วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567
เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย
SHARE

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

โพสต์โดย Fairy Cat เมื่อ 15 ธันวาคม 2563 - 15:01

หลังจากมีกระแสผู้ประกอบการร้านค้าต่างๆ เกิดความสับสนเกี่ยวกับธนบัตรที่ออกใหม่ ทำให้หลายท่านต้องระวังในการรับและทอนเงินเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพ่อค้าแม่ค้า ที่ต้องรีบขายรีบทอนเงิน อาจไม่ได้มีเวลาได้สังเกตมากนัก

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

ล่าสุดวันนี้ 15 ธ.ค.2563 ทางสำนักข่าวอีจัน ได้ รวบรวบข้อมูลการสังเกตความเเตกต่าง ของเเบงก์ร้อยใหม่เเละเเบงก์พันเเบบเดิมมาให้ทุกท่านได้ทราบ โดยข้อมูลจากธนาคารเเห่งประเทศไทยระบุว่า จุดสังเกต 5 จุดของ ธนบัตรที่ระลึก100 บาท เนื่องพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 มีดังนี้

1. ตัวเลขแจ้งชนิดราคา (ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง)

2. ธนบัตรสีเหลืองทอง ( ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง)

3. ตราพระราชพิธีฯ

4. ตัวเลขแจ้งชนิดราคาในดอกไม้

และ 5. ภาพด้านหลัง ภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร โดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค , การเสด็จออก ณ สีหบัญชร , และภาพพสกนิกรเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ถวายพระพรชัยมงคล ทั้ง 3 ภาพนี้อยู่ด้านหลัง แบงค์100ใหม่ทุกฉบับ

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแบงค์เก่า หรือแบงค์ใหม่ การสังเกตธนบัตรว่าเป็นของจริงหรือของปลอมนั้น จำไว้ 3 อย่างคือ สัมผัส ยกส่อง พลิกเอียง ส่วนวิธีสังเกตเเบงก์พันเเบบเดิม ที่ขณะนี้เรามีการใช้จ่ายอยู่ 2 เเบบคือ ธนบัตรแบบ 17 ธนบัตรแบบ 16​

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย
เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

1. กระดาษธนบัตร ทำจากกระดาษที่มีใยฝ้ายเป็นส่วนป​ระกอบหลัก จึงมีความแกร่ง ทนทาน และไม่ยุ่ยง่าย เมื่อจับสัมผัสจะให้ความรู้สึกแตกต่างจากกระดาษทั่วไป 

2. ลายพิมพ์เส้นนูน เกิดจากการพิมพ์ โดยใช้แม่พิมพ์ที่มีร่องหมึกลึก และใช้แรงกดพิมพ์สูง หมึกพิมพ์จึงนูนขึ้นมาจากเนื้อกระดาษ ภาพและลายเส้นที่ได้จึงมีรายละเอียดคมชัด ซึ่งใช้ในการพิมพ์พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ คำว่า "รัฐบาลไทย" ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วมือ ​จะรู้สึกสะดุด

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

​3. ลายน้ำ ​เป็นส่วนหนึ่งในเนื้อกระดาษ เกิดขึ้นจากขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ทำให้เนื้อกระดาษมีความหนาบางไม่เท่ากันจนเกิดเป็นภาพตามต้องการ ลายน้ำในธนบัตรไทยเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อยกส่องกับแสงสว่างจะเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งด้านหน้าและด้านหลังของธนบัตร นอกจากนี้ ลายน้ำยังมีตัวเลขชนิดราคารูปลายไทยที่โปร่งแสงเป็นพิเศษ

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

4. ตัวเลขแฝง ตัวเลขแจ้งชนิดราคาซ่อนอยู่ในลายประดิษฐ์ มองเห็นได้เมื่อเอียงธนบัตรเข้าหาแสงสว่าง

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย
เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

5. หมึกพิมพ์พิเศษ ลายดอกประดิษฐ์ ชนิดราคา 500 บาท และ 1000 บาท พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์แม่เหล็กสามมิติเปลี่ยนสีได้ ภายในมีตัวเลขแจ้งชนิดราคา เมื่อพลิกธนบัตรขึ้นลงหรือพลิกซ้ายขวา จะเห็นการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนสลับสี ส่วนชนิดราคา 100 บาท ลายดอกประดิษฐ์พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเมื่อพลิกธนบัตรไปมาจะเห็นเป็นประกาย ลวดลายจัดเรียงกันในแนวตั้ง เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเห็นเป็นสีเหลือบเหลือง

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

6. แถบสี เกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตกระดาษโดยใช้กรรมวิธีพิเศษที่ฝังแถบพลาสติกขนาดเล็กเคลือบด้วยสีโลหะไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง และมีบางส่วนของแถบปรากฎให้เห็นเป็นระยะ จะเปลี่ยนสีเมื่อเปลี่ยนมุมมอง ภายในแถบมีตัวเลขและตัวอักษรแจ้งชนิดราคาขนาดเล็ก เมื่อยกธนบัตรส่องดูกับแสงสว่างจะมองเห็นอ่านได้ชัดเจน​

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

7. แถบฟอยล์ภาพ 3 มิติ ผนึกไว้ตามแนวตั้ง ภายในมีภาพที่เป็นมิติ เมื่อพลิกเอียงธนบัตรไปมาจะเห็นองค์ประกอบต่างๆ ในแถบฟอยล์เคลื่อนไหว และเปลี่ยนสีสะท้อนแสงวาววับสวยงาม

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

8. ลักษณะพิเศษภายใต้รังสีเหนือม่วง พิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษเรืองแสง เป็นหมึกพิมพ์ซึ่งสามารถมองเห็นการเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้รังสีเหนือม่วง ลายประดิษฐ์บริเวณกลางธนบัตร ตัวเลขแจ้งชนิดราคา หมวดเลขหมายจะเรืองแสง และเส้นใยที่ฝังในเนื้อกระดาษจะเรืองแสงเป็นสีเหลือง แดง และน้ำเงิน

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

ภาพธนบัตรและข้อความในเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 การนำภาพและข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร/เป็นทางการ จาก ธปท.

ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

สำหรับใครที่ สับสนระหว่างธนบัตรที่ระลึกฯ ชนิดราคา 100 บาทกับ ธนบัตรหมุนเวียน ชนิดราคา 1000 บาท ปัจจุบันนั้น มีความแตกต่างที่ ประชาชนสามารถสังเกตได้ชัดเจน เช่น ขนาดธนบัตรหมุนเวียน 1000 บาทมีขนาดความยาวกว่า 1.2 เซนติเมตร นอกจากนี้ ธนบัตรทั้ง 2 แบบ มีตัวเลขบอกชนิดราคาที่มุมธนบัตรด้านล่างอย่างชัดเจน อนึ่ง ประชาชนสามารถดูคุณสมบัติโดยละเอียดของธนบัตรที่ระลึกได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย

เเบงก์ชาติ เปิดวิธีสังเกตจุดเด่นเเบงก์ใหม่ เลี่ยงการสับสนการใช้จ่าย

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก อีจัน


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com