วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567
SHARE

โรคกระดูกสันหลังเสื่อม ใกล้ตัวกว่าที่คิด ลดพฤติกรรมเสี่ยง หมั่นออกกำลังกาย

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 25 เมษายน 2565 - 12:00

เมื่อประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากความเสื่อมของร่างกายย่อมมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น "กระดูกสันหลังเสื่อม" นับเป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดและความทรมานในผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นภาระให้กับผู้ดูแลอย่างมาก

นพ.ศรัณย์ ก่อวุฒิกุลรังษี แพทย์เฉพาะทางด้านศัลยกรรมกระดูกและข้อ และกระดูกสันหลัง ศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ โรงพยาบาลนวเวช กล่าวว่า โรคกระดูกสันหลังเสื่อม คือความเสื่อมของโครงสร้างร่างกายที่ช่วยให้มนุษย์สามารถยืนหรือนั่งตัวตรงได้ ประกอบไปด้วย ปล้องกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูก ข้อต่อ เอ็นยึดข้อต่อ และกล้ามเนื้อข้างเคียง

มักพบในตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอ และกระดูกส่วนเอว โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้ป่วยอายุ 40 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันเราพบผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากลักษณะการทำงานที่นั่ง หรือยืนในท่าเดิมนาน ๆ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงไม่มีเวลาออกกำลังกายเท่าที่ควร

 "สาเหตุของโรคกระดูกสันหลังเสื่อม 1. อายุที่มากขึ้น 2. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป   3. การอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เช่น นั่งทำงาน หรือยืน 4. การทำงานใช้งานหลังที่ไม่ เหมาะสม เช่น ทำงานในท่าก้มเป็นประจำ เช่น ช่างซ่อมรถยนต์ หรือการแบกของหนักๆ เกินเกณฑ์เป็นเวลานาน ๆ  5. วิถีชีวิตที่ใช้ งานกระดูกคอมากขึ้น เช่น การก้มดูโทรศัพท์มือถือ การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน" นพ.ศรัณย์ กล่าว

คำแนะนำการป้องกันโรคกระดูกสันหลังเสื่อม 1. การใช้งานหลังให้ถูกวิธี เช่น เวลาเรานั่ง เราควรจะต้องตัวตรง หลังชิดกับพนักพิง อาจจะมีหมอนเล็ก ๆ รองที่บริเวณหลังกับพนักพิง สำหรับเก้าอี้ที่ดี พนักพิงควรจะสูงถึงบริเวณไหล่ ส่วนเรื่องคอ บางครั้งเราก็จะเผลอในการที่จะก้มคอดูโทรศัพท์ หรืออ่านหนังสือ หรือดูจอโน้ตบุ๊ก

เราจะต้องคอยรู้ตัวตลอดเวลา ว่าคอเราควรจะตั้งตรง ตามองตรง และมองสิ่งที่เราจะมองลงไปประมาณ 15-20 องศา ก็จะช่วยทำให้อาการปวดคอลดลงได้ 2. ไม่ควรใช้หลังในท่าเดิมๆ นานเกินไป ควรหยุดพักยืดเส้นยืดสาย เช่น การนั่งเกิน 45 นาที ควรมีเวลาพักเปลี่ยนอิริยาบถประมาณ 10-15 นาที 3. ออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรง และเสริมความยืดหยุ่น เช่น การฝึกเกร็งหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลัง ทั้งในเวลาที่มีการใช้งาน

หรือจัดเวลาการออกกำลังกาย เสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อกลางลำตัว เช่น Planking นอกจากนี้ก็ยังต้องมีการออกกำลังเพื่อเสริมความยืดหยุ่นให้กับร่างกายด้วย 4. ลดการใช้งานหลังที่ไม่เหมาะสม งดการยกของหนัก หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงบาดเจ็บที่บริเวณหลัง 5.การควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกิน เกณฑ์ 6.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

เมื่อเกิดการใช้งานซ้ำ ๆ เหล่านี้ หมอนรองกระดูกจะเริ่มมีร่องรอยความเสียหาย จากนั้นก็จะเริ่มมีการสูญเสียน้ำ และมีการยุบตัวลง เกิดการไม่มั่นคงของโครงสร้างเกิดขึ้น กล้ามเนื้อข้างเคียงพยายามพยุงโครงสร้างเหล่านี้ และร่างกายตอบสนองด้วยการสร้างกลุ่มกระดูกงอก เพื่อรองรับโครงสร้างที่ไม่มั่นคงดังกล่าว ผู้ป่วยจะเริ่มปวดเมื่อมีการคลอนของโครงสร้างเกิดขึ้น ถ้าหมอนรองกระดูกที่ยุบและกลุ่มกระดูกที่งอกนี้ไปกดเส้นประสาทข้างเคียงก็จะทำ ให้เกิดอาการทางระบบประสาท

ขอบคุณ สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com