วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567
แพทย์รามาฯ เผย วิธีรักษา หญิงท้องติดเชื้อ - เด็กได้รับผลกระทบ หรือไม่
SHARE

แพทย์รามาฯ เผย วิธีรักษา หญิงท้องติดเชื้อ - เด็กได้รับผลกระทบ หรือไม่

โพสต์โดย 00 เมื่อ 16 เมษายน 2564 - 13:58

แพทย์โรงพยาบาลรามาฯ ออกมาอธิบายแนวทางการรักษา หญิงตั้งภรรภ์ติดเชื้อโควิด - 19 อาจต้องคลอดก่อนกำหนด หากอาการหนัก

แพทย์รามาฯ เผย วิธีรักษา หญิงท้องติดเชื้อ - เด็กได้รับผลกระทบ หรือไม่

สำนักข่าว คมชัดลึก รายงานว่า รศ.นพ.พัญญู พันธ์บูรณะ และทีมภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับการบริบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ ซึ่งหากติดเชื้อจะมีอาการดังต่อไปนี้

การติดต่อและอาการ

- ติดต่อผ่านทางสัมผัสละอองฝอย ไอ จาม

- อาการส่วนใหญ่ ไข้ (83%) ไอ (31%) หายใจติดขัด (11%)

- ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ น้ำมูกไหล

- หนาวสั่น ปวดศีรษะ การรับรสและกลิ่นลดลง

รศ.นพ.พัญญู ชี้แจงต่อว่า ขณะนี้ยังไม่พบหลักฐานว่าจะมีการติดเชื้อจากแม่สู่ลูกได้ ด้วยเหตุผลนี้ ผลของโรคต่อการตั้งครรภ์จึงยังไม่ชัดเจนหรือยังไม่สามารถสรุปได้ เพราะข้อมูลที่มีอยู่ยังจำกัด 

อย่างไรก็ตาม มีการพบรายงานว่าการคลอดก่อนกำหนด ทำให้เด็กนั้นเจริญเติบโตช้าในครรภ์ และมีภาวะครรภ์เป็นพิษ

แพทย์รามาฯ เผย วิธีรักษา หญิงท้องติดเชื้อ - เด็กได้รับผลกระทบ หรือไม่

สำหรับแนวทางการรักษานั้น จะปฏิบัติตามแนวทางของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ที่จะเป็นการปรึกษากันระหว่างทีมพบผู้ติดเชื้อและทีมโควิด - 19 ของโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เพื่อประเมินความรุนแรงของโรคและภาวะเสี่ยง โดยจะมีการวัด oxygen saturation ตรวจเลือด CBC ตรวจสอบการทำงานของตับและไต อีกทั้งเอกซเรย์โดยใช้ shield บริเวณท้องของผู้ติดเชื้อ เพื่อป้องกันทารกรับรังสีมากเกินไป 

หากพบผู้ติดเชื้อมีอาการไม่รุนแรง จะรับไว้ในโรงพยาบาลเป็นเวลาประมาณ 2-7 วัน เพื่อดูอาการ พร้อมทั้งให้ยาตามแนวทางการรักษาของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ถ้าอาการ และเอกซเรย์ แล้วดีขึ้น ก็สามารถกลับไปอยู่ ward ได้ปกติ ประมาณ 14 วัน หลังจากนั้นถึงกักตัวอยู่ที่บ้านต่ออีก 30 วัน 

แพทย์รามาฯ เผย วิธีรักษา หญิงท้องติดเชื้อ - เด็กได้รับผลกระทบ หรือไม่

อย่างไรก็ตาม หากผู้ติดเชื้อ มีอาการปานกลาง หรือ อาการหนัก จะถูกรับไว้ในโรงพยาบาลทันที เพื่อตรวจสัญญาณชีพ ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก หรือเรียกว่า CTG ตั้งแต่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์เป็นต้นไป  และให้ยาตามแนวทางการรักษาของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข หากอาการยังเเย่ลงอีก จะต้องเข้า ICU ให้เครื่องช่วยหายใจในแง่ของ respiratory support และยาตามความเหมาะสมต่อไป

กรณีอาการหนัก ออกซิเจนต่ำ หรือแม่ช็อก อาจต้องผ่าตัดฉุกเฉิน เพื่อนำเด็กออกมาก่อน หากต้องปฏิบัติการกู้ชีพ  ในการผ่าตัดต้องผ่าตัดในห้องที่มีความดันลบ พร้อมทั้งระงับความเจ็บปวดตามแนวทางของวิสัญญีแพทย์ว่าจะเลือกใช้การบล็อคหลังหรือใส่ tube สำหรับทีมผ่าตัด ขอแนะนำให้ใส่ full PPE เตรียมทีมกุมารแพทย์ใส่ PPE ในการรับเด็ก พร้อมทั้งเช็ดตัว และทำความสะอาดเด็กทารกหลังคลอด ถึงส่งให้กุมารแพทย์ประเมินต่อไป 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก คมชัดลึก,pixabay



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com