วันเสาร์ที่ 20 เมษายน 2567
สวนดุสิตโพล เผย ครอบครัวไทย ยุคโควิด หนี้สินพุ่ง ซึมเศร้า รายรับไม่พอกับรายจ่าย
SHARE

สวนดุสิตโพล เผย ครอบครัวไทย ยุคโควิด หนี้สินพุ่ง ซึมเศร้า รายรับไม่พอกับรายจ่าย

โพสต์โดย Fairy Cat เมื่อ 14 มีนาคม 2564 - 18:14

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง ครอบครัวไทยในยุคโควิด-19ระหว่างวันที่ 9-12 มีนาคม 2564 พบปัญหาครอบครัวที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาหนี้สิน พฤติกรรมครอบครัวไทยที่เพิ่มขึ้น คือ การดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวและที่ลดลง คือ การเดินทางท่องเที่ยว ปัญหาหนักอกเกี่ยวกับครอบครัว คือ รายรับไม่พอกับรายจ่าย  โดยสำรวจความคิดเห็นประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,184 คน (สำรวจทางออนไลน์)  สรุปผลได้ ดังนี้

สวนดุสิตโพล เผย ครอบครัวไทย ยุคโควิด หนี้สินพุ่ง ซึมเศร้า รายรับไม่พอกับรายจ่าย

1. ในยุคโควิด-19 ปัญหาครอบครัวในภาพรวมที่พบเห็นมากขึ้น คือ

อันดับ 1 มีปัญหาหนี้สิน 75.41% 

อันดับ 2 คนในครอบครัวตกงาน/ว่างงาน 69.96%

อันดับ 3 ความเครียด/โรคซึมเศร้า 67.19%

อันดับ 4 การทะเลาะเบาะแว้ง 36.02%

อันดับ 5 การเลิกรากัน/หย่าร้าง 30.30%

2. ในยุคโควิด-19 หากมองในแง่บวก ครอบครัวของท่านเป็นอย่างไร

อันดับ 1 ระมัดระวังการใช้ชีวิตมากขึ้น 70.28%

อันดับ 2 ได้ใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น 66.61%

อันดับ 3 มีเวลาอยู่บ้านมากขึ้น 63.28%

อันดับ 4 พักผ่อนมากขึ้น 51.32%

อันดับ 5 มีกิจกรรมทำร่วมกัน 49.36%

3. พฤติกรรมของครอบครัวไทยในยุคโควิด- 19

สวนดุสิตโพล เผย ครอบครัวไทย ยุคโควิด หนี้สินพุ่ง ซึมเศร้า รายรับไม่พอกับรายจ่าย

พฤติกรรมที่ “เพิ่มขึ้น”

1. ดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัวมากขึ้น 75.17%

2. ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับโควิด-19 67.31%

3. มีความเครียด ความวิตกกังวล 57.09%

พฤติกรรมที่ “ลดลง”

1. การเดินทางท่องเที่ยว 63.77%

2. กินข้าวนอกบ้าน 62.42%

3. รายได้ 44.51%

4. ปัญหาหนักอกเกี่ยวกับครอบครัว คือ

อันดับ 1 รายรับไม่พอกับรายจ่าย /รายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น 44.27%

อันดับ 2 วิตกกังวลเรื่องสุขภาพ กลัวติดโควิด-19 20.31%

อันดับ 3 เรื่องการทำงาน ความมั่นคงในอาชีพ 11.11%

อันดับ 4 มีปัญหาทะเลาะกันในครอบครัวมากขึ้น 9.20%

อันดับ 5 ปัญหาด้านการศึกษาของบุตร-หลาน 7.64%

สวนดุสิตโพล เผย ครอบครัวไทย ยุคโควิด หนี้สินพุ่ง ซึมเศร้า รายรับไม่พอกับรายจ่าย

นางสาวพรพรรณ บัวทอง นักวิจัย สวนดุสิตโพล กล่าวว่า "ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังมีโควิด-19 ปัญหาครอบครัวไทยก็ยังเป็นเรื่องปากท้อง รายได้ หนี้สิน ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีเรื่องเศรษฐกิจก็ยังเป็นปัญหาหลักของคนไทย ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะมองเห็นปัญหาระดับจุลภาคนี้หรือไม่ และจะมีแนวทางในการแก้ไขทั้งในระดับประเทศและระดับครัวเรือนอย่างไร เพราะครอบครัวนั้นเป็นหน่วยเริ่มต้นของสังคม ถ้าทุกครอบครัวอยู่ดีมีเงินใช้ก็ย่อมส่งผลให้ภาพรวมคุณภาพชีวิตของคนไทยนั้นดีมีความสุขนั่นเอง"

สวนดุสิตโพล เผย ครอบครัวไทย ยุคโควิด หนี้สินพุ่ง ซึมเศร้า รายรับไม่พอกับรายจ่าย

ขณะที่ ผศ.ดร.พิมพ์มาดา วิชาศิลป์ คณบดีโรงเรียนท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เผยว่า "ผลกระทบเชิงลบหลักที่เกิดขึ้นเป็นประเด็นเศรษฐกิจ คือ ปัญหาการตกงาน ว่างงาน ส่งผลให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ก่อให้เกิดหนี้สินตามมาและเกิดสภาวะความเครียด ซึ่งความเครียดนั้นมิได้มีเพียงแค่ปัญหาปากท้องเท่านั้น แต่มีความเครียดที่มาจากความกังวลใจ ในเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ด้วย จะเห็นได้ว่าผู้คนติดตามข่าวสาร และสถานการณ์ การแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด เพื่อหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่สุ่มเสี่ยง ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวลดลงไปอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตามในสภาวการณ์แพร่ระบาดนี้ ข้อดีที่เห็นได้ชัด คือ การที่ครอบครัวได้อยู่ร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตา ร่วมดูแล ให้กำลังใจซึ่งกันและกันเพื่อก้าวข้ามผ่านสภาวการณ์เช่นนี้ไปได้ด้วยพลังใจที่เข้มแข็ง"

สวนดุสิตโพล เผย ครอบครัวไทย ยุคโควิด หนี้สินพุ่ง ซึมเศร้า รายรับไม่พอกับรายจ่าย

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก SuanDusitPoll


แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com