ปฏิเสธไม่ได้ว่า วิกฤตเรื่องฝุ่น PM 2.5 และควันที่เกิดจากการเผาไหม้สิ่งต่างๆ นั้น ส่งผลกระทบในการใช้ชีวิตประจำวัน และสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภาคเหนือเป็นอย่างมาก นอกจากจะหายใจไม่สะดวกแล้ว หลายรายยังมีผื่นขึ้น เนื่องจากมีโรคประจำตัวอย่างภูมิแพ้ แพ้อากาศ
ล่าสุด (14 มี.ค.64) ผศ.ดร. ว่าน วิริยา ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้โพสต์ภาพและข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Wan Wiriya เกี่ยวกับเริื่องดังกล่าวว่า "เมื่อประชาชนชาวภาคเหนือ โดยเฉพาะเชียงใหม่ เจอกับฝุ่น PM 2.5 กับมลพิษทางอากาศมากๆติดต่อกันเป็นเวลาหลายวันแน่นอนแต่ละคนก่ไม่สามารถทนกับสารพิษเหล่านั้นได้
พวกเราในทางวิชาการก็พยายามทำงานอย่างเต็มที่ ผู้ใหญ่ที่ดูแลบ้านเมืองลงมาหายใจที่นี้สักอาทิตย์โดยไม่มีหน้ากาก ไม่มีเครื่องกรองดูได้ไหม คุณจะเปลี่ยนแผนการทำงานด่วนแน่นอน
วันนี้ AQI.ในเมือง เกินพัน ในโรงเรียนอนุบาลสายดรุณ ที่มีเด็กๆอยู่ ซึ่งใกล้ๆ ก็สูงเหมือนกันไม่รู้เกิดจากอะไร ใครทำไรเหมือนกันไหม
ภาพผู้แพ้อากาศ จากอำเภอแม่แตง ณ. วันนี้ ใครมีอาการลองใส่ลงมาในโพสใน comment ได้นะครับเผื่อใช้ในการเก็บข้อมูล ทำไงให้เป็นข่าวก็แชร์กันสิครับ รออะไรครับ"
ซึ่งหลายท่านที่เห็นโพสต์ดังกล่าว ต่างก็เข้าไปแสดงความคิดเห็นว่า สภาพอากาศเลวร้ายมาก แต่กลับไม่เป็นข่าวเท่าที่ควร บางส่วนก็ตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไมค่าฝุ่น PM 2.5 ถึงได้สูงขนาดนี้ เชียงใหม่เจอหนักๆ มา 3 ปีติดแล้ว
\r\nด้าน ดร. ชาคริต โชติอมรศักดิ์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จำลองการแพร่กระจายของฝุ่น PM2.5 จากกิจกรรมของมนุษย์ต่าง ๆ การปลดปลดปล่อยจากพืชพรรณและธรรมชาติ และแหล่งปลดปล่อยจากการเผาในที่โล่ง พบว่า ฝุ่น PM2.5 สามารถพัดข้ามแดนได้ไกลมาก และแหล่งกำเนิดจากพื้นที่หนึ่งๆ สามารถมีผลกระทบต่อพื้นที่อื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการไหลเวียนของสภาพอากาศช่วงเวลานั้น ๆ และปัจจัยลักษณะสภาพภูมิประเทศ มาตรการการจัดการควบคุมแหล่งกำเนิดในพื้นที่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก