วันอังคารที่ 19 มีนาคม 2567
SHARE

ปวดหลังเรื้อรัง

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 19 พฤษภาคม 2565 - 17:39

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เผยสาเหตุเกิดจากการอักเสบของกระดูกสันหลังเรื้อรังร่วมกับข้ออักเสบเป็นเวลานาน ทำให้กระดูกสันหลังติดกันเคลื่อนไหวไม่ได้ รักษาไม่หายแต่สามารถคุมอาการและชะลอการรุนแรงโรคได้

 

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เป็นโรคหลักในกลุ่มโรคข้อและกระดูกสันหลังอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการแสดงของโรคคล้ายกัน คือ มีการอักเสบของข้อกระดูกสันหลัง ข้อต่อตามร่างกาย การอักเสบที่กระดูกบริเวณที่เส้นเอ็นยึดเกาะ การอักเสบของม่านตาและลำไส้

ในระยะแรกผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือปวดสะโพกเรื้อรังโดยเฉพาะช่วงเช้าหรือหลังพักผ่อน อาการหลังติดยึดทำให้เคลื่อนไหวลำบาก ทำงานไม่ได้ จนเกิดภาวะหลังคด ทรงตัวลำบากและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคได้ แต่คาดว่าโรคนี้อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม ตรวจพบโปรตีน HLA-B27

 

ผู้ป่วยโรคนี้มักมีญาติเป็นโรคเช่นเดียวกัน อายุจะเริ่มแสดงอาการในผู้ป่วยอายุน้อย ระหว่าง 20-30ปี พบเพศชายมากกว่าเพศหญิง ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาบรรเทาอาการ เพราะหากปล่อยให้อาการรุนแรงมากขึ้น อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยแต่ละรายอาจ มีอาการที่แตกต่างกันไปตามระดับความรุนแรงของโรค ปัจจุบันใช้ Modified New York Criteria โดยให้การวินิจฉัย และการรักษาผู้ป่วยได้ตั้งแต่ระยะแรก และติดตามการเปลี่ยนแปลงผลการรักษาของผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ

 

ติดตามการดำเนินโรคได้อย่างถูกต้อง และปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายโดยอายุรแพทย์ทั่วไป อายุรแพทย์ทางด้านโรคข้อและ รูมาติสซั่ม และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู วินิจฉัยโดยการตรวจร่างกายและตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ เพื่อยืนยันการวินิจฉัยและแยกโรคร่วมหรือการอักเสบชนิดอื่น ๆ

การรักษาหลักคือ การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการสังเกตตัวเองและเข้าใจตัวโรค ว่ายังไม่มีวิธีป้องกันหรือรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมและชะลอการดำเนินโรคได้ การรักษาจำเป็นต้องให้ยาเพื่อคุมการอักเสบเรื้อรังและอาการปวดแบบต่าง ๆ

 

ควรบริหารร่างกายเพื่อยืดหยุ่นข้อต่อและกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้สะดวกใกล้เคียงปกติและป้องกันข้อติดยึด อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาในระยะท้ายของโรค การรักษาด้วยยาและกายภาพอาจไม่เพียงพอ ต้องทำการ ผ่ า ตั ด เพื่อแก้ไขโครงสร้างและมีการดูแลแบบสหวิชาชีพต่อไป

 

ขอบคุณ กรมการแพทย์



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com