สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาด อย่างรวดเร็ว วันนี้ พบผู้ป่วยใหม่ 38 ราย สะสม 2,258 ราย กระจายใน 66 จังหวัด และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม 1 ราย รวมเสียชีวิตแล้ว 27 ราย ด้านบึงกาฬ ผู้ว่าฯคุมเข้มสั่งล็อคดาวน์จังหวัด 7- 30 เม.ย. 63
7 เม.ย. 63 ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดคำนึงเห็นว่าจังหวัดบึงกาฬ ไม่ใช่เส้นทางหลักในการสัญจรของประชาชนในการเดินทางระหว่างจังหวัด และหากมีการเดินทางข้ามเขตจังหวัดโดยไม่มีความจำเป็นจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อแพร่ขยายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ มีความตระหนักในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด- 19 จึงมีความจำเป็นในการยกมาตรการเฝ้าระวังวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออันตราย และดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬเพิ่มขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และข้อ 7(1) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 ฉบับที่ (1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2563
ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อบึงกาฬ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 จึงออกคำสั่งดังต่อไปนี้
1.ห้ามบุคคลใดเดินทาง- ออก ในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ
- เว้นแต่ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค การควบคุมป้องกันโรค การขนส่งสินค้าที่จำเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตร ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ แก็สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง การไปรษณีย์ อุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ยานพาหนะเพื่อการขนส่งยา อุปกรณ์วัสดุ เวชภัณฑ์เคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ ยานพาหนะเพื่อการฉุกเฉินทางการแพทย์ กู้ชีพ กู้ภัยฉุกเฉิน รถพยาบาล ยานพาหนะ เพื่อการขนส่งเงินของธนาคาร สถาบันการเงิน ยานพาหนะเพื่อส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรก่อสร้าง ชิ้นส่วนประกอบซ่อมบำรุง ยานพาหนะเพื่อขนส่งพัสดุและสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
2. บุคคลทั่วไปที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องเดินทางเข้า - ออกจากพื้นที่บึงกาฬต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลดังต่อไปนี้
- 2.1.กรณีเดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอท้องที่หรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย ในท้องที่ด่านตรวจคัดกรองตั้งอยู่ ทั้งนี้ คำขออนุญาตให้เป็นไปตามแบบฟอร์ม 2 ท้ายคำสั่งนี้
- 2.2 ) กรณีเดินทางจากพื้นที่เข้าบึงกาฬ ต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอท้องที่หรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย ในท้องที่ที่ผู้ขออนุญาตมีภูมิหรือมีถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ คำขออนุญาตให้เป็นไปตามแบบฟอร์ม 2 ท้ายคำสั่งนี้
3.กรณีเป็นราชการ พนักงานราชการ และถูกจ้างของหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานบริษัท หรือลูกจ้างของบริษัท
- ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนต้นสังกัดออกหนังสือรับรองการปฏิบัติงานที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้า-ออก พร้อมบัตรประจำตัวราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงาน แสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจเพื่อให้พิจารณาให้บุคคลนั้นเดินทางเข้า - ออกในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ
4.กรณีบุคคลใด (ยกเว้นบุคคลตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3)ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และเคยผ่านการกักตัว ณ สถานที่กักตัวที่รัฐบาลจัดให้ (State Quarantine) หรือผ่านการกักตัว ณ สถานที่ที่จังหวัดอื่นมาแล้ว (Local Quarantine) ให้นายอำเภอใช้มาตรการในการกักตัว ณ บนของตนตามภูมิลำเนาของบุคคลนั้น (Home Quarantine) หรือสถานที่อื่นที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบึงกาฬกำหนด
5.ห้ามมีให้รถโดยสารสาธารณะ เดินทางเข้า - ออก ในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ดังนี้
- 5.1. ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระงับการเดินรถเส้นทาง หมวด 2 (กรุงเทพ- ต่างจังหวัด) และหมวด 3 (ระหว่างจังหวัด) ที่มีต้นทางหรือปลายทางในเขตพื้นที่บึงกาฬ
- 5.2. ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระงับการเดินเข้าออกในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ
ทั้งนี้ ให้บุคคลที่ได้รับยกเว้นให้เดินทางเข้า -ออก บึงกาฬจังหวัดบึงกาฬอยู่ภายใต้บังคับของข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 7) และ (ฉบับที่ 2) และต้องปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดโดยเคร่งครัด โดยการอนุญาตให้บุคคลเดินทางเข้า - ออกพื้นที่จังหวัดบึงกาฬนั้น ให้เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจจัดทำบัญชีควบคุมการเดินทางเป็นประจำทุกวัน ตามแบบฟอร์ม 3 ท้ายคำสั่งนี้ และให้ส่งนายอำเภอประจำห้องที่ที่จุดตรวจนั้นตั้งอยู่เก็บไว้เป็นหลักฐาน
เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่กินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25588 และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกฉิน พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก อีจัน