และ หนี้นอกระบบมากขึ้น ซึ่งจะเป็นเหมือนระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจ หากรัฐบาลไม่สามารถจัดการกับเรื่องหนี้เหล่านี้ได้

2. ปัญหาเศรษฐกิจโลกที่จะเข้าสู่ถาวะถดถอย จากการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐเพื่อหยุดเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบไปทั้งโลก ทั้งเศรษฐกิจของ สหรัฐ ยุโรป จีน และ ญี่ปุ่น ก็จะไม่ดี ซึ่งจะทำให้การส่งออก การท่องเที่ยว และ การลงทุนของไทย ลดลงได้

3. ปัญหาอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีก จากการที่สหรัฐขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อหยุดเงินเฟ้อตามที่กล่าวแล้ว โดยคาดกันว่าภายในปีนี้ดอกเบี้ยสหรัฐอาจจะพุ่งทะลุ 5% ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยอาจจะต้องขึ้นดอกเบี้ยตาม และจะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชนอย่างมาก สำหรับหนี้ต่างๆที่กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนซึ่งอาจทำให้ค่าบาทแข็งค่าขึ้นซึ่งจะส่งผลต่อการส่งออกให้ลดลงได้

4. ปัญหาเงินเฟ้อ ราคาสินค้าแพง ยังเป็นปัจจัยที่น่ากังวล และต้องจับตาให้ดี เพราะจะมีผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และ ค่าครองชีพของประชาชน

5. ปัญหาราคาพลังงาน ทั้งราคาน้ำมัน ไฟฟ้า และ ก๊าซ ที่ยังผันผวนสูง โดยคาดกันว่าราคาน้ำมันอาจจะกลับมาขึ้นสูงอีกครั้งได้ จากการที่ประเทศจีนเริ่มเปิดประเทศ ราคาไฟฟ้าที่ยังจะขึ้นอีก รวมถึงปัญหา หากศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสินว่าการผลิตไฟฟ้าที่รัฐบาลให้ใบอนุญาตกับเอกชนจนล้นเกิน จนการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ต่ำกว่า 51% จะผิดรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากผิดกฎหมายคงต้องมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

นี่เป็น 5 ปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ซึ่งหากรัฐบาลไม่เตรียมรับมือ หรือ ยังไม่ทราบ ก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยย่ำแย่ได้ แม้ว่าการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในปีนี้จะดีขึ้นจากการเปิดประเทศของจีน แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยที่น่าห่วง ซึ่งหากยังเป็นผู้บริหารประเทศชุดเดิม ผลการทำงานก็จะเป็นแบบเดิมๆ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในการเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ อยากขอให้พี่น้องประชาชนได้พิจารณาเลือกทางออกที่ดีที่สุดของประเทศ เลือกพรรคการเมืองที่บริหารเศรษฐกิจได้จริงและเคยทำจนประสบความสำเร็จมาแล้ว ให้มาบริหารประเทศโดยเร็ว ประชาชนจะได้หลุดพ้นจากความลำบากได้

 



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com