วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2567
เปิดผล พิสูจน์พญานาค กรณี นักดำน้ำ ดับ ในทะเลสองห้อง
SHARE

เปิดผล พิสูจน์พญานาค กรณี นักดำน้ำ ดับ ในทะเลสองห้อง

โพสต์โดย 00 เมื่อ 14 มีนาคม 2564 - 16:38

เปิดผล พิสูจน์ กรณี นักดำน้ำระดับชั้นครู เสียชีวิต ภายในทะเลสองห้อง หลังชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเพราะพญานาค 

เปิดผล พิสูจน์พญานาค กรณี นักดำน้ำ ดับ ในทะเลสองห้อง

สำนักข่าว brighttv รายงานว่า จากกรณี นายต่อศักดิ์ วรินทร์ชัยกมล อายุ 47 ปี นักดำน้ำระดับชั้นครู เสียชีวิต หลังลงไปดำน้ำในทะเลสองห้อง โดยชาวบ้านที่ทราบข่าวพากันเชื่อว่าพื้นที่ดังกล่าว หากดำน้ำลงลึกไป จะโดนพญานาคลงโทษและนำไปเป็นบริวาร ตามความเชื่อของตำนานอาถรรพ์เมืองบาดาลโบราณ พระราชวังพญานาค 

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ คาดว่า นักดำน้ำระดับชั้นครู นั้นน่าจะเสียชีวิตจากโรคน้ำหนีบ ซึ่งโรคนี้เป็นโรคที่นักดำน้ำและชาวประมงรู้จักกันเป็นอย่างดี 

ทั้งนี้ เฟซบุ๊กเพจ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park ได้ออกมาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับ โรคน้ำหนีบ ผ่านเฟซบุ๊กว่า

โรคน้ำหนีบ หรือ โรคจากการลดความกดอากาศ [Decompression Sickness;DCS หรือ Bends หรือ Caisson Disease] เป็นโรคที่เกิดจาก เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย ได้รับก๊าซไนโตรเจนภายใต้ความกดดันจนเกิดภาวะอิ่มตัว เมื่อมีการลดความกดดัน เนื้อเยื่อจึงคายก๊าซไนโตรเจนที่เกินออก เกิดเป็นฟองอากาศเข้าสู่ระบบต่างๆของร่างกาย รวมทั้งระบบไหลเวียนของเส้นเลือด เกิดการอุดตันในตำแหน่งต่างๆจนเกิดพยาธิสภาพและอาการขึ้น สาเหตุจากการดำน้ำที่ลึก หรือนานเกินกำหนดแล้วขึ้นสู่ผิวน้ำโดยไม่หยุดลดความกดใต้น้ำตามที่ตารางลดความกดกำหนด

DCS แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. DCS Type 1 จะมีอาการทางผิวหนัง มีผื่นคัน ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อหรือมีอาการบวมเฉพาะที่

2. DCS Type 2 หรือ Serious DCS จะมีอาการทางระบบประสาท ระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ไอมีเสมหะปนเลือด เวียนศีรษะ เดินเซ อัมพาต หมดสติถึงขั้นเสียชีวิตได้

การรักษาพยาบาลเบื้องต้น

1 .ให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อผู้ป่วยหยุดหายใจ ต้องนวดหัวใจ และจัดทางเดินหายใจให้โล่ง [ First Aid/CPR]

2. ให้ผู้ป่วยนอนราบ เอาเสื้อผ้าที่เปียกออก ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ไม่ให้อะไรทางปาก จนกว่าจะได้สติเต็มที่

3. ให้ออกซิเจน 100 เปอร์เซ็นต์ ยังช่วยลดความรุนแรงของโรคอีกด้วย

4.หลีกเลี่ยงการให้ Dextrose เพราะจะชักนำให้ร่างกายดูดน้ำออกทางไต ทำให้ปัสสาวะมาก เกิดการเสียน้ำมากขึ้น

5. ถ้ารู้สึกตัวดีให้ดื่มน้ำมากๆ

6. ติดต่อโรงพยาบาลที่ใกล้เคียง เพื่อเตรียมรับผู้ป่วยเข้าห้องปรับบรรยาการสูง

7. รีบนำผู้ป่วยส่งห้องปรับบรรยากาศสูงโดยเร็วที่สุด ระหว่างนำส่งให้ผู้ป่วยดมออกซิเจน 100 เปอร์เซ็นต์ ตลอดเวลา

8. บันทึกข้อมูลการดำน้ำ อาการ และการรักษาที่ได้ให้กับผู้ป่วย.

9.หากจะส่งต่อผู้ป่วยด้วยเครื่องบิน ควรส่งโดยเครื่องบินโดยสารที่มีการปรับความดันภายใน หรือหากส่งด้วยเครื่องบินที่ปรับความดันภายในไม่ได้ ก็ไม่ควรบินสูงเกิน 1,000 ฟุต ให้ผู้ป่วยดมออกซิเจนขณะส่งต่อด้วย

การป้องกันผู้ที่จะดำน้ำต้องปฎิบัติดังนี้

1 .ต้องมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

2. ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการดำน้ำ ยิ่งถ้าดำน้ำด้วยอุปกรณ์การดำ จะต้องมีผู้มีความรู้และมีประสบการณ์เป็นผู้ควบคุมอยู่ด้วย และต้องปฎิบัติตามตารางการดำน้ำอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการดำน้ำหลายครั้งในหนึ่งวัน

3 .การดำน้ำลึกๆจะต้องมีการวางแผนรองรับ ถ้าเกิดโรคจากการดำน้ำจะต้องมีการปฐมพยาบาลโดยถูกวิธี และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลที่มีห้องปรับบรรยากาศโดยด่วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะยิ่งผู้ป่วยได้รับการรักษาได้รวดเร็วเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้ผู้ป่วยหายเร็วเป็นปกติเท่านั้น ความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมายังห้องปรับบรรยากาศอาจทำให้ผู้ป่วยพิการหรือเสียชีวิตได้

4 .หลังการดำน้ำ ควรพักผ่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางโดยสารเครื่องบิน เพื่อความปลอดภัยจากโรคที่อาจจะเกิดจากการดำน้ำ

ข้อมูลจาก : งานเวชศาสตร์ใต้น้ำ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต

ขอบคุณ : เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และเจ้าหน้าที่ศูนย์การแพทย์เขาหลัก

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก brighttv,อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน - Mu Ko Similan National park


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com