นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย นายวิศณุ ทรัพย์สมพล รองผู้ว่าฯ กทม. ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วม ร่วมกับผู้อำนวยการเขตดุสิต ที่บริเวณวัดเทวราชกุญชร ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ มีบ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบทั้งหมด 45 หลังคาเรือน จากกว่า100หลังคาเรือน ซึ่งประธานชุมชน ได้เรียกร้องให้มีการทำเขื่อนกั้นน้ำบริเวณนี้
นายชัชชาติ อธิบายว่า น้ำท่วมที่ได้รับผลกระทบจาก แม่น้ำเจ้าพระยา ในกทม. 3 รูปแบบ คือ
- ชุมชนที่อยู่นอกคันกั้นน้ำ จะมีทั้งหมด 16ชุม ชุมชนวัดเทวราชกุญชรก็เป็นหนึ่งในนั้น
- ชุมชนกลุ่มพื้นที่ฟันหลอ ที่มีทั้งหมด24จุด ระยะทางประมาณ3.2กิโลเมตร ในจุดที่เขื่อนไม่ต่อเนื่อง ซึ่งจุดที่ฟันหลอก็จะต้องเรียงกระสอบทรายให้มั่นคงและต้องเฝ้าระวังไม่ให้กระสอบทรายพัง
- รูปแบบที่สามคือ จุดที่น้ำซึม เพราะเป็นเขื่อนเก่า อาจจะทำให้น้ำซึมเข้าบริเวณด้านล่างของเขื่อน
ดังนั้นระยะยาวต้องตอกชีทไพล์เพื่อลดการรั่ว แต่ปัจจุบัน ต้องเอาเครื่องปั๊มน้ำไปติดตั้งเพื่อสูบออก ซึ่งหากจุดไหนที่เขื่อนสมบูรณ์แบบก็ไม่มีปัญหาน้ำท่วม เพราะเขื่อนยังอยู่กว่าระดับน้ำเกือบๆเมตร
ผู้ว่าฯชัชชาติ กล่าวอีกว่า คงต้องรอดูมวลน้ำที่จะเข้ามาเพิ่มและ น้ำทะเลหนุน ซึ่งจะหนุนสูงสุดวันที่ 9 ต.ค.นี้ และมีมวลน้ำจาก เขื่อนป่าสัก และ เขื่อนเจ้าพระยา มาเพิ่ม ทั้งนี้ส่วนตัวอยากให้มวลมาทางเจ้าพระยามากกว่าไปด้านล่างของ กทม.เพื่อไม่ให้กระทบฝั่งหนองจอก มีนบุรี
แม่น้ำเจ้าพระยา กทม.ยังสามารถรับน้ำได้ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งปี 54 น้ำเจ้าพระยามาประมาณ 4,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และปีนี้สถานการณ์ไม่ได้วิกฤตเหมือนปี 54 ยังห่างกันเยอะ และคิดว่าตอนนี้ยังไม่มีปัญหา เพราะเรารู้จุดอ่อน เชื่อว่าสามารถผ่านไปได้ อาจจะมีท่วมชุมชนบ้างนิดหน่อยเท่านั้น
ส่วนกรณีที่ชาวบ้านเรียกร้องให้ทำเขื่อนกั้นน้ำนั้น นายชัชชาติ ยอมรับว่าไม่ได้ง่ายๆ ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งอาจจะต้องหาดูวิธีอื่นที่จะช่วยเหลือ
ขณะที่การเฝ้าระวังน้ำ ในวันที่ 7-9 ต.ค.นี้ นายชัชชาติ กล่าวว่า คงต้องเฝ้าระวังน้ำเหนือและน้ำทะเลหนุน เพราะจะมีระดับเตือนล่วงหน้าอยู่แล้ว ว่ามาถึงบางไทรการไหลของน้ำอยู่ที่เท่าไร
" ส่วนน้ำฝนยอมรับว่า ไม่สามารถตอบได้ว่าจะมีหรือไม่มี เพราะโลกเปลี่ยนไปเยอะ แต่ขณะนี้เริ่มมีลมหนาวดันบงมาบ้างแล้ว ถ้าไม่มีฝน ก็ต้องเฝ้าระวังเป็นน้ำเหนือ "
\r\nขอบคุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์