วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน 2567
SHARE

เตือนในฐานะแพทย์

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 21 มิถุนายน 2565 - 15:30

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ผศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์ นายกสมาคมแพทย์นิติเวชแห่งประเทศไทย และหัวหน้าห้องปฏิบัติการนิติเวชศาสตร์ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุข้อความว่า

"มีประเด็นสำคัญที่อยากเตือนในฐานะแพทย์นิติเวชและนักนิติพิษวิทยา ขอสรุปไว้ตรงนี้ก่อนเลยครับ เผื่อใครขี้เกียจอ่านยาว ๆ ผู้ใช้กัญชามีโอกาส (มีโอกาส หมายถึงไม่ได้เจอมาก แต่ก็เจอได้) เสียชีวิตกะทันหันจากโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดในสมองแตก โดยไม่จำกัดอายุ และไม่จำเป็นต้องมีโรคประจำตัว ขอเน้นว่า ไม่ได้เกิดจากการแพ้กัญชา ไม่ได้เกิดจากการเสพเกินขนาด แต่เกิดจากผลข้างเคียงของกัญชา

ข้อสรุปข้างต้นนี้มาจากงานวิจัยแบบรวมรวมข้อมูลงานวิจัย ของนักนิติพิษวิทยาชื่อดังของต่างประเทศ โดยตีพิมพ์เมื่อปี 2019 (ตามรูป 1 หรือใครอยากอ่านเต็มๆ ตาม link นี้ https://www.naac.org.cy/uploads/e53d88d15c.pdf) โดยรายละเอียดจากงานวิจัยที่สำคัญมีดังนี้

1. พบคนตาย 13 คน ที่ผู้วิจัยคิดว่าเสียชีวิตจากผลข้างเคียงของกัญชา โดยมีอายุตั้งแต่ 17-52 ปี บางรายไม่มีโรคประจำตัว ทุกเคสไม่เจอสารพิษอื่น เคสเกือบทั้งหมดตรวจหากัญชาในเลือดแล้วพบว่าไม่ได้สูงในลักษณะเสพเกินขนาด

2. พบคนป่วย 35 คน อายุ 15-53 ปี เสพกัญชาเพียงอย่างเดียวแล้วมีอาการผิดปกติจนต้องมาที่ห้องฉุกเฉิน บางรายไม่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่ตรวจพบกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

3. ตามข้อ 1. และ 2. เคสลักษณะนี้มีในไทยแล้วครับ ผมได้รับการบอกเล่ามาจากแพทย์คนตรวจเองเลยว่า ผู้ป่วยรายหนึ่งให้ประวัติว่า ผู้ป่วยไม่เคยใช้กัญชา แต่อยากลอง จึงสูบกัญชาหนึ่งครั้ง หลังสูบมีอาการแน่นหน้าอก จึงนำส่งโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลตรวจพบว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ช่วยไว้ไม่ทัน จนผู้ป่วยเสียชีวิตครับ

4. มีงานวิจัยหนึ่งที่วิจัยในคนไข้เกือบสี่พันคนแล้วพบว่า หลังสูบกัญชาไปหนึ่งชั่วโมงจะมีอัตราเสี่ยงที่เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ 4.8 เท่า

5. เรื่องนี้ตรงกับ status เก่าผมที่มีงานวิจัยที่พบว่า รัฐในอเมริกาหลังให้กัญชาเสรี จะมีคนป่วยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มมากขึ้น

สุดท้ายเรื่องเสรีกัญชาในไทยแบบมีการควบคุมให้เท่าประเทศอื่น ๆ (ไม่ใช่ปัจจุบันนี้ เพราะตอนนี้ไทยยังเสรีสุดในโลก) ผมยังพอยอมรับได้ แต่ต้องมีประเด็นที่ควรทำ ดังนี้

1. เรื่องอาการรุนแรงที่เกิดจากการใช้กัญชา จนอาจทำให้เสียชีวิตกะทันหัน ควรต้องเป็นคำเตือนที่มีการเผยแพร่ให้ประชาชนอย่างชัดเจน โดยเฉพาะจากกระทรวง สธ เช่น ต้องเตือนคนใช้ว่า ถ้ามีอาการเช่น หลังใช้กัญชาให้รีบมาพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาการแบบนี้เกิดได้กับคนทุกคน

มีคนบอกว่า เหล้ากับบุหรี่ ทำให้คนตายเยอะกว่ากัญชา จริง ๆ ก็เป็นคำพูดที่ถูกต้องครับ แต่เหล้ากับบุหรี่ถ้าใช้ไม่เยอะ ไม่มีผลข้างเคียงจนทำให้คนตายนะครับ ต่างจากการใช้กัญชาที่อาจทำให้ตายได้ (อ้างอิงจากงานวิจัยนี้) แล้วจริง ๆ ผมคิดว่าที่กัญชาตายน้อยเพราะมัน ไม่ได้ใช้ทั่วโลกมากมายแบบเหล้ากับบุหรี่ ถ้าใช้มากแบบเหล้ากับบุหรี่อาจเจอเคสเยอะกว่าเหล้ากับบุหรี่ได้

2. ทางรัฐควรลงโทษร้านค้าที่ใส่กัญชาในอาหารโดยไม่แจ้งคนซื้อ เพราะมันอาจทำให้คนกินเสียชีวิตได้ตามงานวิจัยนี้ ซึ่งจริงๆ การใส่กัญชาในอาหาร กรณีเป็นผลิตภัณฑ์อาหารต้องทำตามกฎหมายนี้ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/.../2564/E/168/T_0022.PDF กรณีเป็นร้านอาหารต้องทำตามกฎหมายนี้ https://laws.anamai.moph.go.th/th/practices/download/?did=208766&id=90623&reload=

\r\n

จากตัวกฎหมายเห็นได้ว่า ต้องมีการระบุชัดเจนถึงการใส่กัญชาในอาหารด้วย คือจะทำกินเองไม่ผิดกฎหมายอยู่แล้ว แต่ถ้าจะขายต้องตามกฎหมายนี้เท่านั้น ดังนั้นถ้ารัฐเจอคนแอบใส่ (ซึ่งเห็นมีหลายข่าวแล้ว) ควรลงโทษให้เป็นตัวอย่าง

3. สุดท้าย ที่อยากให้รัฐทำคือ ควรทำประชามติเลยครับ ว่าการเสรีกัญชาควรมีไหม หลายๆ ประเทศ หรือบางรัฐในอเมริกาเค้าก็ทำก่อนให้มีการเสรีกัญชาครับ ปัจจุบันมีทั้งคนที่ต้าน และคนที่สนับสนุน ก็ให้คนทั้งประเทศมาโหวตให้รู้กันเลยครับ"

ขอบคุณ Smith Fa Srisont



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com