วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2567
SHARE

การขนส่งทางราง

โพสต์โดย Fairy Cat เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2565 - 16:08

สำรักข่าวซินหัว รายงานเกี่ยวกับ ทางรถไฟจีน-ไทย ส่งเสริมการเชื่อมต่อ-การพัฒนาเศรษฐกิจ  โดยตฤณ พวงลำเจียก รองหัวหน้าวิศวกรของทางรถไฟจีน-ไทย ส่วนที่อยู่ในจังหวัดอยุธยา เผยว่าทางรถไฟสายดังกล่าวจะทำให้คนไทยเดินทางสะดวกสบายขึ้น และกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยหลังจากเปิดให้บริการ พร้อมระบุว่าทางรถไฟจีน-ไทย นั้นเป็นการนำเทคโนโลยีรถไฟขั้นสูงจากจีนมาสู่ไทย

ทางรถไฟดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญ ของเครือข่ายทางรถไฟสายเอเชีย จะกลายเป็นรถไฟที่ใช้รางสแตนดาร์ดเกจ หรือรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน สายแรกของไทย หลังก่อสร้างเสร็จจะเชื่อมกรุงเทพฯ กับจังหวัดหนองคาย อันเป็นพื้นที่ชายแดน ซึ่งเป็นจุดที่จะเชื่อมต่อกับทางรถไฟจีน-ลาวผ่านการสร้างสะพานแห่งใหม่ ทำให้ผู้โดยสารสามารถนั่งรถไฟจากกรุงเทพฯ ตัดผ่านลาว และเข้าสู่นครคุนหมิงในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนได้

ตฤณ ซึ่งทำงานให้บริษัทวิศวกรรมการก่อสร้างแห่งรัฐของจีน (CSCEC) กล่าวว่าเมื่อทางรถไฟสายนี้เปิดแล้ว เขาอยากลองนั่งรถไฟจากกรุงเทพฯ บ้านเกิด ขึ้นเหนือไปยังคุนหมิง จากนั้นจะพาครอบครัวไปเที่ยวกำแพงเมืองจีนในปักกิ่ง

ด้านพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ระบุว่ารู้สึกดีใจที่การก่อสร้างทางรถไฟจีน-ไทยยังคืบหน้า และหวังว่าเทคโนโลยีรถไฟอันล้ำสมัยของจีนจะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของไทย

โครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทย ยังทำให้ กันติธัต ดาณัต วัย 24 ปี มีโอกาสได้เรียนภาษาจีนกับสถาบันขงจื่อ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนไปเรียนรู้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงนาน 8 เดือน ที่นครอู่ฮั่นในมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน 

จากนั้นได้เดินทางไปฝึกงานต่อในญี่ปุ่น โดยเขาหวังว่าจะกลับไปเรียนที่จีนหลังจากจบการฝึกงาน  กันติธัต เปิดเผยกับสำนักข่าวซินหัวว่า "เขาอยากนำความรู้ด้านเทคโนโลยีจีนที่ได้เล่าเรียนกลับมาใช้ทำงานเพื่อประเทศไทย"

ด้าน ธารากร วุฒิสถิรกูล รองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยความร่วมมือหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางไทย-จีน กล่าวว่า "ไทยต้องการโอกาสการพัฒนาใหม่ๆ ซึ่งทางรถไฟจีน-ไทยไม่เพียงจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมของไทย อาทิ การท่องเที่ยว บริการ การค้า และการลงทุน แต่ยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วย ทางรถไฟจีน-ลาวได้เปิดฉากศักราชใหม่ของลาวขึ้นแล้ว และหากไทยไม่สามารถเร่งการก่อสร้างโครงการทางรถไฟจีน-ไทยได้ ก็อาจพลาดโอกาสการพัฒนาเช่นนั้นไป"

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก xinhuathai



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com