วันพุธที่ 22 มกราคม 2568
SHARE

"ไอซ์ ปรีชญา" เคยแพ้ยาซึมเศร้าจนเห็นภาพหลอน! ตอนนี้โสดชีวิตแฮปปี้ มีแพชชั่นในการทำงานมากขึ้น

โพสต์โดย Jarm Team เมื่อ 8 กรกฏาคม 2567 - 17:11

นางเอกสาว "ไอซ์ ปรีชญา" เปิดใจในรายการ WOODY INTERVIEW หลังผ่านมรสุมชีวิต ย้อนเล่าจุดเริ่มต้นของการเป็ นโรคซึมเศร้าถึงขนาดเคยแพ้ ยาจนเห็นภาพหลอนและกรามค้าง! พร้อมเล่าวิธีการรับมือและเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัญหา ตอนนี้โสดแฮปปี้กับชีวิตและมี แพชชั่นในการทำงานมากขึ้น  

จุดเริ่มต้นความซึมเศร้ามันเข้ ามาตอนไหน ?

ไอซ์ ปรีชญา : 9 ปีที่ผ่านมาค่ะ ก็รู้ตัวว่าตัวเองผิดปกติ ไม่สามารถที่จะใช้ชีวิตประจำวั นได้ เช่นการลุกออกจากเตียง การตื่นนอนคือเรื่องยากมากสำหรั บคนที่เป็นโรคนี้ คือเหมือนกันว่าเราไม่อยากตื่น เพราะรู้ว่าตื่นมาแล้วเราเศร้า เริ่มมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิ ตประจำวัน รู้สึกว่าเราแปลก เริ่มทานอาหารน้อยลง เบื่ออาหารหรือเปล่าก็ไม่น่าใช่ แล้วก็เริ่มนอนไม่หลับ ก็เลยมาทำทดสอบในอินเตอร์เน็ ตปรากฏว่าคือทุกข้อเลยค่ ะตรงหมดเลย หลังจากนั้นไอซ์ก็ไปหาคุณหมอ

เท่าที่รักษามาพอจะรู้ไหมว่าเกิ ดจากอะไร ?

ไอซ์ ปรีชญา : คุณหมอบอกว่าเป็นพันธุกรรมด้วย หนึ่งส่วนเป็นพันธุกรรมแล้วก็อี กเรื่องคือเรื่องเครียดที่มี ผลกระทบ หรือว่าเป็นภาวะสูญเสีย 

เป็นตั้งแต่ช่วงภาพยนต์ ATM ไหม ?

ไอซ์ ปรีชญา : ตอนนั้นยังไม่แน่ใจตัวเองว่าเป็ นหรือเปล่า แต่ว่าพอหลังจากนั้น หนูแน่ใจแล้ว และอีกส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากที่ เราประสบอุบัติเหตุรถคว่ำแล้วก็ ถูกแฟนทิ้ง รู้สึกว่ามันแย่จังเลยชีวิตช่ วงนั้น

รถคว่ำกับแฟนทิ้งมันโยงกันได้ยั งไง ?

ไอซ์ ปรีชญา : เราคิดว่าตัวเองไม่สามารถกลั บมาทำงานในวงการบันเทิงได้อีกต่ อไปแล้ว เพราะว่าหน้าเราเสียโฉม คือมันแทบจะไหลออกมาแล้วอ่ะลู กตา ต้องใช้เวลารักษาอยู่เป็นปีๆ เพื่อที่จะทำให้แผลยุบลงไป ซึ่งเจ็บมากๆด้วย และเกี่ยวกันได้ยังไงเรื่ องแฟนทิ้งใช่ไหมพี่ เพราะว่าเราบอกเขาว่ าเราอาจจะกลับมาหน้าตาไม่เหมื อนเดิมแล้วนะ เขาไม่ได้ขอเลิกแต่ว่าเขาหาย

ช่วงนั้นใช้เวลานานไหมกว่าหน้ าจะเข้าที่ ?

ไอซ์ ปรีชญา : นานมากๆ ค่ะ ประมาณ 3-4 ปีได้เลยนะคะ ซึ่งไอซ์ไม่ส่องกระจกเลย ต้องเอาผมข้างหนึ่งมาบังหน้าเพื่ อไม่ต้องการให้เห็นแผล เราเครียดไม่อยากส่องกระจก ไม่อยากออกไปเจอใคร รู้สึกแย่รู้สึกนอยด์ บวกกับแฟนทิ้งอีกก็หนักเลยตอนนั้ น

บวกกับที่คนเขาวิพากษ์วิจารณ์ด้ วยว่าโครงหน้าเปลี่ยน คนที่มองเข้ามาก็ยิ่งทำให้คุ ณกดดันมากยิ่งขึ้น ตอนนั้นสภาวะจิตใจเป็นยังไง ?

ไอซ์ ปรีชญา : ใช่ค่ะ ภาวะคือไม่อยากอยู่แล้วค่ะ คือรู้สึกว่าเราไม่มีอะไรจะเสี ยแล้ว คือเราผ่านเรื่องราวผ่านปัญหา ผ่านการบูลลี่ผ่านอุบัติเหตุครั้ งใหญ่มา แล้วก็ด้วยโรคนี้ด้วยที่เราเผชิ ญอยู่ ก็รู้สึกว่าน่าจะเป็นช่วงที่แย่ ที่สุด

วันที่หนักสุดจำได้ไหมเกิ ดอะไรขึ้น ?

ไอซ์ ปรีชญา : ไอซ์ไม่ได้ทานข้าวเลยพี่วู้ดดี้ เกือบอาทิตย์ได้มั้งคะ แล้วก็วูบไปในห้องน้ำ หลังจากนั้นเข้าโรงพยาบาล

วิธีในการอยู่กับโรคซึมเศร้า อยากให้แบ่งปันเพื่อเป็ นประโยชน์กับทุกคน ?

ไอซ์ ปรีชญา : เริ่มจากที่มีอยู่วันหนึ่ง ไอซ์รู้สึกว่าฉันไม่อยากอยู่แล้ วนะ และฉันต้องการความช่วยเหลือมากๆ ซึ่งตอนนี้คนที่จะช่วยเหลือได้ ก็คือโรงพยาบาล ไอซ์โทรไปโรงพยาบาล บอกว่าหนูอยากตาย แล้วเขาก็บอกว่ารอแป๊ปนึง แล้วก็ให้ฟังเสียงรอสายอยู่ ประมาณ 5 นาทีได้ ก็บอกว่าพอดีไม่มีแผนกนี้ ต้องโอนสายไปให้โรงพยาบาลอื่น ถ้าในขณะนั้นหนูตัดสินใจว่าหนู จะจบล่ะ คือต้องการความช่วยเหลือแล้ว คือร้องไห้เพื่อขอความช่วยเหลือ ในความคิดตอนนั้นคิดว่าคนที่ จะช่วยเราได้คือคุณหมอ ที่จะช่วยรักษาและประคั บประคองเรื่องสภาพจิตใจในตอนนั้ น โทรไปประมาณ 5 โรงพยาบาล อีกโรงพยาบาลหนึ่งบอกว่าอีก 3 เดือนค่อยมาทำการนัดใหม่เพราะคิ วไม่ว่าง ก็คือถ้าเป็นตอนนั้นหนูคงไม่ได้ อยู่แล้ว แต่หนูก็โทรไปจนได้โรงพยาบาลที่ รักษาตัว และก็ดีขึ้นนี้แล้วคะ

แต่ก่อนหน้านั้นไม่ได้ปรึ กษาแพทย์อย่างเป็นทางการ ?

ไอซ์ ปรีชญา : ปรึกษาค่ะ ปรึกษามาโดยตลอดและพยายามที่ จะสู้กับมัน แย่แค่ไหนจะดาวน์แค่ไหนเราสู้ แต่โรคนี้มันต้องรั กษาและทดลองยาไปเรื่อยๆ เป็นระยะๆ ถึงจะรู้ผลว่าเป็นยังไง ในช่วงที่ไอซ์รักษาก่อนหน้านี้ ก็มีการแพ้ยาบ้าง ถึงขั้นที่เห็นภาพหลอน เป็นภาพที่น่ากลัว ไม่รู้อาจจะอยู่ในจิตใต้สำนึ กเราหรืออะไรก็แล้วแต่ มันเป็นสัตว์ประหลาด เป็นปีศาจเป็นเงา เป็นลักษณะที่สัมผัสได้ด้วย เหมือนกับว่ามันเชื่อมโยงกับเส้ นประสาท แล้วเราก็รู้สึกถึงสิ่งที่ มากระทบกับผิวเราด้วย อาการแพ้มันเกิดจากว่าต้ องลองทานยาไปก่อนสัก 1-2 อาทิตย์ถึงจะทราบว่าเราถูกกั บยาตัวนี้ไหม ผ่านไปอาทิตย์แรกไม่เป็นไร อาทิตย์ที่สองเห็นภาพหลอน หลังจากนั้นก็ยังทานตัวเดิมอยู่ เราไม่รู้ว่าแพ้ สุดท้ายกรามค้าง ตาเหลือกกลับไปข้างหลัง สภาพนั้นเลยค่ะ ยังกลัวตัวเองเลยว่าเป็นไปได้ ขนาดนั้น แล้วก็ต้องเข้า ICU เพื่อฉีดยา

ผ่านตรงจุดนั้นมาได้ เพื่อนก็เป็นจุดสำคัญที่ช่ วยทำให้เรากลับมา ?

ไอซ์ ปรีชญา : เพื่อนค่ะเป็นจุดสำคัญ ต้องบอกอย่างนี้ว่าพื้นที่ ปลอดภัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน คือบางคนพื้นที่ปลอดภัยอาจจะเป็ นครอบครัว สำหรับไอซ์อาจจะเป็นเพื่อนหรื อบางทีอาจจะเป็นคนไกลตัวไอซ์ มากๆ เลยที่เราปรึกษาคุยด้วย หลังจากที่ไอซ์รักษาตัวเสร็ จพอออกมาเราก็มีทัศนคติที่เปลี่ ยนไป เริ่มเห็นแสงปลายอุโมงค์ เริ่มอ่านหนังสือเยอะขึ้น แล้วก็มีการเรียนจิตวิทยาให้เข้ าใจตัวเองมากขึ้น พอออกมาทุกอย่างเปลี่ยนเหมือนฟ้ ามันสว่างจากสิ่งที่มันมืด จากที่รู้สึกว่าไม่ไหวไม่ อยากอยู่แล้วแต่พอเราออกมาได้รั บการรักษา เหมือนเราได้ศึกษาตัวเองได้เข้ าใจตัวเราเองมากขึ้น พลังใจเราก็ค่อยๆฟูขึ้น พอออกมาก็มีความรู้เกี่ยวกับเรื่ องตรงนี้มากขึ้น

ตอนนี้อยู่กับมันยังไง ?

ไอซ์ ปรีชญา : ก็ยังอยู่ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ว่าเราต้องรู้เท่าทั นอารมณ์ตัวเองมากขึ้น อารมณ์เป็นสิ่งที่กระตุ้ นการกระทำหรือความคิดต่างๆ เขาเรียกว่าเรียนรู้ที่จะอยู่กั บปัญหา คือปัญหาของเราไม่ได้ หายไปไหนและไม่สามารถถูกแก้ ไขได้ แต่ไอซ์เรียนรู้ที่จะอยู่กับปั ญหา โดยที่เราไม่ได้เศร้าด้วยนะ โดยที่เราเข้าใจ การที่เราเป็นแบบนี้จริงๆ แล้วมันก็มีข้อดีนะ มันไม่ได้มีแค่ข้อเสียอย่างเดี ยว การเป็นโรคนี้เราจะเข้าใจผู้อื่ นมากขึ้น เราจะแคร์คำพูดการกระทำคนอื่น แล้วเวลาของเราก็จะนานกว่าชาวบ้ านเขา ความทุกข์จะคูณไปเลย เพราะฉะนั้นเราจะเข้าใจความรู้ สึกของคนอื่นได้ดี

วันนี้มีใครที่เข้ามาเยียวยาหรื อว่าดูแลเป็นพาร์ทเนอร์ชีวิ ตเราไหม ?

ไอซ์ ปรีชญา : ตอนนี้หนูโสดค่ะ แล้วก็แฮปปี้กับชีวิตโสด เพราะว่าเราได้อยู่กับตั วเองมากขึ้น แล้วก็มีเวลาทำกิจกรรมที่ เราชอบมากขึ้น ตอนนี้กลับมามีแพชชั่ นในการทำงาน

อ่านเพิ่มเติม


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)