การเข้าใจแนวคิดของการปกป้องความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์ รอยเท้าดิจิทัล การรักษาความปลอดภัยทางดิจิทัล ช่วยป้องกันภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้ ข้อแนะนำต่อไปนี้ จะช่วยให้ผู้ใช้งานรักษา ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัวและอุปกรณ์ดิจิทัลได้ มีอะไรบ้าง ไปดูกัน
1. ไม่ตั้งรหัสผ่านที่ง่ายเกินไป
รหัสผ่านเป็นกุญแจที่ไขเข้าสู่ข้อมูล และเอกสารของเรา อาชญากรไซเบอร์จะใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อที่จะเข้าผ่าน เข้ารหัสให้ได้ เพื่อที่จะไม่ให้คนพวกนี้เข้าถึงได้ง่าย ควรตั้งรหัสที่ยาก ซับซ้อน และไม่ควรบันทึกรหัสผ่านไว้ในอุปกรณ์ดิจิทัล
2. ใส่ใจกับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
แอปส่วนใหญ่ จะมีตัวเลือกในการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้ใช้งาน เพื่อที่จะตัดสินใจได้ว่าข้อมูลไหน จะแบ่งปันให้ใครได้เท่าไร ทางที่ดีควรจะเลือกตั้งค่าให้มีความเป็นส่วนตัวให้มากที่สุด ระมัดระวังในการเปิดเผยชื่อและที่ตั้งของเรา และปฏิเสธแอปที่พยายามจะเข้าถึงกล้องถ่ายรูปของเรา
3. ใส่ใจรอยเท้าดิจิทัล
สิ่งที่ผู้ใช้โพสต์ลงโลกออนไลน์แล้ว สิ่งนั้นจะคงอยู่ตลอดไป แม้ว่าโพสต์ต้นทางจะลบแล้ว คนอื่นก็จะตามร่องรอยเราจนได้ เมื่อคิดจะโพสต์ ควรโพสต์แต่เรื่องที่ดี ๆ และระมัดระวังการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว
4. ควรติดตั้งโปรแกรมรักษาความปลอดภัยให้กับอุปกรณ์ดิจิทัลทุกตัว
รวมถึงโทรศัพท์ด้วย เพื่อที่จะปกป้องอุปกรณ์เหล่านั้นจากภัยคุกคามในโลกไซเบอร์
5. สำรองข้อมูลไว้เสมอ
การสำรองข้อมูลมักถูกมองข้ามเสมอ แต่เป็นเรื่องสำคัญที่จะปกป้องข้อมูลที่สำคัญ โปรแกรมเรียกค่าไถ่จะยึดข้อมูลของผู้ใช้งานไว้เป็นตัวประกัน
6. ติดตั้งเครื่องมือติดตามอุปกรณ์หรือ ล็ อ ค หน้าจอ
ในกรณีที่ทำหาย เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ที่เอาไปเข้าถึงข้อมูลในเครื่องได้
7. ระมัดระวังการใช้บลูทูธ
ถึงแม้ว่าจะสะดวกสบาย แต่บลูทูธก็ยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ควรจะปิดโหมดบริการนี้ไว้เสมอ เมื่อไม่ได้ใช้งาน
8. อัปเดตระบบปฏิบัติการอยู่เสมอ
ทั้งระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ ดิจิทัล และโปรแกรมและแอปพลิเคชั่นที่ติดตั้งในอุปกรณ์นั้น เพื่อที่จะรับบริการด้านความปลอดภัย และซ่อมแซมข้อบกพร่องของรุ่นเก่า ๆ
9. ระมัดระวังการใช้ไวไฟ
อุปกรณ์ไวไฟที่ใช้ควรจะมีความปลอดภัย ควรตั้งรหัสผ่านไว้ตลอดเวลา และไม่ใช้ไวไฟสาธารณะ เมื่อต้องเปิดเผย Wi-Fi ข้อมูลส่วนตัวหรือทำธุรกรรม
10. ลบข้อมูลหรือโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
หากว่ามีโปรแกรม หรือแอปที่ไม่ได้ใช้งานหลายเดือนแล้ว ควรจะเอาออกเสีย เช่นเดียวกับข้อมูลที่ไม่ได้ใช้แล้ว ควรจะลบออก หรือไม่ก็ควรจะเก็บข้อมูลเหล่านั้น ในฮาร์ดไดร์ฟต่างหาก หรือเก็บไว้ในลักษณะออฟไลน์ เพื่อที่จะปกป้องข้อมูลส่วนตัว ในกรณีที่ผู้ใช้งานอาจจะลืม
11. ระมัดระวังการหลอกลวงให้กรอกข้อมูล (Phishing)
มิจฉาชีพจะปลอมตัวเป็นองค์กรที่เป็นที่รู้จัก และหลอกล่อให้ผู้ใช้งานเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เพื่อจะเข้ารหัสผ่านหรือเพื่อติดตั้งมัลแวร์ ควรสังเกต URL ของเว็บไซต์ให้ชัดเจนและอย่ากดลิ้งก์หรือเปิดไฟล์ที่แนบเข้ามา ระมัดระวังการหลอกลวงของแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ที่พยายามล้วงข้อมูลส่วนตัว และนำไปเปิดบัญชีอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งที่สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปได้
12. ใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างระมัดระวัง
ไม่ควรรับคนที่ไม่รู้จักเป็นเพื่อน หลีกเลี่ยงการแชตกับคนแปลกหน้า ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในโหมดสาธารณะ เเละลบบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว
\r\nขอบคุณ สถาบันสื่อเด็กเเละเยาวชน