วันเสาร์ที่ 18 มกราคม 2568
SHARE

หมดไฟทำงาน

โพสต์โดย แสงอุษา เมื่อ 4 เมษายน 2565 - 12:09

วัยทำงานที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิต อยู่ในออฟฟิศกันมาก หรือแม้แต่การ Work from home ที่หลายบริษัท อาจมีความเครียดมากกว่าการเดินทางไปทำงานที่บริษัทเสียอีก ดังนั้นแต่ละคนต้องดูแลสภาพจิตใจ ร่างกายตัวเองให้ดี เพื่อที่จะตกหลุมอยู่ในภาวะ "หมดไฟทำงาน" ไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นทำงาน ในฐานะน้องใหม่ขององค์กร หรือจะเป็นคนที่ทำงานมานาน ๆ

ย่อมมีความเสี่ยงกับภาวะของคนทำงานที่เรียกว่า Burnout Syndrome หรือ ภาวะหมดไฟทำงาน กันทั้งนั้น เพราะเกิดความเครียดสะสมง่าย จึงขอนำเสนอ "5 เคล็ด (ไม่) ลับ" แก้อาการ Burnout Syndrome ที่ทำได้เองง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก

1. กลับมาดูแลร่างกายให้ดี เริ่มจากนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามเข้านอนให้ตรงเวลา รับประทานอาหารปรุงสุกที่มีประโยชน์ เลี่ยงสิ่งที่มีสารเสพติด เช่น เหล้า บุหรี่ อาจลองหาเวลาลาพักร้อนในช่วงสั้น ๆ ไปพักผ่อนรีเฟรชตัวเองให้สดชื่น คืนความสมดุลให้กับร่างกาย แถมกลับจากพักร้อนอาจได้ไอเดียใหม่ ๆ มาใช้เพิ่มเติมก็ได้

อย่างก่อนหน้านี้ CNBC ได้รายงานข่าวว่า บริษัท Bumble แอปพลิเคชันหาคู่สำหรับผู้หญิง ได้ประกาศให้พนักงานในบริษัทลาพักผ่อนทั้งสัปดาห์ โดยไม่นับรวมกับวันหยุดที่มีอยู่แล้ว เพื่อป้องกันภาวะหมดไฟทำงานที่จะเกิดขึ้น ในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างหนัก

2. จัดลำดับความสำคัญชีวิตและงานใหม่ โดยการโฟกัสเฉพาะงานที่สำคัญ จัดตารางชีวิตประจำวัน เช่น เวลาตื่นนอน รับประทานอาหารให้ตรงเวลา รวมถึงเมื่อหมดเวลาทำงานแล้วก็ต้องหยุดพัก ไม่โหมงานมากจนเกินไป

3. ลดโซเชียลมีเดีย ลองวางมือถือในมือแล้วหากิจกรรมอย่างอื่นเพื่อผ่อนคลายตัวเอง เช่น ปลูกต้นไม้ ทำกับข้าว ทำขนม งานฝีมือ หรือทำงานอดิเรกที่ชอบ ก็จะช่วยให้จิตใจได้ผ่อนคลายจากความหดหู่ เศร้าหมองได้มากขึ้นกว่าการท่องโลกอินเทอร์เน็ต

\r\n

4. ปรับทัศนคติในการทำงานใหม่ กลับมาทบทวนความสามารถในการทำงานของตัวเอง หาหนทางพัฒนาทักษะต่าง ๆ ทำความเข้าใจกับตัวเองว่างานแบบไหนที่ชอบหรือไม่ชอบทำ ที่สำคัญคือปรับทัศนคติว่าเป็นธรรมชาติของการทำงานที่จะต้องมีความเครียดแบบพอดีอยู่แล้ว

5. หาที่ปรึกษา ลองขอความช่วยเหลือจากคนรอบตัว เลือกคนที่คุณพร้อมเปิดใจ แล้วเขามีทัศนคติดี ไม่คิดแง่ลบ อาจปรึกษารุ่นพี่ในที่ทำงานเพื่อขอคำแนะนำ แต่ถ้ายังไม่อยากคุยกับคนรอบตัวอาจปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือนักจิตบำบัด เพื่อที่ว่าอาจมีคำแนะนำแรงบันดาลใจดี ๆ ให้ได้กลับมาใช้ในการทำงานได้อีกครั้ง



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com