วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567
อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน
SHARE

อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน

โพสต์โดย Fairy Cat เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2564 - 13:14

เป็นข่าวฮือฮาอย่างมาก เมื่อมีการค้นพบบ่อน้ำพุโซดา 2 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ประชาชนหลายท่านทั้งในและนอกพื้นที่ ตื่นเต้นกับน้ำพุแห่งนี้ บ้างก็ลองชิมรสชาดแล้ว บอกว่ามีความซ่าใกล้เคียงกับโซดาที่เราบริโภคกัน แต่อีกด้านหนึ่งก็มีคนแสดงความเป็นห่วงเรื่องของคุณภาพน้ำ ว่าเหมาะสมแก่การบริโภคอย่างปลอดภัยหรือไม่

อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน

วันนี้ (13 ก.พ. 64 ) รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำพุโซดา ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยระบุข้อความว่า "

"ห้ามนำ "น้ำพุโซดา" มาดื่มนะครับ อาจมีสารปนเปื้อน"

มีข่าวฮือฮาเรื่องที่เจอแหล่งน้ำบาดาล บริเวณห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งหลังจากเจาะลงไปหาน้ำบาดาลลึกกว่า 300 เมตร พบน้ำพวยพุ่งขึ้นมา แถมมีรสหวานซ่าคล้ายโซดา คนเอาตักดื่มกินกันใหญ่  แต่ล่าสุด มีคำเตือนออกมาแล้วว่า ห้ามนำไปดื่ม หรือเอาไปผสมเหล้าแบบโซดา เพราะอาจมีสารอันตรายปนเปื้อนอยู่ !!

อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน

1. กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้สำรวจแหล่งน้ำบาดาล ที่บ้านทุ่งคูณ หมู่ 12 ต.ห้วยกระเจา อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี (ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้งอย่างมาก ประสบภัยแล้งทุกปี) พบแหล่งน้ำพุธรรมชาติ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ มีรสซ่าคล้ายน้ำโซดา รสชาติออกหวานนิดๆ

- แหล่งน้ำนี้พบที่รอยแตกของชั้นหินแปร อยู่ลึกลงไปจากพื้นดิน 303 เมตร น้ำดังกล่าวพุ่งขึ้นมาเองในปริมาณมากกว่า 50 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง

- ทางกรมฯ จะทำระบบการกระจายน้ำแจกจ่ายประชาชนพื้นที่รอบๆ จำนวน 11 หมู่บ้าน และพื้นที่เกษตรอีก 3 พันไร่ ให้นำไปอุปโภคบริโภคและใช้สำหรับการเกษตร เพราะมีปริมาณน้ำมากพอสำหรับใช้ในช่วงฤดูแล้ง คือมีไม่น้อยกว่า 500 ล้านลูกบาศก์เมตร

อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน

- คุณสมบัติของน้ำ เบื้องต้นพบว่า มีค่าพีเอชหรือค่าความเป็นกรดด่างอยู่ที่ 6.75 (ใกล้เคียงกับน้ำธรรมดา) ไม่เจอสารพิษปนเปื้อน มีปริมาณของไบคาร์บอเนตสูง

- ผลการวิเคราะห์ จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ พบมีแคลเซียม 120 mg/l แมกนีเซียม 130 mg/l โปแตสเซียม 9 mg/l โซเดียม 76 mg/l ไบคาร์บอเนต 1,540 mg/l และคลอไรด์ 4 mg/l

- เรื่องของความซ่า เมื่อพุออกมาใหม่ๆ จะมีความซ่าอยู่ แล้วค่อยๆ ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

- สาเหตุคาดว่า บริเวณที่เก็บกักน้ำบาดาลนั้นมีหินอัคนีหรือหินร้อน ที่ทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้นมาอยู่ที่ 35 องศาเซลเซียส และยังมีหินปูน ซึ่งเมื่อโดนความร้อน จะคายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาสะสมในน้ำ (อันนี้ อ่านแล้วยังงงๆ ว่าจะเป็นอย่างนั้นจริงเหรอ -- อ.เจษฎ์)

 

2. การเกิด naturally carbonated water หรือน้ำที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นเองตามธรรมชาติ (ไม่ใช่อัดก๊าซลงไปเหมือนน้ำโซดาหรือน้ำอัดลม) สามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่พบค่อนข้างยากมาก

- สภาพทางธรณีวิทยาที่จำเพาะและหายากมากๆ สามารถสร้างน้ำที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ เรียกกระบวนการ natural carbonation ซึ่งมักเกิดจากการกระทำของภูเขาไฟ

- เริ่มจากการที่กรดคาร์บอนิก (carbonic acid) ซึ่งอาจสะสมอยู่ใต้พื้นโลกในบางจุด ได้ถูกปลดปล่อยออกมากับหินหลอมเหลวหรือแม็กม่า (magma) ที่เย็นตัวลง แล้วไปรวมตัวกับน้ำบาดาล ทำให้เกิดเป็นน้ำธรรมชาติที่มีฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์จะช่วยให้น้ำนั้นดูดซับแร่ธาตุต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากด้วย

- ดังนั้น บริเวณที่พบน้ำประเภทนี้อยู่มากๆ มักจะเป็นจุดที่เคยมีการกระทำของภูเขาไฟอย่างรุนแรงในอดีต ตัวอย่างเช่น บริเวณ Eifel ของประเทศเยอรมัน ไปจนถึงบริเวณ Badoit, Gerolsteiner, Wattwiller, Ferrarelle, และ Borsec ซึ่งเป็นแหล่งน้ำแร่ธรรมชาติที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

- น้ำแร่ยี่ห้อดังอย่าง Perrier ที่มีฟองฟู่ในตัวเองนั้น ก็เป็นตัวอย่างของน้ำแร่ที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ อันเกิดจากก๊าซภูเขาไฟที่อยู่ในชั้นหิน

อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน

- แต่เวลาเขาทำน้ำแร่บรรจุขวดขายกันจริงๆ นั้น จะใช้วิธีการเก็บน้ำแร่และกรดคาร์บอนิกจากคนละชั้นความลึกกัน (จากบริเวณเดียวกัน) แล้วแยกกันกรองให้สะอาด ก่อนที่จะมาผสมกันใหม่ในโรงงาน ให้ปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับไปอยู่ในระดับความเข้มข้นตามธรรมชาติอีกครั้ง หรืออาจจะมากขึ้น/น้อยลง ซึ่งส่งผลต่อรสชาติของน้ำ (เช่น ถ้ารสชาติปานกลาง ก็อาจจะมีกรดคาร์บอนิกอยู่ 4-5 g/l ขณะที่ถ้ารสเข้มขึ้น จะมีกรดคาร์บอนิกอยู่ถึง 7 g/l)

3. แต่ตอนนี้ ได้มีการทำป้ายเตือน "ห้ามนำน้ำไปรับประทาน" เพราะอาจเกิดอันตรายตามมา

- ทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาลแจ้งว่า ยังอยู่ระหว่างการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ว่ามีสารอะไรปนเปื้อนอยู่ใน "น้ำพุโซดา" นี้บ้างหรือไม่ คาดว่าอีกประมาณ 1 สัปดาห์จะทราบผล

- ขณะนี้ เจ้าหน้าที่ได้จัดเวรยามเฝ้าแหล่งน้ำพุตลอด 24 ชม. เพื่อดูแลพื้นที่ดังกล่าวแล้ว

- ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้โพสต์เฟซบุ๊กเตือนว่า "เมื่อวานนี้ ได้เก็บตัวอย่างน้ำมาดู ซึ่งเมื่อเก็บไว้ข้ามคืน น้ำเปลี่ยนสีเป็นขุ่นๆ ออกน้ำตาลและมีกลิ่น จึงคิดว่าไม่น่าจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ"

อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน

4. กรมอนามัย ได้ออกมาเตือนเรื่องการดื่ม "น้ำพุโซดา" นี้เช่นกัน

- กรมอนามัยบอกว่า น้ำที่พบนี้จัดว่าเป็นน้ำแร่ชนิดหนึ่ง สำหรับคนปกติทั่วไป การดื่มน้ำแร่ก็เหมือนกับดื่มน้ำที่สะอาดทั่วไป ไม่ได้ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย

- ถ้าน้ำแร่ที่พบนี้ เป็น "น้ำแร่ชนิดไบคาร์บอเนต" ก็จะช่วยกระตุ้นการเคลื่อนของอาหารจากกระเพาะไปยังลำไส้เล็กให้เร็วขึ้น กระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนในกระเพาะอาหาร / หรือถ้าเป็น "น้ำแร่ชนิดซัลเฟต-ไบคาร์บอเนต" จะมีคุณประโยชน์ในการรักษาโรคเบาหวาน โดยจะช่วยลดอาการกระหายน้ำ ระดับน้ำตาล และช่วยลดความต้องการของอินซูลิน

- แต่ผู้ป่วยที่มีอาการบวมน้ำ ผู้ป่วยโรคไต ผู้ที่มีการทำงานของหัวใจไม่ดี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารปริมาณมาก และผู้ป่วยที่มีโรคระบบทางเดินหายใจที่มีภาวะหลอดลมหดเกร็ง นั้น ไม่ควรดื่มน้ำแร่ / ถ้าเป็นน้ำแร่ชนิดไบคาร์บอเนต จะทำให้คนที่มีปัญหาในการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร เกิดอาการระบบการย่อยและลำไส้ไม่ปกติ ท้องอืด ท้องเฟ้อได้

- ที่สำคัญคือ น้ำบาดาลนั้น ถ้าจะเอามาบริโภค ควรฆ่าเชื้อโรคก่อนด้วย เนื่องจากอาจจะมีการปนเปื้อนจากเชื้อโรคได้

- ส่วนที่สงสัยว่าดื่มน้ำแร่จะทำให้เป็นโรคนิ่วหรือไม่ ก็ไม่น่าจะใช่ เพราะโรคนิ่วมักเกิดจากการดื่มน้ำน้อย หรือกินอาหารบางประเภทที่มีเกลือแร่ขับออกมาทางน้ำปัสสาวะมาก การดื่มน้ำแร่ไม่ได้ทำให้เกิดนิ่ว

อ.เจษฎา เตือน ห้ามนำน้ำพุโซดามาดื่ม อาจมีสารปนเปื้อน

สรุป "น้ำพุโซดา" ที่มีข่าวว่าพบกันนี้ ยังไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียดว่าปลอดภัย ไร้สารปนเปื้อนที่อันตราย แถมมีข้อสังเกตว่าตั้งที่ไว้ข้ามคืนก็เริ่มมีกลิ่นและสีน้ำตาลขุ่น จึงไม่ควรนำมาบริโภคกัน แถมจะต้องระวังเรื่องเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำด้วย

ปล. ความเห็นส่วนตัว คิดว่าน้ำพุโซดาที่เป็นข่าวนี้ น่าจะเป็นคนละชนิดกับ "น้ำแร่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามธรรมชาติ" ที่พบในต่างประเทศ คือน่าจะเป็นน้ำบาดาลที่กินแล้วรู้สึกซ่า เพียงเพราะจากการที่มี

ไบคาร์บอเนตสูง ไม่ใช่เป็นน้ำที่ผสมกับกรดคาร์บอนิกจนได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจริงๆ สังเกตได้จากระดับค่าพีเอชที่ค่อนข้างสูง (คือใกล้เคียงกับน้ำธรรมดา  แทนที่จะมีความเป็นกรด แบบพวกน้ำโซดาหรือน้ำอัดลม)

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

Jessada Denduangboripant และ Jirakiat Bhumisawasdi


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com