วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567
SHARE

สถานการณ์ ประจำวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564

โพสต์โดย Nabi เมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 - 15:38

ยอดผู้ติดเชื้อ CV-19 วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน 2564 รวม 7,574 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 6,793 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 256 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 515 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 10 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,898,900 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 8,279 ราย หายป่วยสะสม 1,782,555 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 98,444 ราย เสียชีวิต 78 ราย

จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. - 1 พ.ย. 2564) รวม 76,226,116 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 515,839 โดส

  • เข็มที่ 1 : 160,018 ราย
  • เข็มที่ 2 : 333,368 ราย
  • เข็มที่ 3 : 22,453 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 42,548,483 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 31,244,587 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 2,433,046 ราย แหล่งข้อมูล : MOPH-IC

ศบค. เร่งฉีดวัคซีน

  • พื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • พื้นที่สีฟ้า 17 จังหวัด

นำร่องท่องเที่ยว

  • ครอบคลุม 70% เดือน พ.ย. 64

ศบค. เร่งฉีดวัคซีนในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งเน้นไปที่พื้นที่ติดแนวชายแดน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังมีอัตราการฉีดวัคซีนค่อนข้างน้อยจึงต้องเร่งฉีดวัคซีนโดยด่วน

นอกจากนี้ พื้นที่สีฟ้า 17 จังหวัด มีเพียงไม่กี่จังหวัดที่มีอัตราการฉีดวัคซีนไม่ถึงเกณฑ์เป้าหมายที่ 70 % ของจำนวนประชากรทั่วประเทศ ขอให้ 17 จังหวัดพื้นที่สีฟ้าเร่งฉีดวัคซีนให้ทันตามเป้าหมาย ภายในเดือน พ.ย. 64

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าในช่วงปลายเดือนตุลาคมนี้ ประเทศไทยจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ซึ่งเมื่อช่วงวันที่ 17-18 ต.ค. 64 ที่ผ่านมา เริ่มมีมวลอากาศเย็นลงมาทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กรมควบคุมโรคมีความห่วงใยสุขภาพของประชาชนในช่วงฤดูหนาว ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นอาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ง่าย จึงได้ออกประกาศกรมควบคุมโรค เรื่องการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2564

โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  • 1.โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ (โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดอักเสบ)
  • 2.โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ(โรคอุจจาระร่วง)
  • 3.โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว (โรคหัด)
  • 4.ภัยสุขภาพ (การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว)

กลุ่มที่ 1 โรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อจากการไอ จามรดกัน หรือสัมผัสสิ่งของที่มีเชื้อร่วมกัน หากได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการไข้ ไอแห้งๆ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เยี่อบุโพรงจมูกอักเสบและเจ็บคอ โรคปอดอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อราบางชนิดที่ถุงลมปอดจากการหายใจหรือสัมผัสละอองฝอยจากน้ำมูก น้ำลายที่ปนเปื้อนเชื้อ จะมีอาการไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย อาการดังกล่าวมักเป็นเฉียบพลัน และพบได้ในทุกกลุ่มอายุ แต่จะมีอาการรุนแรงในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องและมีโรคประจำตัว โดยทั้งสองโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น และสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน ซึ่งวิธีดังกล่าวสามารถป้องกันโรคโควิด-19 ได้อีกด้วย

กลุ่มที่ 2 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนเชื้อโรค จะมีอาการถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไปใน 1 วัน อาจมีไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการดูแลสุขอนามัย ดื่มน้ำสะอาดและรับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด

กลุ่มที่ 3 โรคติดต่อที่สำคัญอื่นๆ ในช่วงฤดูหนาว ได้แก่ โรคหัด เกิดจากการหายใจเอาละอองอากาศที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจากการไอ จามของผู้ป่วย หรือพูดคุยกันในระยะใกล้ หากป่วยอาการจะคล้ายกับไข้หวัดธรรมดา แต่จะมีไข้สูง ตาแดงและแฉะ และมีผื่นนูนแดงขึ้นติดกันเป็นปื้นๆ ปัจจุบันไม่มียารักษาจำเพาะ แต่มีวัคซีนที่สามาถป้องกันได้ โดยต้องฉีดเข็มแรก ตอนอายุ 9 - 12 เดือน เข็มสอง ตอนอายุ 1 ปีครึ่ง

กลุ่มที่ 4 ภัยสุขภาพ การเสียชีวิตที่เกี่ยวเนื่องจากภาวะอากาศหนาว โดยไม่ทราบสาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เนื่องจากไม่มีเครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องห่มกันหนาวที่เพียงพอในพื้นที่อากาศหนาว และมีประวัติการดื่มสุราเป็นประจำ ดังนั้นควรเตรียมเครื่องนุ่งห่มกันหนาวให้พร้อมและเพียงพอ และงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พร้อมทั้งดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

นายแพทย์โอภาส กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมควบคุมโรค ได้จัดทำประกาศแจ้งเตือนให้ระมัดระวังโรคและภัยสุขภาพไปยังหน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 แห่ง และสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง เพื่อดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และเตรียมภารกิจในการดูแลประชาชน ได้แก่ 1.เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ของโรคในพื้นที่ 2.การควบคุมโรคในกรณีมีการระบาดของโรคติดต่อ โดยมีทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เข้าไปดำเนินการสอบสวน ควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ และ 3.การสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์ความรู้แก่ประชาชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ขอบคุณข้อมูลจาก : ไทยรู้สู้โควิด , สสส.



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com