ตลอดหลายยุคสมัยที่ผ่านมา พระมหากษัตริย์ของแผ่นดินไทยแต่ละพระองค์ทรงมีความเลื่อมใส และให้การสนับสนุนพระพุทธศาสนามาอย่างยาวนาน และนี่คือวัดประจำของทั้ง 9 รัชกาล
วัดประจำรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
หรือรู้จักกันในชื่อ วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(ขอบคุณภาพจาก dhammathai)
วัดประจำรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
บางคนเรียกว่า วัดแจ้ง หรือวัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา มเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
วัดประจำรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
ป็นวัดเก่าแก่เดิมชื่อวัดจอมทอง เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงเทพมหานคร พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาคือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงสถาปนาวัดจอมทองขึ้นใหม่ทั้งพระอาราม ตั้งอยู่ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร
วัดประจำรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ตามธรรมเนียมประเพณีโบราณที่ว่า ในราชธานีจะต้องมีวัดสำคัญประจำ 3 วัด คือ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดราชประดิษฐาน จึงทรงสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ครบตามโบราณราชประเพณี ตั้งอยู่ที่ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ค Watrajapradit)
วัดประจำรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และวัดประจำรัชกาลที่ ๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
ป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นวัดประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. 2412 มีลักษณะผสมระหว่างสถาปัตยกรรมไทยกับสถาปัตยกรรมตะวันตก คือ ลักษณะภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย ส่วนภายในออกแบบตกแต่งอย่างตะวันตก ตั้งอยู่ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(ขอบคุณภาพจาก web-pra)
วัดประจำรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร
เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จก็สิ้นพระชนม์เสียก่อน มีสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน ตั้งอยู่ต้นถนนตะนาวและถนนเฟื่องนคร บวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
(ขอบคุณภาพจาก wikiwand)
วัดประจำรัชกาลที่ ๘ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้า ตั้งอยู่ริมถนนตีทอง 1 ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
วัดประจำรัชกาลที่ ๙
วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2538 ป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคมสีมา และได้รับการยกขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีเป็นการพิเศษในปี พ.ศ. 2542 ตั้งอยู่ เลขที่ 999 ซอย 19 ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร