วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567
คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง
SHARE

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

โพสต์โดย Fairy Cat เมื่อ 3 เมษายน 2564 - 14:23

จากกรณีที่มีข้อวิจารณ์ถึงฐานะการเงินการคลังของประเทศว่าเริ่มมีความเสี่ยง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังขอชี้แจงประเด็นข้อวิจารณ์ดังกล่าว ดังนี้

1. สำหรับประเด็นที่วงเงินงบประมาณปีงบประมาณ 2565 ลดลงจากปีงบประมาณ 2564 นั้น ไม่ได้หมายความว่าเศรษฐกิจจะไม่เติบโต แม้วงเงินงบประมาณและงบลงทุนในปีงบประมาณ 2565 จะลดลงจากปี 2564 แต่ในความเป็นจริง การลงทุนภาครัฐยังต้องรวมถึงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่สามารถช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อีกด้วย ซึ่งมูลค่าการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในแต่ละปีอยู่ที่กว่า 3 แสนล้านบาท

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

ในปัจจุบันรัฐบาลได้มีการเร่งนำ นวัตกรรมทางการเงินการลงทุนใหม่ ๆ มาใช้เป็นแหล่งเงินทุนทางเลือกเพื่อทดแทนการใช้งบประมาณภาครัฐ ช่วยลดการพึ่งพา งบประมาณแผ่นดินหรือเงินกู้จากภาครัฐ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนที่มีความพร้อม และมีความเชี่ยวชาญ เข้ามามีบทบาทในการร่วมมือกับภาครัฐ ในการพัฒนาประเทศ ทำให้สามารถใช้ทรัพยากรของประเทศได้อย่างคุ้มค่า

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

2. ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP เป็นตัวเลขทางการในระบบการคลังที่องค์กรระหว่างประเทศและบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง Moody’s S&P’s และ Fitch ให้การยอมรับ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้ในการพิจารณาจัดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยภายใต้กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ นิยามของหนี้สาธารณะประกอบด้วย หนี้รัฐบาล หนี้รัฐวิสาหกิจ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน และหนี้หน่วยงานของรัฐ  ซึ่งกระทรวงการคลังจะดำเนินการกู้เงินตามกฎหมายและแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเท่านั้น

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

ทั้งนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้กำกับ ติดตาม และรายงานแผนและผลการบริหารหนี้สาธารณะตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงได้เผยแพร่ข้อมูลการกู้เงินของกระทรวงการคลังตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทุกประการบนเว็บไซต์ www.pdmo.go.th ซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสของการดำเนินงาน และประชาชนสามารถตรวจสอบได้

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

ปัจจุบันรัฐบาลยังมีความต้องการกู้เงิน เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และรองรับการแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดจากการระบาดของโควิด-19 รวมถึงการจัดหาวัคซีนส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนก.พ. 64 อยู่ที่ร้อยละ 53.21 แต่รัฐบาลคาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย เศรษฐกิจและสังคมของประเทศจะฟื้นตัวและเกิดการขยายตัว (GDP growth) อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ในระยะปานกลาง (ปี 2565 – 2568) ยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังที่ไม่เกินร้อยละ 60 และอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย ยังถูกจัดอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

3. สำหรับสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำและความยากจนทั่วโลก ได้รับผลกระทบจากสงครามทางการค้าและภาวะตกต่ำทางการค้าทั่วโลกมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง อีกทั้งยังได้รับการซ้ำเติมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และผลกระทบของเศรษฐกิจที่หดตัว ไม่ได้เป็นผลโดยตรงจากการบริหารประเทศของรัฐบาล ปัจจุบันรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยา และบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นให้แก่ภาคประชาชน และภาคธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจ่ายเงินเยียวยาประชาชนกลุ่มต่าง ๆ อาทิ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เกษตรกร และกลุ่มเปราะบาง หรือการให้สินเชื่อแก่ภาคเอกชน

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

4. กระทรวงการคลังได้มีเครื่องมือในการวิเคราะห์ติดตามความเสี่ยงของการเกิดวิกฤตการคลังอย่างใกล้ชิด ผ่านแบบจำลอง Fiscal Early Warning System ทั้งนี้ ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563 ค่าดัชนีรวมเตือนภัยล่วงหน้าอยู่ที่ 2.47 มีค่าสูงขึ้นจาก ณ สิ้นปีงบประมาณ 2562 ซึ่งอยู่ที่ 1.44 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ฃยังคงต่ำกว่าระดับขีดเตือนภัยที่อยู่ที่ 5 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลจะต้องมีการเฝ้าระวังและบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด แต่ยังคงมีพื้นที่ว่าง (room) ในการจัดทำนโยบายการคลังเพิ่มเติมได้หากมีความจำเป็น

คลังแจง ประเด็น ฐานะการเงิน การคลังของประเทศ เริ่มเสี่ยง

ขอบคุณภาพและข้อมุลจาก สถานีข่าวกระทรวงการคลัง : Ministry of Finance News Station



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com