วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567
SHARE

“เพื่อไทย” จี้ หยุดขึ้นค่าก๊าซหุงต้ม ประชาชนเดือดร้อนหนัก

โพสต์โดย ปราชญ์สีรุ้ง เมื่อ 24 มกราคม 2566 - 11:23

“เพื่อไทย” จี้ หยุดขึ้นค่าก๊าซหุงต้ม ประชาชนเดือดร้อนหนัก ชี้ ก๊าซขึ้น ไฟฟ้าขึ้น น้ำมันขึ้น ประชาชนลำบากหนักมาก แนะ แนวทางลดราคาก๊าซหุงต้ม และยืนยันลดราคาพลังงานได้แน่นอน

 

นางสาวจุฑาพร เกตุราทร ว่าที่ผู้สมัคร สส. กทม. เขต บางรัก สาทร ปทุมวัน และ โฆษกคณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า รัฐบาลประกาศขึ้นราคาก๊าซหุงต้มเป็น 423 บาท/ ถัง 15 กก. ในวันที่ 1 มีนาคมนี้ ซึ่งจะส่งผลกระทบกับประชาชนอย่างมาก หลังจากที่ขึ้นเป็น 408 บาท/ 15 กก. ในเดือนกันยายนปีที่แล้ว และหนึ่งปีที่ผ่านมาตั้งแต่ 1 เมษายนปีที่แล้ว รัฐบาลได้ขึ้นราคาค่าก๊าซหุงต้มแล้วถึง 105 บาท จาก 318 บาท/ ถัง 15 กก. เป็น 423 บาท / ถัง 15 กก ในเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งเป็นการขึ้นถึง 33% ใน 1 ปีซึ่งหนักมาก

 

ทั้งนี้การขึ้นราคาก๊าซหุงต้มนี้ เป็นการซ้ำเติมภาระของประชาชนหลังจากที่รัฐบาลเพิ่งประกาศขึ้นราคาไฟฟ้าเป็นหน่วยละ 5.33 บาทในภาคของธุรกิจในวันที่ 1 มกราคมที่ผ่านมานี้ อีกทั้ง ราคาน้ำมันก็เริ่มกลับมาขึ้นราคาอีกครั้งหลังจากประเทศจีนเปิดประเทศ ซึ่งหนักหนาสาหัสมาก และจากการที่ได้ลงพื้นที่ สาทร บางรัก ปทุมวัน พบว่าประชาชนจำนวนมากได้บ่นถึงความยากลำบากในเรื่องราคาพลังงานทั้ง ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และ ค่าน้ำมัน ที่พุ่งสูงนี้ โดย พ่อค้า แม่ค้า จำนวนมากที่ขายอาหาร ถึงกับจะถอดใจเลยกับการขายอาหาร เพราะสู้ราคาต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบไม่ไหว และต้องขึ้นราคาอาหาร ลูกค้าก็บ่นและก็มีคนมาซื้อทานน้อยลง เพราะต้องขึ้นราคาแพงขึ้นตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ลูกค้าส่วนใหญ่รายได้ไม่เพิ่มแถมยังลดลง

 

ในเรื่องก๊าซหุงต้มนี้ คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้มีแนวทางการแก้ปัญหาโดยเสนอให้รัฐบาลจัดเก็บเงินจากก๊าซ LPG หรือ ก๊าซหุงต้มนี้ ที่ส่งเข้าโรงงานปิโตรเคมีเพื่อมาช่วยลดค่าก๊าซหุงต้มของครัวเรือนลง ทั้งนี้เพราะก๊าซหุงต้มนี้ได้มาจากการแยกก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ในพื้นที่อ่าวไทยซึ่งเป็นสมบัติของประชาชนทั้งประเทศ อีกทั้งได้จากการกลั่นน้ำมันด้วย ในอดีตมีก๊าซ LPG นี้เหลือมากจึงส่งเสริมให้ประชาชนใช้กันมาก ที่นอกจากจะใช้หุงต้มแล้ว ยังใช้กับรถยนต์และโรงงานอุตสาหกรรม

แต่ต่อมาสามารถนำก๊าซ LPG นี้ ไปใช้กับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเลยทำให้ก๊าซมีราคาแพง บริษัทพลังงานจึงนำไปใช้ในธุรกิจปิโตรเคมี และให้รัฐบาลนำเข้าก๊าซ LPG เข้ามาแทนในราคาแพงและให้กองทุนน้ำมันที่เก็บจากประชาชนเป็นคนจ่ายส่วนต่าง ดังนั้นบริษัทพลังงานจึงควรต้องร่วมรับผิดชอบด้วย ซึ่งในอดีตในสมัยพรรคเพื่อไทย นายพิชัย นริพทะพันธุ์ เป็น รมว. พลังงานในขณะนั้นได้สั่งเก็บเงินจากก๊าซ LPG ที่ส่งเข้าอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนี้แล้ว หน่วยละ 1 บาทได้เงินปีละหลายพันล้านบาทเข้ากองทุนน้ำมัน แต่ต่อมาถูกยกเลิกไปหลังการปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งไม่ทราบเหตุผล อาจจะถูกบริษัทพลังงานล็อบบี้ให้เลิกเก็บ และควรต้องหันกลับมาเก็บใหม่ และควรเก็บมากกว่าเดิมด้วย เพื่อนำเงินมาช่วยลดราคาก๊าซหุงต้มให้กับภาคครัวเรือนได้

 

เรื่องนี้คณะทำงานเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทยได้เสนอหลายครั้งแล้ว และรัฐบาลได้ไปเก็บเงินจากโรงแยกก๊าซจำนวน 6,000 ล้านบาท ( เดือนละ 1,500 ล้านบาท 4 เดือน มกราคม - เมษายน 2566) แต่กลับนำไปลดค่าไฟฟ้า ซึ่งที่จริงควรลดราคาก๊าซหุงต้มในภาคครัวเรือนมากกว่า และควรเก็บแบบถาวร ไม่ใช่เก็บเป็นครั้งคราวเท่านั้น

 

การที่จะลดราคาก๊าซหุงต้ม ไฟฟ้า และ น้ำมันได้ ผู้นำจะต้องมีความรู้ในรายละเอียด โครงสร้างราคา และ ประวัติความเป็นมา จึงจะเข้าใจและสามารถปรับลดได้อย่างถูกต้องและมีเหตุมีผล ไม่ใช่จะประกาศลดมั่วๆ โดยขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งจะเป็นผลเสียมากกว่า ดังนั้นขอให้มั่นใจได้ว่าพรรคเพื่อไทยได้ศึกษารายละเอียดเรื่องพลังงานเป็นอย่างดี และหากได้รับความไว้วางใจจากประชาชน จะสามารถลดราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม และ ไฟฟ้าได้ทันที เพื่อลดภาระของประชาชนและสร้างความสุขให้กับประชาชนได้ทันทีเหมือนที่เคยทำมาแล้ว



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com