วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567
เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9
SHARE

เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9

โพสต์โดย Clover Jarm เมื่อ 25 ตุลาคม 2560 - 14:48

        ข่าวในพระราชสำนัก หลายคนอาจยังไม่เคยเห็น พระสหายคนแรกขององค์ในหลวง ร.9 คือ ดอกเตอร์ ดับเบิลยู สจ๊วต วิตต์มอร์ โดยขณะทำการถวายการประสูตินั้น คุณหมอเป็นหมอหนุ่มที่มีอายุเพียง 45 ปี!

เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9

          โดยเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 เวลา 08.45 น. ดร.ดับเบิลยู สจ๊วต วิตต์มอร์ และคณะแพทย์ พยาบาล ได้ปฏิบัติภารกิจทางการแพทย์ที่สำคัญยิ่งครั้งหนึ่งของโลกนั่นคือ ถวายการประสูติแด่หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยาหม่อมในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ ซึ่งประทับศึกษาวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด อันไม่ห่างมากนัก จากโรงพยาบาลเมาต์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา โดยมีพระนามภาษาอังกฤษ “baby Songkla” ในบัตรพระประสูติกาล

เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9

          เรื่องนี้เฟซบุ๊กชมรมประวัติศาสตร์สยามได้ค้นคว้ามาบอกเล่าว่า นายแพทย์สจ๊วต วิตต์มอร์ จดจำเรื่องราวของพระมหากษัตริย์ในวันพระบรมราชสมภพได้ทั้งหมด..

          โดยบันทึกไว้ในวารสาร บอสตันโกลบ ฉบับปี พ.ศ. 2503... คุณหมอทบทวนไว้ในวารสารความว่า... “พระองค์ทรงมีพระพลานามัยดีเยี่ยม”

               “...หม่อมแม่ของพระองค์ ทรงเป็นคนไข้ที่ยอดเยี่ยม ไม่ทรงบ่นใดๆ...”

          ในเวลานั้น คุณหมอมิอาจทราบได้เลยว่าใน 19 ปีต่อมาจากนั้น เด็กน้อยผู้นี้ จะได้ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศสยาม (รัชกาลที่ 9) และได้ทรงครองราชบัลลังก์ต่อเนื่องยาวนานกว่าใครจะนึกถึงได้ !

          ทั้งนี้ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงครองราชย์ ได้เสด็จฯ เยี่ยมโรงพยาบาลซึ่งเป็นที่ทรงพระราชสมภพ และโอกาสนี้ได้พระราชทานของที่ระลึกแก่ “พระสหายคนแรก” ดอกเตอร์ ดับเบิลยู สจ๊วต วิตต์มอร์ และนางพยาบาลที่ช่วยในการถวายการประสูติ ทั้ง 4 คน คือ มิสซิส เลสลี่ เลตัน, มิส เจนีเวียฟ เวลดอน, มิสซิสมาร์กาเร็ต เฟย์ และ มิสรูธ แฮริงตัน

เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9

 

          เหตุการณ์ในวันนั้นมีบันทึกอยู่ในหนังสือเรื่อง “เสด็จพระราชดําเนิน : สหรัฐอเมริกา พุทธศักราช 2503, ปากีสถาน พุทธศักราช 2505, และ สหพันธรัฐมลายา พุทธศักราช 2505” พระนิพนธ์ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต มีความว่า

          “หมอชรา ดอกเตอร์ ดับบลิว.สจ๊วต วิตต์มอร์ ผู้ซึ่งถวายการประสูติ ที่ทรงพบครั้งแรกแล้วที่มหาวิทยาลัยฮาร์เวิดก่อนเสวยพระกระยาหารกลางวัน ได้รับพระราชทานหีบบุหรี่ถมทอง มีพระปรมาภิไธยข้างนอก และตัวหนังสือสลักไว้ข้างในว่า To my first friend, Doctor Whittmore, with Affectionate regard แด่มิตรคนแรกของฉัน ดร.วิทมอร์ ด้วยความระลึกถึงและรักใคร่”

          “สำหรับตอนนี้หมอวิตต์มอร์มาคอยรับเสด็จอยู่ที่นี้พร้อมด้วยนางพยาบาล 4 คน ผู้ช่วยของแกเมื่อครั้งกระโน้น นางพยาบาลทั้ง 4 มีชื่อว่า มิสเวลด้อน, มิสแฮริงตัน, มิสซิสเฟย์ และมิสซิสเลตัน 3 คนแรกยังเป็นนางพยาบาลอยู่ที่เมาท์ ออเบิร์นนั่นเอง ส่วนมิสซิสเลตันเก๋กว่าคนอื่น ไม่ได้แต่งนางพยาบาลอย่างอีก 3 คนดอก แกแต่งตัวโก้สวมหมวกขนนกมีเวลคลุมลงมาที่หน้าผากก็ได้ ตลบขึ้นก็ได้ สวมสร้อยคอไข่มุก เดี๋ยวนี้มีตำแหน่งใหญ่โต เป็นถึงผู้อำนวยการของสมาคมศิษย์เก่าของนางพยาบาลเมืองนี้”

เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9

 

          "นางพยาบาลทั้ง 4 นี้ เวลานั้นเป็นนางพยาบาลสาวๆ สำเร็จใหม่ ตัวเล็กแบบบาง บัดนี้กลายเป็นนางพยาบาลแก่ๆ สวมแว่นตาหนา ตัวอ้วนๆ แต่ท่าทางยังตุ้งติ้งทั้ง 4 คน เมื่อพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานตลับแป้งถมทอง มีพระปรมาภิไธยที่ฝาตลับแก่ทุกคน และตรัสคล้ายๆ ว่า “ต้องใช้บ้างนะ” คนหนึ่งก็เปิดฝาตลับแป้งขึ้นส่องกระจกในนั้น พลางทำตาหวานร้องว่า “จะใช้ตลอดชีวิต และจะนึกถึงท่านตลอดเวลา”

          นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่ามิสซิสเลตันนึกถึงความหลัง ก็บอกกับคนที่มาหยุดฟังแกว่า “ท่านเป็นทารกที่น่าเอ็นดูที่สุด พ่อแม่ของท่านทำตนเป็นคนธรรมดาๆ ไม่ชอบเป่าแตร ตีกลอง”

          โดยก่อนจะเสด็จพระราชดำเนินออกจากบอสตัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักหนังสือพิมพ์อเมริกันเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานสัมภาษณ์เป็นเวลานานอย่างไม่ถือพระองค์

         ในช่วงหนึ่งของการพระราชทานสัมภาษณ์ นักหนังสือพิมพ์ได้กราบบังคมทูลถามความรู้สึกส่วนพระองค์ว่า “นี่เป็นการเสด็จฯ เยือนอเมริกาเป็นครั้งแรก…ทรงรู้สึกอย่างไรบ้าง?” มีพระราชดำรัสตอบว่า “ก็ตื่นเต้นที่ได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิด เพราะข้าพเจ้าเกิดที่นี่...ที่เมืองบอสตัน”

เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9

 

         อนึ่ง สำหรับ เพื่อนคนแรกของในหลวง รัชกาลที่ 9 เกิดเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ.2425 ที่เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ.2505 ขณะอายุ 79 ปี (ข้อมูลจาก https://www.geni.com/people/W-Stewart-Whittemore/6000000000851687284)

         ดังนั้น จึงหมายความว่า เขาเสียชีวิตหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ เยี่ยมที่โรงพยาบาลเพียง 2 ปีเท่านั้น และยังหมายความว่าขณะทำการถวายการประสูตินั้น คุณหมอเป็นหมอหนุ่มที่มีอายุเพียง 45 ปี!

         ขณะที่ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ โรงพยาบาลก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2414 เดิมมีชื่อว่า โรงพยาบาลเคมบริดจ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์นในภายหลัง

         และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์นนี้เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลที่ใช้สำหรับแพทย์ฝึกหัดจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และในปี พ.ศ. 2549 เมาต์ออเบิร์นได้รับเลือกเป็นหน่วยงานที่น่าทำงานจากหนังสือพิมพ์ของบอสตัน

 

               ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊กชมรมประวัติศาสตร์สยาม และเฟซบุ๊กราชบัลลังก์จักรีวงศ์

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

เผยภาพ ดอกเตอร์ ดับบลิว. สจ๊วต วิตต์มอร์ พระสหายคนแรกและแพทย์ผู้ถวายการประสูติในหลวง ร.9

komchadluek.net

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com