วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2567
รมว.คลัง ยันจำเป็นต้องกู้ เผย เงินทุนสำรองจ่าย ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ
SHARE

รมว.คลัง ยันจำเป็นต้องกู้ เผย เงินทุนสำรองจ่าย ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ

โพสต์โดย Nabi เมื่อ 9 มิถุนายน 2564 - 17:45

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แจงรัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงิน 5 แสนล้าน เพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 ระลอกใหม่เหมือนรัฐบาลทั่วโลก อีกทั้งเงินทุนสำรองจ่ายที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ ขณะที่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2564 นั้น รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ปี 2564 มีข้อจำกัดและได้รับผลกระทบจากการระบาดจากเชื้อโควิด-19 หากจะรอแหล่งเงินจากงบประมาณปี 2565 จะไม่ทันต่อการแก้ไขปัญหาการระบาดระลอกใหม่

รมว.คลัง ยันจำเป็นต้องกู้ เผย เงินทุนสำรองจ่าย ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ

วันที่ 9 มิ.ย. 64 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวาระด่วน โดยมีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน เพื่อพิจารณาพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ.2564 หรือ พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงหลักการและเหตุผลว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้แก้ไขสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 มาต่อเนื่องผ่านแหล่งเงินภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่ แต่พบว่ายังไม่เพียงพอต่อการแก้ปัญหาการระบาดในระลอกใหม่ได้ อีกทั้งเงินทุนสำรองจ่ายที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ ขณะที่การจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2564 นั้น รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ปี 2564 มีข้อจำกัดและได้รับผลกระทบจากการระบาดจากเชื้อโควิด-19 หากจะรอแหล่งเงินจากงบประมาณปี 2565 จะไม่ทันต่อการแก้ไขปัญหาการระบาดระลอกใหม่

รมว.คลัง ยันจำเป็นต้องกู้ เผย เงินทุนสำรองจ่าย ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ
รมว.คลัง ยันจำเป็นต้องกู้ เผย เงินทุนสำรองจ่าย ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ

ดังนั้นเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศกลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว รัฐบาลจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน ที่จะต้องตราพระราชกำหนดกู้เงินซึ่งถือเป็นทางเลือกสุดท้าย ในการบริหารจัดการกับสถานการณ์โรคระบาด โดยยืนยันว่า รัฐบาลได้กำหนด แนวทางการใช้เงินกู้ ไว้อย่างรัดกุมเพื่อให้เป็นไปตามกรอบ และพิจารณาภายใต้วินัยการเงินการคลัง

นายอาคม กล่าวอีกว่า พ.ร.ก.กู้เงินฉบับนี้ มีสาระสำคัญคือ การให้อำนาจกระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศในวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท โดยต้องลงนามในสัญญากู้เงินหรือออกตราสารหนี้ ภายในวันที่ 30 ก.ย. 2565 เพื่อนำเงินไปใช้จ่ายใน 3 แผนงาน คือ

  • 1. แผนงานที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาการระบาดเชื้อโควิด-19 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยารักษาโรค วัคซีน วงเงิน 30,000 ล้านบาท
  • 2. แผนงานที่มีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ วงเงิน 300,000 ล้านบาท
  • 3. แผนงานเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อโควิด-19 วงเงิน 170,000 ล้านบาท
รมว.คลัง ยันจำเป็นต้องกู้ เผย เงินทุนสำรองจ่าย ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ

การตรา พ.ร.ก.ฉบับนี้ รัฐบาลตระหนักถึงวินัยการเงินการคลังของประเทศ ความคุ้มค่า ความโปร่งใสในการใช้จ่ายเงินกู้ มีการกำหนดกรอบการใช้เงินที่สอดคล้องกับกฎหมายวินัยการเงินการคลังอย่างรอบคอบรัดกุม รัฐบาลไทยและรัฐบาลทั่วโลกได้กู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเยียวยา ฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้สิ้นปี 2564 ระดับหนี้ภาครัฐบาลของโลกคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 92 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,760 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ ตัวเลขหนี้ของไทยสิ้นเดือน เม.ย. 2564 อยู่ที่ร้อยละ 50.69 ต่อจีดีพี ยังต่ำกว่ากรอบเพดานหนี้สากล โดยระดับหนี้สาธารณะที่เหมาะสมของแต่ละประเทศไม่มีระดับตายตัว ขึ้นอยู่กับบริบทและปัจจัยที่แตกต่างกัน ดังนั้นการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือเยียวยาประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่รัฐบาลมีเจตนาเพื่อให้ประเทศผ่านพ้นวิกฤติไปให้ได้ การก่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังจะทำด้วยความรอบคอบ อยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง

รมว.คลัง ยันจำเป็นต้องกู้ เผย เงินทุนสำรองจ่าย ที่เหลืออยู่มีไม่เพียงพอ

ขอบคุณข้อมูลจาก EasyYukhon



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com