วันเสาร์ที่ 18 มกราคม 2568
SHARE

เตือน คนเชียงใหม่

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 20 เมษายน 2565 - 14:43

ศ.นพ.ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก โดยระบุข้อความว่า "คนเชียงใหม่ กับความเสี่ยงที่จะติด เ ชื้ อ รุ น แ ร ง และ เ สี ย ชีวิตจากโอมิครอน

จะเห็นว่าตั้งแต่โอมิครอนเริ่ม ร ะ บ า ด จำนวนผู้ ป่ ว ย หนักในเชียงใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยขึ้นจาก 20-40 รายมาเป็น 40-60 รายในปัจจุบัน ในขณะที่จำนวนผู้ เ สี ย ชีวิตก็เพิ่มขึ้นจาก 0-2 รายต่อวันมาเป็น 2-4 รายต่อวัน ซึ่งแม้ว่าจะน้อยกว่าช่วงที่เดลต้า ร ะ บ า ด หลายเท่าตัวก็ตาม แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ขาขึ้นแบบช้า ๆ แต่ต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ผู้ เ สี ย ชีวิตเกือบทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุหรือผู้มี โ ร ค ประจำตัว และส่วนใหญ่ไม่ได้ฉีดวัคซีน ฉีดไม่ครบ หรือไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้นตามกำหนด

แสดงจำนวนผู้ ป่ ว ย หนักและผู้ เ สี ย ชีวิตจากโอมิครอนในจังหวัดเชียงใหม่
แสดงอัตราการฉีดวัคซีนของคนเชียงใหม่
จากอัตราการฉีดวัคซีนไม่ได้ฉีดวัคซีน ฉีดไม่ครบของคนเชียงใหม่ และจำนวนคนเชียงใหม่ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือยังฉีดไม่ครบ จะเห็นว่า
แสดงจำนวนคนเชียงใหม่ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือยังฉีดไม่ครบ

1. คนเชียงใหม่ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 เข็มแล้วราว 1.6 ล้านคน หรือเกิน 96% ของประชากร แม้จะถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับเกือบทุกจังหวัดในประเทศไทย แต่ปัญหาคือ

- ยังมีคนเชียงใหม่ไทยเกือบ 70,000 คนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนเลยแม้แต่เข็มเดียว

- มี 90,000 กว่าคนที่ฉีดเข็มแรกไปแล้ว แต่ยังไม่ได้มาฉีดเข็มที่ 2

\r\n

2. คนเชียงใหม่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วราว 1.5 ล้านคน หรือ 90% ของประชากร แต่ปัญหาคือ

ส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนชนิด เ ชื้ อ _ า ย เวคเตอร์ หรือ เ ชื้ อ _ า ย ต่อด้วยเวคเตอร์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าป้องกันการติด เ ชื้ อ โอมิครอนได้น้อยมาก และถึงแม้จะป้องกันการติด เ ชื้ อ รุ น แ ร ง และการ เ สี ย ชีวิตได้พอสมควร แต่ก็ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูงมากนัก

ดังนั้นการฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA อีก 1 หรือ 2 เข็มจึงมีความจำเป็นมากเพื่อให้สามารถต่อสู้กับโอมิครอนได้ดีขึ้น

3. คนเชียงใหม่ได้รับวัคซีนกระตุ้น (เข็ม 3 หรือ 4) แล้วราว 6 แสนกว่าคน หรือ 38% ของประชากร แต่ปัญหาคือ

- จำนวนผู้ที่ได้รับการฉีดเข็มกระตุ้นถือว่ายังน้อยและต่ำกว่าเป้าหมาย 70% ของภาครัฐมาก

- มีราว 9 แสนกว่าคนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วแต่ยังไม่มาฉีดเข็มกระตุ้น

- ปัจจุบันมีคนเชียงใหม่มารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นหลักร้อย หรือพันคนต่อวันเท่านั้น ซึ่งต้องถือว่าเป็นอัตราการฉีดที่ช้าเอามาก ๆ เพราะถ้ามีผู้มาฉีดเข็มกระตุ้นวันละ 5,000 คนต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 6 เดือนจึงจะฉีดได้ครบ 9 แสนคน

จะเห็นว่า ยังมีคนเชียงใหม่กว่า 1 ล้านคน (เกือบ 7 หมื่นยังไม่ได้ฉีดวัคซีนแม้แต่เข็มเดียว, 9 หมื่นกว่ายังฉีดไม่ครบ 2 เข็ม, 9 แสนกว่ายังไม่ได้ฉีดเข็มกระตุ้น) มีความเสี่ยงที่หากติด เ ชื้ อ CV-19 อาจจะเกิดอาการ รุ น แ ร ง และ เ สี ย ชีวิต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุและ/หรือผู้ที่มี โ ร ค ประจำตัว เ รื้ อ รั ง ซึ่งหากเชียงใหม่ยังมีกลุ่มเสี่ยงมากขนาดนี้เชื่อว่า อาจจะเป็นการยากที่จะสามารถลดจำนวนผู้ ป่ ว ย อาการหนัก และผู้ เ สี ย ชีวิตจาก CV-19 ลงได้โดยเร็ว

หมายเหตุ *** โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าทั้ง 1 ล้านคนนี้มีความเสี่ยงสูงเท่ากันหมด เพราะเขียนไว้ชัดเจนแล้วว่ากลุ่มที่มีความเสี่ยงที่สุดคือผู้สูงอายุ (ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 32,877 คน ยังไม่ไปฉีดเข็มสอง 7,938 คน และยังไม่ไปฉีดเข็มกระตุ้น 137,608 คน) และ/หรือผู้ที่มี โ ร ค ประจำตัว เ รื้ อ รั ง (ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 6,876 คน ยังไม่ไปฉีดเข็มสอง 2,115 คน และยังไม่ไปฉีดเข็มกระตุ้น 73,651 คน) (20 เม.ย. 65)

 

ขอบคุณ

Khuanchai Supparatpinyo



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com