ตามติดชีวิตบนสถานีน้ำแข็ง พวกเขาอยู่กันอย่างไรในสภาพติดลบ 120 องศา โดดเดี่ยวกลางแอนตาร์กติกา
สถานีวิจัยแอนตาร์กติก The Halley VI สร้างขึ้นโดยกลุ่มนักวิจัยสำรวจจากประเทศอังกฤษ มีมาแล้วด้วยกัน 6 รุ่น ตั้งแต่ยุคแรกๆของการบุกเบิกทางวิทยาศาสตร์บนทวีปแอนตาร์กติกา
หลังจากทีมสำรวจ Halley ได้ค้นพบช่องโหว่บนชั้นโอโซนของโลก ส่งผลทำให้ต้องคอยจับตาดูชั้นบรรยากาศอยู่ตลอดเวลาในสถานีแห่งนี้เริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956
มาวันนี้ The Halley รุ่นที่ 6 กลายเป็นสถานที่สำคัญในงานวิจัยวิทยาศาสตร์ แต่ก้ต้องเผชิญหน้ากับสภาพอากาศที่รุนแรงสุดขั้ว ดังนั้นนักวิจัยทุกคนจึงต้องพร้อมรับกับสถานการณ์ดังกล่าวทุกเมื่อ
ใน 1 ปี ทีมวิจัยจะต้องใช้ชีวิตอยู่ที่นี้เป็นเวลา 106 วัน ทำงานอยู่ในสภาพอากาศที่ติดลบ 120 องศา อย่างไรก็ตาม The Halley VI ถูกออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทีมวิจัยรู้สึกเหมือนกับอยู่บ้าน
สถานีน้ำแข็งรุ่นที่ 6 นี้ เปิดให้ทีมวิจัยใช้อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2013 เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโลกที่สามารถทำการเคลื่อนย้ายในตัวได้
ขอบคุณภาพจาก James Morris
ใช้ระบบแบบพึ่งพาตัวเอง เพื่อการใช้งานสถานีแห่งนี้ต้องพึ่ง น้ำมันเชื้อเพลิง, เครื่องปั่นไฟ, ระบบบำบัดน้ำ, ระบบดับเพลิงและระบบบำบัดน้ำเสีย ที่คุณเห็นนักวิจัยกำลังเดินอยู่บนสะพานที่เชื่อมต่อกับศูนย์พลังงาน
ขอบคุณภาพจาก James Morris
ห้องทำงานที่สามารถชมวิวอันขาวโพลนได้อย่างสุดลูกหูกลูกตาได้แบบ 360 องศา
ขอบคุณภาพจาก James Morris
ข้างในดูหรูหรามากกว่าที่เห็น มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย มานั่งชิวสังสรรค์ได้ทุกเมื่อ
ขอบคุณภาพจาก James Morris
หน้าต่างที่เห็นทำจากแผงโปรงใส่ที่เคลือบด้วย นาโนเจล ซึ่งเป็นฉนวนกันความร้อนระดับสูง
ขอบคุณภาพจาก James Morris
ห้องนอนแต่ละห้อง มีระบบติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบพิเศษ ที่ทำให้เกิดแสงธรรมชาติได้ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการต้องอยู่ในเดือนที่มืดมิด ที่ข้างนอกจะเป็นเวลากลางคืนตลอด 1 เดือน
ขอบคุณภาพจาก James Morris
ขอบคุณภาพจาก James Morris
เรามาดูข้างในส่วนต่างๆและชีวิตของทีมวิจัยที่นี้กันเลย
ขอบคุณที่มา
แปลและเรียบเรียงโดย