เป็นที่ทราบกันดีว่า การย่อยสลายพลาสติก หรือขยะต่างๆ ที่มีโฟม และพลาสติกเป็นส่วนประกอบนั้น ใช้เวลาในการย่อยสลายยาวนาน และก่อให้เกิดมลพิษขึ้นมา แต่ก็มีนักวิจัยได้ศึกษา วิธีการที่จะย่นระยะเวลาในการกำจัดของเสียเหล่านี้ จนเกิดการวิจัย ศึกษาซุปเปอร์หนอน เปิดความหวังวงการรีไซเคิล สายพันธุ์ที่สามารถจัดการพอลีสไตรีนได้ อาจเป็นกุญแจสำคัญในการรีไซเคิลพลาสติกในปริมาณมาก

โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ค้นพบว่า หนอนสายพันธุ์โซโฟบัส โมริโอ (Zophobas morio) เป็นตัวอ่อนของแมลงปีกแข็งชนิดหนึ่งสายพันธุ์ด้วง darkling ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Superworm, kingworm, morio worm สำหรับซุปเปอร์เวิร์มมีลักษณะคล้ายหนอนใยอาหารขนาดใหญ่ มีความยาวประมาณ 50 ถึง 60 มม. (1.7–2.25 นิ้ว) เมื่อโตเต็มวัย มันสามารถกินพอลิสไตรีนที่ผลิตออกมาเป็นโฟมเป็นพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติกได้อย่างปกติ

ด้าน Dr. Chris Rinke และทีมงานจาก School of Chemistry and Molecular Biosciences ได้มีการทดลองโดยแบ่งหนอนออกเป็น 3 กลุ่ม กินอาหารที่แตกต่างกัน โดยมีหนอน 2 กลุ่ม กินอาหารปกติตามธรรมชาติและหนอน 1 กลุ่ม กินพลาสติกโพลีสไตรีน (Polystyrene) เป็นอาหารเพียงอย่างเดียว ในช่วงสามสัปดาห์ “เราพบว่า superworms ที่เลี้ยงด้วยอาหารแค่พอลิสไตรีนไม่เพียงแต่รอดชีวิต แต่ยังมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อยอีกด้วย” ดร. Rinke กล่าว "สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าหนอนสามารถได้รับพลังงานจากพอลิสไตรีน ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ว่าด้วยสามารถจากจุลินทรีย์ในลำไส้ของพวกมัน"

“ซุปเปอร์เวิร์มเป็นเหมือนโรงงานรีไซเคิลขนาดเล็ก พวมันกัดกินพอลิสไตรีนด้วยปากของพวกมัน แล้วป้อนให้แบคทีเรียในลำไส้ของพวกมัน” ดร. Rinke กล่าว "ผลิตภัณฑ์ที่สลายตัวจากปฏิกิริยานี้สามารถต่อยอดเพื่อสร้างสารประกอบที่มีมูลค่าสูง เช่น พลาสติกชีวภาพ"

ทั้งนี้หวังว่าการรีไซเคิลทางชีวภาพนี้จะกระตุ้นให้เกิดการรีไซเคิลขยะพลาสติกและลดหลุมฝังกลบ Jiarui Sun ผู้เขียนร่วมของการวิจัยกล่าวว่าพวกเขาตั้งเป้าที่จะพัฒนาแบคทีเรียในลำไส้ในห้องแล็บและทดสอบความสามารถในการย่อยสลายพอลีสไตรีนต่อไป “จากนั้น เราสามารถพิจารณาว่าเราจะยกระดับกระบวนการนี้ให้อยู่ในระดับที่จำเป็นสำหรับโรงงานรีไซเคิลทั้งหมดได้อย่างไร” Jiarui Sun กล่าว


ขอบคุณ www.uq.edu.au