กัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนอยู่ในกวางเรนเดียร์มาตลอด 30 ปี แถมคนยังบริโภคมัน หลังเชอร์โนบิลระเบิด
ย้อนกลับไปวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1986 ทางตอนเหนือของยูเครน เกิดเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนิคมเชอร์โนบิลระเบิด เป็นที่ทราบกันดีว่าสิ่งที่ตามมาคือกัมมันตภาพรังสีสุดอันตรายที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ
ผลกระทบของเชอร์โนบิล ทำให้กัมมันตภาพรังสีกระจายไปทัวชั้นบรรยากาศเหนือสหภาพโซเวียตและข้ามไปถึงยุโรป ท่ามกลางการปนเปื้อนสิ่งที่อันตรายที่สุดจากปฏิกิริยาฟิชชันนี้คือ ซีเซียม-137 (ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม)
ลมและฝนหอบสิ่งปนเปื้อนนี้มาสู่พื้น แม้กระทั้งแผ่นดินประเทศนอร์เวย์ ในช่วงฤดูใบไม้ผลิเกิดห่าฝนตกลงมาไม่หยุดยั้ง สถานีวิทยุรายงานว่ามีกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนกว่า ซีเซียม-137 ปนเปื้อนบนพื้นดินกว่า 700 กรัม
มันซึมซับไปยังทะเลสาบและป่าไม้ ทุกสิ่งมีชีวิตทั้งใบหญ้า พืชผลเบอรรี่ สัตว์ป่า ต่างก็ปนเปื้อน ม้แต่เชื้อรา และไลเคน
เรนเดียร์ในแถบนี้กลายเป็นสัตว์ที่ปนเปื้อนกัมมันภาพรังสีมากที่สุด แถมชนพื้นเมืองก็ยังบริโภคมันด้วย
ในปี 1986 นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบระดับกัมมันภาพรังสีในตัวกวางเรนเดียร์มันจึงถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่มนุษย์ไม่ควรนำมากินเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลในกลุ่มประเทศยุโรปจึงออกกฏหมายเข้มงวดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทำให้ชาวพื้นเมืองที่มีเรนเดียร์อยู่ในครอบครองต้องปล่อยพวกมันกลับสู่ป่า
ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ซีเซียม-137 ในพื้นที่ที่ถูกปนเปื้อนเริ่มจางลงเกือบครึ่ง แต่บรรดาพืชที่มีการเจริญเติบโตช้าอย่างไลเคนยังเป็นอันตรายอยู่
อย่างไรก็ตามชนพื้นเมืองในเขต Snasa ที่ทำปศุสัตว์และกินกวางเรนเดียร์เป็นอาหาร จะถูกตรวจร่างกายเพื่อดูระดับสารปนเปื้อนเป็นประจำทุกปี พวกเขากล่าวว่าพวกเขาจะยังคงอยู่ภายใต้เงาของเชอร์โนบิลตลอดไป
ขอบคุณที่มา Businessider
เรียบเรียงโดย