เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (15 ก.ค) ประเทศตุรกีต้องเผชิญหน้ากับความโกลาหลอีกครั้งเมื่อทหารตุรกีกลุ่มหนึ่งพยายามก่อรัฐประหารโดยการเคลื่อนกำลังยึดสถานที่สำคัญในกรุงอังการา และอิสตันบูล แต่กลับล้มเหลว
แม้จะเป็นการก่อรัฐประหารเรียกร้องความสงบเพื่อประชาธิปไตย แต่ดูเหมือนประชาชนจะไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้ จึงได้ออกมาสนับสนุนประธานาธิบดี เรเจป ทายยิป เออร์โดกัน ให้ยังคงดำรงตำแหน่งต่อไปแม้จะไม่ชอบก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนี้จบลงด้วยยอดผู้เสียชีวิตราว 265 ราย และรัฐบาลได้สั่งปลดผู้พิพากษาทั่วประเทศถึง 2,745 ราย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในการพยายามก่อรัฐประหาร แต่นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีรัฐประหารเกิดขึ้นในประเทศตุรกี
(ขอบคุณภาพจาก acempire)
ในประวัติศาสตร์ของตุรกีเคยมีการก่อรัฐประหารมาแล้ว 5 ครั้งในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา
1. รัฐประหารในปี 1960 กองกำลังฝ่ายทหารพยายามโค่นล้มรัฐบาลตุรกีเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ช่วงเวลาของความตึงเครียดระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน ในข้อกฏหมายทางศาสนาที่หละหลวม แต่กลับเคร่งครัดในเรื่องของสื่อ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้ประธานาธิบดี Adnan Mederes ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ
(ขอบคุณภาพจากtarihiolaylar)
2. รัฐประหารในปี 1971 ตุรกีต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ทหารต้องเข้ายึดสภาและมีการทำข้อตกลงบีบให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และหลังจากนั้นตุรกีได้ปกครองโดยรัฐบาลทหาร
(ขอบคุณภาพจาก qz)
3. รัฐประหารในปี 1980 เสนาธิการทหารบกได้ทำการประกาศรัฐประหารทางช่องโทรทัศน์ของตุรกี ในระหว่างที่ประเทศต้องเผชิญหน้ากับปัญหาทางเศรษฐกิจ จากรายงานของ Al Jazeera กล่าวว่ารัฐประหารครั้งนี้ต้องการทำให้ประเทศเกิดความมั่นคง แต่ทางกองทัพกลับคุมขังประชาชนที่ไม่เห็นด้วยหลายพันคน จำนวนกว่าโหลถูกตัดสินประหารชีวิต ที่เหลือถูกทรมานและสูญหาย ถือเป็นรัฐประหารที่นองเลือดที่สุดในประวัติศาสตร์ของตุรกี
4. รัฐประหารในปี 1997 เหตุการณ์เกิดขึ้นในระหว่างประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ แม้ว่าทหารจะก่อรัฐประหารแต่ครั้งนี้เหตุการณ์เป็นไปอย่างสงบ เนื่องจากทางนายกรัฐมนตรีได้ยอมลาออกจากตำแหน่ง และยอมรับเงื่อนไขของฝ่ายทหารโดยง่าย ที่ยังรวมถึงเงื่อนไขการศึกษาภาคบังคับจำนวน 8 ปีด้วย
5.รัฐประหารโดยการแทรกแซงระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-coup) ในปี 2007 กองกำลังทหารได้โพสข้อความเตือนรัฐบาลผ่านทางเว็บไซต์ในการต่อต้านนาย Abdullah Gul ให้มาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะเขามาจากพรรคอิสลาม แต่ผลสุดท้ายพรรคของ Abdullah Gul ได้รับารโหวตเพิ่มขึ้นถึง 13 เปอร์เซ็นต์ และชนะการเลือกตั้งไป
แม้ว่าตรุกีจะมีรัฐประหารเกิดขึ้นหลายครั้ง แต่ครั้งนี้แตกต่างโดยผู้อำนวยการศูนย์ตะวันออกกลางตรุกีศึกษาได้กล่าวว่า "สถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปอย่างไหลลื่น แต่นี่เป็นรัฐประหารที่ผิดปกติมาก ในอดีตนั้นทหารจะต้องฟังคำเรียกร้องจากประชาชนก่อนที่จะก่อรัฐประหาร ซึ่งไม่ใช่กรณีล่าสุดนี้ ถึงรัฐบาลของเออร์โดกันจะเลวร้าย แต่ยังคงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ ครั้งนี้ไม่มีการแทรกแซงทางการทหาร ไม่มีความโกลาหล ถ้าเป็นในอดีตพวกทหารยศสุงจะออมากประกาศทางโทรทัศน์เพื่ออธิบายเหตุผลของการปฏิวัติไปแล้ว แต่นี่ไม่ได้เกิดขึ้น แสดงว่ารัญประหารครั้งนี้ไม่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาทหารยศสูง"
ขอบคุณที่มา Businessinsider
เรียบเรียงโดย Boxza