ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้เผย ระดับความรุนแรงของโรค โควิด-19 ตามคำแนะนำของจีน โดยระดับความรุนแรง มี 4 ระดับด้วยกัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ และ ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโรคไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์จุฬาและสภากาชาดไทย เผยว่า ระดับความรุนแรงของโรค เรียบเรียงและปรับจากคำแนะนำของจีนฉบับที่เจ็ด (จีนใช้ CT scan ปอดทั้งหมด ในที่นี้ใช้เอกซเรย์ปอดธรรมดาแทน ซึ่งมีความไวน้อยกว่ามาก)

17/3/63
1-อาการน้อย คือมีไข้แต่ใช้ยาลดไข้แล้วดีขึ้น อาจมีไอบ้างแต่ไม่เหนื่อย (CT Chest หรือ CXR ปกติ ถ้าทำได้)
2- อาการปานกลางคือมีไข้และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ หายใจเร็วแต่น้อยกว่า 30 ครั้งต่อนาที เริ่มมีเพลียแล้วแต่ยังพอช่วยตัวเองได้ พอกินข้าวกินน้ำได้ (CT chest หรือ CXR ผิดปกติ) เป็นระยะที่ควรเริ่มให้ยาต้านไวรัส

3- อาการรุนแรง
ผู้ใหญ่มีอาการข้อใดข้อหนึ่ง หายใจเร็วมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ครั้งต่อนาที ความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 93% ขณะพักPaO2/FiO2 น้อยกว่าหรือเท่ากับ 300 มิลลิเมตรปรอท เอกซเรย์หรือ CTปอดเลวลงอย่างต่อเนื่อง มากกว่า 50% ภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมง

เด็ก มีข้อใดข้อหนึ่ง หายใจเร็วมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ครั้งต่อนาทีสำหรับเด็กอายุน้อยกว่าสองเดือน มากกว่าหรือเท่ากับ 50 ครั้งต่อนาทีสำหรับเด็กอายุสองถึง 12 เดือนมากกว่าหรือเท่ากับ 40 ครั้งต่อนาที สำหรับเด็กอายุหนึ่งถึงห้าปี มากกว่า 30 ครั้งต่อนาที สำหรับเด็กอายุมากกว่าห้าปี

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับไข้และกำลังร้องไห้หรือไม่ ความอิ่มตัวของออกซิเจนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 92% จากการวัดที่นิ้วขณะพัก หายใจลำบาก ดูจากการทำงานของกล้ามเนื้อหายใจ เขียว และมีหยุดหายใจเป็นพักๆ ซึมและมีอาการชัก ป้อนนมและอาหารลำบากและมีลักษณะขาดน้ำ

4-อาการวิกฤต มีข้อใดข้อหนึ่ง เพราะว่าการหายใจล้มเหลวแต่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ช็อค มีอวัยวะระบบอื่นล้มเหลวที่ต้องการการดูแล ICU
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha