วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567
อ.เจษฎ์ บอกความจริง คนเคยติดเชื้อ จำเป็น ต้องฉีดวัคซีน ด้วยหรือไม่
SHARE

อ.เจษฎ์ บอกความจริง คนเคยติดเชื้อ จำเป็น ต้องฉีดวัคซีน ด้วยหรือไม่

โพสต์โดย 00 เมื่อ 15 มกราคม 2564 - 12:36

อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ออกมาเปิดเผยคำตอบ ที่หลายคนสงสัย หากเคยติดเชื้อโควิด ไปแล้ว จำเป็นหรือไม่ที่ต้องฉีดวัคซีน 

อ.เจษฎ์ บอกความจริง คนเคยติดเชื้อ จำเป็น ต้องฉีดวัคซีน ด้วยหรือไม่

จากกรณี นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาเปิดเผยไทมไลน์การฉีดวคซีนโควิด - 19 ในประเทศไทย ที่มีด้วยกัน 3 ระยะ โดยจะเริ่มฉีดวัคซีนครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์จะเป็นกลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนก่อน ก่อนจะฉีดให้กับประชาชนทั่วตามลำดับไทม์ไลน์

ล่าสุด อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาอธิบายและไขข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนที่คนไทยอยากรู้คำตาม โดยออกมาระบุข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า

อ.เจษฎ์ บอกความจริง คนเคยติดเชื้อ จำเป็น ต้องฉีดวัคซีน ด้วยหรือไม่

ในภาวะที่เราเริ่มมีความหวังมากขึ้นในการต่อสู้รับมือกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งก่อให้เกิดโรค COVID-19 จากที่เริ่มมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในหลายประเทศ (และประเทศไทยก็จะเริ่มฉีดในอีกไม่นาน) คำถามหลายๆ อย่างก็เริ่มมีขึ้นเกี่ยวกับวัคซีนและภูมิคุ้มกันของร่างกาย ว่าถ้าเคยติดโรคเชื้อแล้ว มันยังจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนหรือเปล่า และถ้ามีวัคซีนหลายยี่ห้อ เราสามารถนำมาฉีดข้ามกันได้หรือเปล่า

1. ถ้าเคยเป็นโรคโควิด-19 แล้ว ยังจำเป็นต้องฉีดวัคซีนหรือไม่ ?

- ดังนั้น ถึงแม้คุณจะเคยเป็นโรคโควิด-19 จนหายดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบมีอาการน้อยๆ หรือเป็นแบบรุนแรง คุณก็ยังได้ประโยชน์จากการฉีดวัคซีนเพื่อเสริมให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้น

- มีรายงาน (https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32425950/) จากผู้ป่วยโรคโควิด-19 ระดับที่ต้องเข้าโรงพยาบาลว่าติดเชื้อค่อนข้างหนักมาก จนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันนั้นทำงานไม่ไหว และทำให้สร้างเมโมรี่เซลล์ภูมิคุ้มกันที่มีต่อไวรัสได้ไม่มากพอ ... และถึงคุณจะมีอาการป่วยแบบน้อยๆ ระบบภูมิคุ้มกันของคุณก็อาจจะไม่ได้ทำงานเพียงพอถึงจุดที่จะสร้างเมมโมรีเซลล์ภูมิคุ้มกันได้

2. ถ้าฉีดวัคซีนไปแล้ว จะยังแพร่เชื้อโรคได้อยู่หรือเปล่า ?

- ถึงแม้ว่าวัคซีนที่เริ่มมีการฉีดกันทั่วโลกนั้น จะช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ถูกฉีดมีอาการป่วยจากโรคโควิด-19 โดยวัคซีนที่ได้รับอนุญาตแล้วนั้นจะต้องป้องกันได้มากกว่า 50% (ซึ่งกรณีของวัคซีนที่ฉีดในประเทศอเมริกาแล้ว อย่างของ Pfizer-BioNTech และ Moderna นั้นป้องกันได้ 90%) แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ว่ามันจะสามารถป้องกันไม่ได้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้จริงหรือไม่

- เหตุผลหนึ่งที่เราไม่อาจตอบคำถามนั้นได้ คือ วัคซีนและการทดสอบประสิทธิภาพของมันนั้น ถูกออกแบบมาสำหรับศึกษาถึงอัตราการป้องกันไม่ให้คนที่ถูกฉีดเกิดอาการป่วย ไม่ใช่เพื่อดูเรื่องการแพร่ระบาดของโรค

- อีกเหตุผลหนึ่ง คือ มันเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากเกี่ยวกับกระบวนการที่วัคซีนทำให้เกิดสารแอนตี้บอดี้ภูมิคุ้มกันขึ้นในร่างกาย ซึ่งจำเป็นจะต้องทำการศึกษาอีกเยอะ ... โดยทั่วไปแล้ว วัคซีนจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตี้บอดีชนิดที่เรียกว่า อิมมูโนกลอบูลิน จี (immunoglobulin G) หรือ ไอจีจี (IgG) ไปจัดการกับเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย แต่ถ้าเราจะคิดถึงการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยแล้วล่ะก็ เราต้องไปวิเคราะห์หาอิมมูโนกลอบูลิน เอ (immunoglobulin A) หรือ ไอจีเอ (IgA) ด้วย ซึ่งมันจะไปทำงานแบบตรวจการอยู่ที่บริเวณเซลล์พื้นผิวของร่างกายที่มีเมือก เช่น ในโพรงจมูก หลอดลม ปอด และช่องทางเดินอาหาร .. และก็ยังไม่ค่อยมีการศึกษาในประเด็นนี้

3. ถ้าเกิดได้ฉีดวัคซีน 2 โดส โดยที่โดสแรกของเป็นของบริษัทหนึ่ง จะเปลี่ยนไปฉีดโดสที่ 2 ของอีกบริษัทได้หรือไม่ ?

- ปรกติแล้ว การฉีดวัคซีนในรอบแรกนั้น มีความสำคัญที่สุดที่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัสขึ้นมา ส่วนการฉีดโดสที่สอง หรือที่มักจะเรียกกันว่า บูสเตอร์ (booster) นั้น จะช่วยเสริมระดับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น โดยเหมือนกับการย้ำเตือนให้ร่างกายรู้จักกับไวรัสนั้น

- ด้วยเหตุนี้ จึงไม่จำเป็นที่วัคซีนซึ่งจะใช้ฉีดครั้งที่สองเพื่อเป็นบูสเตอร์ จะต้องเป็นวัคซีนตัวเดียวกันกับที่ฉีดในครั้งแรก ถ้าวัคซีนทั้งสองตัวนั้นสามารถกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโปรตีนของไวรัสได้เหมือนกัน

- ประเด็นที่สำคัญกว่า คือช่วงเวลาที่ควรจะต้องฉีดบูสเตอร์ซ้ำ ว่าจะทิ้งช่วงจากเข็มแรกนานแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาวัคซีนแต่ละชนิดพบว่ามีช่วงเวลาสำหรับการฉีดบูสเตอร์แตกต่างกัน บางโรคก็ต้องฉีดทุกสิบปี บางโรคก็ฉีดแค่ครั้งเดียวไม่ต้องมีบูสเตอร์ก็ได้ ... ซึ่งสำหรับวัคซีนโรคโควิด-19 นั้น คงจะต้องมีการศึกษาเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้นหลังจากที่รณรงค์ฉีดกันแล้ว ว่าการฉีดบูสเตอร์นั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน และต้องฉีดภายในเวลาใด รวมถึงมีผลที่แตกต่างกันหรือไม่ในช่วงวัยต่างๆ

ข้อมูลจาก https://www.gavi.org/.../can-you-spread-covid-19-if-you... และ https://www.gavi.org/.../it-safe-have-more-one-type-covid...

ภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/COVID-19_vaccine...

ทั้งนี้ หลังโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปทั่วโลกออนไลน์ บรรดาชาวเน็ตต่างออกมาคอมเม้นต์ขอบคุณข้อมูลดีๆของ อ.เจษฎา ที่ทำให้คนไม่รู้เรื่องวัคซีนมาก่อน ได้รับความรู้ที่เพิ่มขึ้น 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์,pixabay


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com