วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567
SHARE

เรื่องของ กัญชา ที่หลายคนมักเข้าใจผิด ในการใช้รักษาโรค

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 20 ตุลาคม 2565 - 12:47

ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง สำหรับประเด็น กัญชา ซึ่งหลังจากที่มีการปลดล็อกนั้น เห็นได้ว่าสามารถเข้าถึงได้ง่าย รวมถึงเด็กและเยาวชน ทั้งที่เป็นกัญชาเสรีเพื่อผลประโยชน์ทางการแพทย์เพียงเท่านั้น

โดยทางเพจเฟซบุ๊ก Addiction Talk-จิตแพทย์อยากเล่า by TSAP ของชมรมจิตเวชศาสตร์การเสพติด (TSAP) ได้โพสต์ให้ความรู้เรื่อง "ความเข้าใจผิดเรื่องกัญชาที่หลายคนไม่ทันรู้หรือรู้ไม่เท่าทัน" ระบุว่า

กัญชากับการบรรเทาปวด

การใช้กัญชาเพื่อทดแทนยาแก้ปวดในผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้น มีผลน้อยมากในการบรรเทาอาการปวดเรื้อรังหรือบรรเทาอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้กัญชาจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น เกิดการรับรู้และสมาธิบกพร่อง อาการคลื่นไส้อาเจียน และอาการง่วงซึม

กัญชากับการช่วยนอนหลับ

การใช้กัญชาเพื่อรักษาอาการนอนไม่หลับ ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง ร่วมด้วยให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างน้อย โดยสารในกัญชาช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นเพียงเล็กน้อย ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้เป็นจากโรคมะเร็ง และผลการรักษาสำหรับการนอนจะน้อยลงไปอีก ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังที่เป็นผลจากโรคมะเร็ง ทั้งนี้ การได้กัญชาจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงได้มากมาย ได้แก่ เกิดอาการมึนงง ง่วงซึม ปากแห้ง อ่อนเพลีย และเกิดอาการคลื่นไส้

กัญชากับโรคจิตเวช

ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่า กัญชา ช่วยบรรเทาอาการของทางจิตเวชได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคสมาธิสั้น กลุ่มอาการ Tourette โรคสะเทือนขวัญจากการประสบเหตุการณ์รุงแรง (Post Traumatic Stress Disorder, PTSD) หรือ อาการโรคจิต ในทางกลับกัน การใช้กัญชาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางจิตเวชชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า (psychosis) เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าและความคิดอยากฆ่าตัวตาย มีความสัมพันธ์กับการมีโรควิตกกังวลทั้งนี้ การใช้กัญชาในวัยรุ่นยังทำให้ระดับสติปัญญาลดลงและเกิดความบกพร่องในการเรียนรู้

กัญชากับความก้าวร้าวรุนแรง

การใช้กัญชาเป็นประจำอาจมีผลต่อการก่อความรุนแรงทางกายขึ้นได้ เช่น ทำร้ายร่างกายผู้อื่น คุกคามทางเพศ เกิดการต่อสู้และจี้ปล้น เป็นต้น โดยผู้ใช้กัญชาอย่างหนักเป็นประจำมีความเสี่ยงที่จะก่อความรุนแรงทางกายเพิ่มเป็น 2.8 เท่า ส่วนผู้ที่ใช้กัญชาในปีที่ผ่านมามีความเสี่ยง 2.05 เท่า ซึ่งพบความเกี่ยวข้องของการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรง จากการใช้กัญชาในกลุ่มผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มีอาการรุนแรงเช่นกัน

กัญชากับสารเสพติดประเภทอื่น

การใช้กัญชาทำให้ผู้ที่ใช้ริเริ่มจะใช้สารเสพติดชนิดอื่นในเวลาต่อมาได้ เหมือนกัญชาเป็นประตูสู่สารเสพติดประเภทอื่น (gateway drug) โดยผู้ที่ใช้กัญชามีความเสี่ยงที่จะริเริ่มใช้สารเสพติดกลุ่มโอปิออยด์ (เช่น เฮโรอีน สารกลุ่มฝิ่น หรือยาแก้ปวด) ในเวลาต่อมาเพิ่มขึ้นเป็น 2.76 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชา และมีความเสี่ยงที่จะติดสารกลุ่มโอปิออยด์เป็น 2.52 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้กัญชา

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า การใช้กัญชา ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์เฉพาะทางโรคต่าง ๆ ไม่อย่างนั้นจะก่อให้เกิดโทษที่อันตรายได้ แม้ในปัจจุบันจะมีการปลดล็อกกัญชาเสรี แต่เป็นเพียงการใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์เท่านั้น

ขอบคุณ Addiction Talk-จิตแพทย์อยากเล่า by TSAP



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com