วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567
กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย
SHARE

กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย

โพสต์โดย Fairy Cat เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2564 - 16:42

วันนี้ (6ก.พ. 64) ทางเพจ ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกมาประกาศแนวทางในการรับมือกับช้างที่ตั้งด่านลอย กินพืชผลท้ายรถที่สัญจรไปมา โดยระบุข้อความว่า "หยุดพฤติกรรมเลียนแบบ!!! เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน​ ประจำจุดจัดการจราจรแนะนำผู้ใช้รถ​ หลังมีช้างป่าตั้งด่านดักกินพืชผลทางการเกษตรท้ายรถบรรทุก

กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย

กรณีช้างป่าออกมาบนถนนในช่วงที่มีรถบรรทุกพืชผลทางการเกษตรสัญจร​มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง​ ย้อนไปเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว หลายท่านคุ้นชื่อ​ ”พี่ด้วน ด่านลอย” ช้างป่าสีดอตัวแรกที่เรียนรู้และปรับตัว จากกลิ่น เสียงและแรงสั่นสะเทือนของรถขนาดใหญ่ รวมถึงเศษพืชเกษตรกรรมที่หล่นร่วงบนท้องถนน​ ทำให้พี่ด้วนต้องออกมาตั้งด่าน​ เพื่อเรียกเก็บพื้ชผลในรถบรรทุก​ จนทำให้เจ้าหน้าที่ต้องออกมาควบคุมและให้คำแนะนำ​ รวมถึงกำหนดช่วงระยะเวลาในการใช้ถนนเพื่อความปลอดภัยของทั้งคนและช้าง

กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย

สำหรับช้างสีดอ ก็คือ​ ช้างตัวผู้ที่ไม่มีงา การต่อสู้เพื่อแย่งถิ่นอาศัยกับช้างป่ามีงาย่อมเสียเปรียบ การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าจึงเป็นทางออกหนึ่งในการอยู่รอด อย่างไรก็ตามธรรมชาติก็ให้ช้างสีดอมีโหนกหัวที่ใหญ่ กระโหลกใหญ่ มันสมองใหญ่ รอยหยักเยอะ คิดและฉลาดกว่าช้างมีงา การคิดค้นหาทางออกในการเอาตัวรอดเช่นนี้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ไม่งั้น ช้างสีดอคงสูญพันธุ์ไปแล้ว

กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย

ต่อมาพฤติกรรมดังกล่าวไม่เพียงแต่ช้างสีดอเท่านั้น​กับพบว่ามีช้างป่าตัวอื่นเลียนแบบและทำตามเช่นกัน โดยช้างป่าจะออกมาบนถนน เปิดทางให้รถวิ่งเลนเดียว พอรถจะวิ่งผ่าน ก็เดินเข้ามาขวางหน้ารถ​ ก่อนค่อย ๆ เดินเลียบไปข้างรถ ดึงอ้อยและมันสำปะหลังออกมากินอย่างสบายใจ บริเวณดังกล่าวกลายเป็นด่านตรวจไปโดยปริยาย

กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย

เมื่อเจ้าด้วนได้ล้มลง​ ผลการชันสูตรของทีมสัตวแพทย์​ พบบาดแผลมากมายจากการต่อสู้จากช้างมีงา เพื่อตัดคู่แข่งในการครองพื้นที่ตั้งด่านบนถนน พอต่างฝ่ายต่างเรียนรู้ แต่ผลชันสูตรที่น่าสนใจน่าจะเป็นเรื่องสุขภาพของ​ "พี่ด้วนด่านลอย" หลังสัตวแพทย์ผ่าซาก​ คาดว่าพี่ด้วนมีสารพิษตกค้างในร่างกายจำนวนมาก​ อาจเนื่องมาจาดการกินพืชที่มีการตกค้างของสารเคมีต่อเนื่อง เป็นเวลานาน หรือไม่ก็พิษในพืช ส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุล เมื่อร่างกายไม่แข็งแรงก็เสียเปรียบช้างป่าตัวอื่น 

กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย

ล่าสุดเจ้าหน้าที่พบช้างป่า​ 4​ ตัว กระจายตามจุดต่างๆ บางจุดก็เดินมารุมแย่งกัน ต่อสู้กัน เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เพื่อความปลอดภัยเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไนที่ประจำด่านทั้ง​ 2​ ด้าน ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็วในการจัดจราจรและให้ความปลอดภัยเมื่อเจอช้างดักบนถนน หลายคันหยุดให้ช้างรื้อค้น​ เจ้าหน้าที่จึงแนะนำให้ผู้ขับขี่ขับรถไปหยุดข้างหน้า เมื่อสังเกตุว่าช้างเดินมาข้างรถเพื่อที่จะหยิบพืชในรถ ถ้าด้านหน้ารถถนนว่างก็ขับรถออกไปได้เลย โดยไม่ต้องกระชากตัวแรง แต่ถ้ามองกระจกหลังพบว่าช้างป่าตัวยังเหนี่ยวรถไว้ ก็อย่าพึ่งออกตัว รอจังหวะช้างผ่อนแรงดึง แล้วค่อย ๆ ขับผ่านไป

กรมอุทยานแนะ วิธีเลี่ยง เวลาเจอช้างตั้งด่านลอย

แต่อย่างไรก็ ตามในจุดที่มีช้างป่าออกมาบนถนน จะมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้รถใช้ถนน​ ขอให้ทุกท่านปฏิบัติตามคำแนะนำ​อย่างเคร่งครัด​ ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความปลอดภัย​ของทุกท่านและยังเป็นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันของคนกับช้างป่า

 ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com