สถาบันการแพทย์สหรัฐฯ และจีนกำลังดำเนินงานร่วมกันเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ อาจพร้อมสำหรับการทดสอบระยะแรกในคนในอีก 3 เดือน การวิเคราะห์เบื้องต้นบ่งชี้ว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีลักษณะคล้ายคลึงกรดอะมิโนในไวรัสซาร์ส
วันที่ 25 ม.ค.2563 ดร.แอนโทนี เฟาซี (Dr. Anthony Fauci) ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อสหรัฐฯ (National Institute of Allergy and Infectious Diseases) และแคทเทอรีน เพาลุส (Catharine Paules) ผู้ช่วยศาสตราจารย์แผนกโรคติดเชื้อแห่งมหาวิทยาลัยเพนน์สเตต ระบุในบทความที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์จามา (JAMA) ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนับตั้งแต่การระบาดของโรคซาร์สใน ปี 2003 ได้ส่งผลให้การพัฒนาวัคซีนเป็นไปอย่างรวดเร็ว นักวิจัยใช้ข้อมูลจากการถอดลำดับจีโนมของไวรัสซาร์ส มาเป็นประโยชน์สำหรับการทดสอบวัคซีนดีเอ็นเอระยะที่ 1 ภายใน 20 เดือน และย่นระเวลาจนเหลือ 3.25 เดือนสำหรับโรคไวรัสอื่นๆ
อย่างไรก็ดี นักวิจัยหวังว่าพวกเขาจะสามารถรับมือกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้เร็วยิ่งขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) หรือ เมสเซนเจอร์ อาร์เอ็นเอ (messenger RNA) แอนจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติงเอนไซม์ 2 (ACE2) เป็นตัวรับเด่นสำหรับไกลโคโปรตีนที่มีโรคซาร์สในมนุษย์ การวิเคราะห์เบื้องต้นบ่งชี้ว่าไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มีลักษณะคล้ายคลึงกรดอะมิโนในไวรัสซาร์ส และอาจใช้แอนจิโอเทนซิน-คอนเวอร์ติงเอนไซม์ 2 เป็นตัวรับ
นักวิจัย เผยว่า สิ่งนี้อาจมีนัยสำคัญต่อการคาดการณ์การแพร่ระบาดของโรคในอนาคต ก่อนหน้านี้การแพร่ระบาดของโรคในมนุษย์อันมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสถูกมองว่าไม่ใช่เรื่องที่จะส่งผลร้ายแรง สำหรับโรคติดเชื้อเกิดใหม่ และไม่ได้เป็นวาระสำคัญที่ต้องเตรียมการพร้อมรับมืออย่างสม่ำเสมอ
สถาบันการแพทย์สหรัฐฯ และจีนกำลังดำเนินงานร่วมกันเพื่อพัฒนาวัคซีนต่อต้านไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งส่งผลให้มีผู้ป่วยที่ยืนยันผลว่าเป็นโรคปอดอักเสบในจีนแล้ว 830 รายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (23 ม.ค.) ในวันเดียวกันองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าปัจจุบันยังเร็วเกินไปที่จะประกาศให้การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในจีนเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ (PHEIC) อย่างไรก็ตามองค์การฯ ได้ประกาศเตือนว่าจำนวนผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้นอีกมาก เนื่องจากยังทราบข้อมูลเกี่ยวกับเชื้อไวรัสไม่มากนัก
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก WorkpointNews