คุณหมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้โพสต์เฟซบุ๊ก กลยุทธ์ 4 ข้อในการตรวจหาโควิด-19 โดยมีตั้งแต่อาการเข้าข่าย และการเฝ้าระวัง เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขนำไปใช้เพื่อประโยชน์สูงสุด เพื่อฝ่าวิกฤตไวรัสโควิด-19 ไปได้อย่างราบรื่น
จากข้อมูลเรื่องการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบเชิงรุกของจังหวัดยะลา จนพบผู้ป่วย 40 ราย และต่อมามีรายงานว่าจำเป็นต้องตรวจทานใหม่อีกครั้ง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดในเรื่องของผลแล็บ ล่าสุดคุณหมอธีรวัฒน์ ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กไว้ว่า
กลยุทธ์ในการหาโควิด 19 โดย ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
5/5/63 สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ข้อมูลดังต่อไปนี้รวบรวมและเรียบเรียงจาก คุณหมอแก้ว ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค และมีความเห็นเพิ่มเติม บ้างในแง่อาการ และวิธีการตรวจ
1- มีอาการ แบบน่าจะชัวร์หรือจับตามองพิเศษ
ได้แก่อาการทางระบบทางเดินหายใจ ไข้ เพลีย
ระบบอื่นๆ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส อาการทางผิวหนัง ตุ่มที่ฝ่าเท้าและนิ้วเท้าหรือผื่นลักษณะสานเป็นตาข่ายแดง อาการทางตาเช่น ตาแดงน้ำตาไหลเคืองตา ที่เป็นใหม่หรือมากจากเดิมไม่หายสักทีอาการทาง เส้นประสาทใบหน้า หรือแขนขาทั้งตัว ปวดศีรษะซึม อธิบายจากสาเหตุอื่นไม่ได้
2- การเฝ้าระวัง (Sentinel surveillance)
ในกลุ่มคนที่ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ และ/หรือในขณะเดียวกัน สามารถแพร่เชื้อได้โดยไม่รู้ตัว และกลุ่มฉุกเฉิน
ได้แก่
หมอ พยาบาลและเจ้าหน้าที่ ที่แม้แต่มีอาการน้อยนิด
คนไข้ที่มีอาการตามข้อหนึ่งแม้มีอาการน้อยนิด
คนไข้ที่ต้องทำการผ่าตัดหรือคลอดหรือต้องมีการปฏิบัติการฉุกเฉิน
ครู และผู้ปฏิบัติอาชีพสาธารณะ เช่นคนขับรถประจำทาง
และการเฝ้าระวังสามารถขยายขอบเขตเพื่อสร้างความมั่นใจ จากกลุ่มที่มีอาการหวัดและต้องสงสัยทำการตรวจในขณะเดียวกันกลุ่มอาการหวัดที่ไม่ต้องสงสัย อาจลองทำการตรวจดูว่าติดเชื้อโควิด 19 หรือไม่ ด้วยเพื่อความมั่นใจ
3- การตรวจเชิงรุก Active case finding
ควรต้องมีการชี้เป้า จากข้อมูลทางระบาดวิทยาถึงพื้นที่ สถานที่ที่มีกิจกรรม และมีการติดเชื้อซ้ำซากและต้องมีการตามถึงที่อยู่ สถานที่ทำงานสถานที่พบปะ กลุ่มคนทั้งหมดในที่นั้นๆ ในช่วง 14 ถึง 28 วัน
4- เชิงรุกประเมินเพื่อความสง่างาม
ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจในพื้นที่ขนาดใหญ่โดยต้องคำนึงถึงวิธีการตรวจกระบวนการตรวจที่มีคุณภาพ ประหยัด
ทั้งนี้การหาเชื้อ วิธีที่ทางศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่พัฒนาขึ้น โดยการตรวจพร้อมกัน 10 ตัวอย่างโดยที่ถ้าการติดเชื้อ (prevalence) ไม่หนาแน่นมากเกินไปจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 80%
และการตรวจหาแอนติบอดี ด้วยวิธี พิเศษ ที่สามารถบอกได้ถึงการติดเชื้อ และชนิดของแอนติบอดีย์ ว่าเป็นชนิดสู้กับไวรัสได้หรือไม่แต่ยังต้องมีการติดตามว่ามีความเก่งกาจระดับใด และจะสร้างความมั่นใจให้กับพื้นที่ได้มากเพียงใดในอนาคตอันใกล้
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก