เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา นาซาได้สร้างความฮือฮาด้วยการประกาศค้นพบระบบสุริยะใหม่ที่ชื่อว่า "แทรปปิสต์ - วัน" (Trappist-1) อยู่ห่างจากโลก 39 ปีแสง มีดาวเคราะห์ 7 ดวง คาด 3 ในนี้ แนวโน้มสูงมีสิ่งมีชีวิต!!
ระบบสุริยะ "แทรปปิสต์ - วัน" ถูกค้นพบโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ของนาซา โดยมีดาวเคราห์ขนาดใกล้เคียงกับโลกเขาเราถึง 7 ดวง ที่โคจรรอบดาวฤกษ์เพียงดวงเดียว ซึ่งดาวเคราะห์แต่ละดวงเรียงตัวในระยะที่ไม่ห่างกันมาก โดย 3 ดวงในนี้อยู่ในระยะห่างที่เหมาะสมกับดาวดาวฤกษ์ศูนย์กลางที่คาดว่าอาจมีน้ำอยู่บนพื้นผิวของดาวเหล่านี้ ซึ่งเอื้อต่อการมีสิ่งมีชีวิต
(Photo credit: NASA)
นับเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้เรามั่นใจขึ้นไปอีกว่าเราไม่ได้อยู่เดียวดายในอวกาศ ทีมนักวิทยาศาสตร์สามารถประเมินมวลดาวเคราห์ 6 ใน 7 ดวงได้ จากการคำนวณความหนาแน่นของมันพบว่าทั้ง 6 ดวงน่าจะเป็นดาวเคราะห์หิน ส่วนดวงที่ 7 ทีมนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถประเมินมวลได้ จึ่งเชื่อว่าอาจเป็นดาวเคราะห์ที่มีสภาพเป็นก้อนหิมะ
(Photo credit: NASA)
นักวิทยาศาสตร์ไดกล่าวว่า การที่ดาวฤกษ์ที่อยู่ศูนย์กลางมีอุณหภูมิที่ต่ำ ทำให้ดาวเคราะห์ 3 ดวง ที่อยู่ในระยะเหมาะสมในระบบเอื้อต่อการที่พื้นผิวดาวจะมีน้ำ และมีสิ่งมีชีวิต!!
อย่างไรก็ตามภายในอนาคตข้างหน้านี้ นาซาจะใช้กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์คุณภาพสูงที่กำลังพัฒนาแทนที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล เพื่อที่จะสามารถส่องหาร่องรอยของดมเลกุลในบรรยากาศของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ แทรปปิสต์ - วัน อีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราจะได้เห็นหลักฐานที่ชัดเจนกันสักทีว่าเราไม่ได้อยู่เดียวดายในจักรวาลนี้
(Photo credit: NASA)
ชมคลิป
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก nasa.gov, businessinsider