วันศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567
SHARE

พบผู้ป่วยฝีดาษลิง รายที่ 2 ใน กทม. ไม่เชื่อมโยงรายแรก ที่ภูเก็ต

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 29 กรกฏาคม 2565 - 09:38

“อนุทิน” เผย กรมควบคุมโรครายงานพบ ผู้ป่วยฝีดาษวานร รายที่ 2 แล้ว เจอในกรุงเทพฯ  ด้านอธิบดีกรมควบคุมโรค เผย สปคม.เร่งสอบสวนโรค เบื้องต้นมีผู้สัมผัสร่วมบ้าน 10 ราย ขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจหาเชื้อ และสังเกตอาการ 21 วัน  ย้ำ! ผู้ป่วยรายนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยไนจีเรียรายแรก

เมื่อเวลา 14.30 น.  วันที่ 28 ก.ค. 2565 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า ตนได้รับรายงานจากอธิบดีกรมควบคุมโรค ว่าวันนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตรวจทางห้องปฏิบัติการ(แล็บ) ยืนยันผู้ป่วยฝีดาษลิงรายที่2 จากโรงพยาบาล(รพ.) วชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร เป็นชายไทย อายุ 47 ปี มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับชาวต่างชาติ  มีอาการสงสัยป่วย เมื่อวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมา จากนั้น 2 วัน เริ่มมีไข้ ปวดตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และ  1 สัปดาห์ต่อมามีผื่นที่อวัยวะเพศ ลำตัว หน้า แขนขา จึงมาตรวจที่รพ. ขณะนี้รับไว้ในรพ.และติดตามผู้สัมผัสมาตรวจและเฝ้าสังเกตอาการต่อให้ครบ 21 วัน

ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า กรมควบคุมโรคได้รับรายงานผู้ป่วยต้องสงสัยโรคฝีดาษวานร (Monkeypox) จากโรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) กรมควบคุมโรค และสำนักอนามัย กทม ลงพื้นที่สอบสวนโรคและเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการแล้ว ผลการสอบสวนโรคเบื้องต้น พบว่า ผู้ป่วยดังกล่าวเป็นชายไทยอายุ 47 ปี ไม่มีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ วันที่ 14 กรกฎาคม เริ่มมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว 1 สัปดาห์ ก่อนมาโรงพยาบาลมีตุ่มหนองที่อวัยวะเพศ ซื้อยามาทาเอง ต่อมามีตุ่มหนองขึ้นตามแขนขา ใบหน้า ศีรษะ วันที่ 27 กรกฎาคม จึงไปรักษาที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาลด้วยอาการอวัยวะเพศบวม เจ็บ แสบ

"ผู้ป่วยรายดังกล่าวมีอาการไม่รุนแรงและอยู่ในการดูแลของแพทย์ในห้องแยก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ขณะนี้ได้เร่งค้นหาผู้สัมผัสเสี่ยงสูง โดยผู้ป่วยให้ข้อมูลว่ามีครอบครัวอยู่รวมกัน 10 คน หลังจากมีผื่นตุ่มได้แยกตัวจากคนอื่นในบ้าน ซึ่งขณะนี้ได้ติดตามเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ" นพ.โอภาสกล่าว

นพ.โอภาสกล่าวว่า การประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น ถือว่ามีความเสี่ยงระดับสูงมากที่จะเป็นฝีดาษวานร เนื่องจากมีอาการเข้าได้กับนิยามผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร รวมทั้งลักษณะการดำเนินโรค ผื่น ตุ่มหนอง คล้ายกับลักษณะของโรคฝีดาษวานร โดยล่าสุด ห้องแล็บกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC) เพิ่งรายงานผลว่า เป็นเชื้อฝีดาษวานร (Monkeypox) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผลการสอบสวนโรค อาการทางคลินิก และผลตรวจทางห้องแล็บ สรุปได้ว่าเป็นผู้ป่วยฝีดาษวานรรายที่ 2 ของประเทศไทย ทั้งนี้ ได้มีการเฝ้าระวังโดยขอให้โรงพยาบาลส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเมื่อพบผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ และขอให้ประชาชนที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการสงสัยเข้าได้กับโรคฝีดาษวานรเข้ารับการรักษา

ขอบคุณ Hfocus



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com