วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567
ทันตแพทยสภา ชี้แจงแล้ว
SHARE

ทันตแพทยสภา ชี้แจงแล้ว

โพสต์โดย Clover Jarm เมื่อ 19 สิงหาคม 2563 - 14:14

จากกรณี นางกฤติกา ฤทธิขันธ์ อายุ 34 ปี ชาว ต.โพธิ์ศรีสว่าง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด ประสบปัญหากินอาหารอะไรก็ไม่รู้รสชาติใดๆ ลิ้นชา ต้องเข้าพบแพทย์เฉพาะทางโดยตลอด จากการที่ เมื่อ 5 ปีที่แล้วเข้ารับผ่าตัดรักษาอาการฟันคุด และลืมหัวกรอฟันทิ้งไว้ ล่าสุด ทันตแพทยสภา ออกมาชี้แจงแล้ว

ทันตแพทยสภา ชี้แจงแล้ว

นางกฤติกา กล่าวว่า "ในช่วง 5 ปี ที่ รพ.แห่งหนึ่ง ใน จ.นราธิวาส ทำการผ่าตัดรักษาอาการฟันคุด และลืมหัวกรอฟันทิ้งไว้ ก็มีการร้องเรียนไปแล้วหลายหน่วยงานเรื่องก็เงียบ จนกระทั่งย้ายกลับมาที่มุกดาหารตามสามี ก็เข้าสู่การตรวจร่างกายอีกครั้งเพราะทนต่ออาการไม่ไหว จนกระทั่งพบว่ามีหัวกรอฟันหักติดในเหงือก และทีมแพทย์คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มข.ได้ทำการผ่าตัดรักษาจนแล้วเสร็จ เมื่อปี 2562 จากนั้นก็ได้ร้องเรียนไปยัง สคบ. ตามระบบอย่างถูกต้อง จนมีการสอบสวน และในที่สุดก็ได้รับคำตอบว่าสำนักงานสาธารณสุข จ.นราธิวาส ก็ไม่ได้รับการเยียวยาช่วยเหลือหรือรับผิดชอบใดๆ อ้างแต่กฎระเบียบและวิธีการทางการแพทย์มาตลอด มองว่าเราเป็นชาวบ้านจะทำอะไรกับประชาชนก็ได้ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ทุกวันนี้ร่างกายก็อยู่ในสภาพที่ไม่ไหว คล้ายกับคนอัลไซเมอร์ อารมณ์แปรปรวน ระบบประสาทเสียหาย ลิ้นชา ระบบรับรสก็ไม่มี ต้องเทียวไปแต่ รพ. เพื่อพบแพทย์ตลอด ครอบครัวจึงได้หารือกันในการทวงสิทธิ์อันชอบธรรมที่ควรได้รับจากการกระทำที่ผิดพลาดของระบบสาธารณสุขเมืองไทยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น"

ทันตแพทยสภา ชี้แจงแล้ว
ทันตแพทยสภา ชี้แจงแล้ว

ล่าสุด Thai Dental Council ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กชี้แจงแล้วว่า "ทันตแพทย์ที่ทำการผ่าฟันคุดให้ ไม่ได้ลืมหัวกรอฟันไว้ หากเป็นเหตุสุดวิสัยที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างทำการรักษา ทำให้หัวกรอฟันหักค้างอยู่บริเวณนั้น ทั้งนี้ทันตแพทย์ท่านนั้นได้แจ้งผู้ป่วยให้รับทราบแล้วว่า มีหัวกรอฟันหักค้างอยู่และไม่สามารถนำออกมาได้ภายในวันนั้น โดยหัวกรอที่หักค้างนี้ เป็นอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อมาแล้ว หากไม่มีอาการใดภายหลัง สามารถปล่อยไว้ได้

ส่วนอาการชาภายหลังการผ่าฟันคุด อาจเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีเครื่องมือหัก โดยอาการชาดังกล่าว เกิดจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณฟัน แก้ม ลิ้น และริมฝีปากเกิดอาการบาดเจ็บ จากแรงกด หรือ แรงกระทบกระเทือนจากการผ่าตัดในช่องปาก ซึ่งสามารถพบได้ในการผ่าฟันคุดในตำแหน่งที่อยู่ลึกมากหรือการผ่าตัดกระดูกขากรรไกรและใบหน้า แต่อาการชาดังกล่าวไม่ได้มีผลต่อการยิ้ม การพูด ไม่ได้ทำให้หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว หรือการได้ยินลดลงแต่อย่างใด โดยอาการชาจะค่อยๆบรรเทาทุเลาลง ซึ่งอาจต้องใช้เวลาในการรักษา ทั้งนี้ขึ้นอยู่แต่ละบุคคล

ทันตแพทยสภา ชี้แจงแล้ว

 

สำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย เนื่องจากเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ทำฟันมีขนาดเล็กมีโอกาสหักได้ หากผู้ป่วยท่านใดพบเจอเหตุการณ์ในลักษณะนี้สามารถปรึกษาทันตแพทย์ที่โรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเพราะมีเครื่องมือที่ทันสมัยสามารถเห็นสิ่งแปลกปลอมได้ชัดเจนมากกว่า สำหรับกรณีนี้ หัวกรอที่หักค้างอยู่ ได้นำออกมาเรียบร้อยแล้ว โดยคณะอาจารย์จากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น"

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก

อีจัน

Thai Dental Council


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com