วันศุกร์ที่ 1 พฤศจิกายน 2567
SHARE

เงินต้องเป็นของใคร

โพสต์โดย Fairy Cat เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2565 - 12:02

จากกรณีประเด็นดราม่า มีการเผยแชท สอบถามค่าใช้จ่ายในการวางผลิตภัณฑ์ ขณะไลฟ์สดของทิดไพรวัลย์ ซึ่งเป็นลักษณะ Tie-in ไม่ใช่ราคาสำหรับรีวิว เพราะทางผู้จัดการทิดไพรวัลย์ แจ้งชัดเจนว่า เป็นการวางประกอบฉาก จะมีพูดถึงบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งเรทราคาสำหรับวางผลิตภัณฑ์ไว้เฉย ๆ อยู่ที่ครั้งละ 1 หมื่นบาท แต่ถ้าเหมาทั้งเดือนอยู่ที่ 1 แสนบาท

นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นที่ทางผู้ปล่อยแชท ดังกล่าวออกมาตั้งข้อสังเกตอีกด้วยว่า สมัยทิดไพรวัลย์ เป็นพระ มีการนำภาพที่แฟนคลับทำให้ไปตีพิมพ์เป็นปฏิทินเพื่อจำหน่าย โดยที่ไม่ได้บอกก่อนว่าจะเอาผลงานเหล่านั้นมาใช้ในเชิงพาณิชย์ 

ก่อนหน้านี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เคยระบุเมื่อครั้งที่ ทิดไพรวัลย์ ยังเป็น พระมหาไพรวัลย์ วรวัณโณ  ออกมาประกาศลาสิกขาว่า ทรัพย์สินของ พส.ที่ได้มาในขณะอยู่ในสมณเพศ ต้องตกเป็นของวัด เมื่อพระรูปนั้นลาสิกขา เว้นแต่จำหน่ายจ่ายโอนไปก่อนที่จะสละสมณเพศ

ทำให้ ทิดไพรวัลย์ ออกมาตอบโต้ พร้อมยกข้อกฏหมาย (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1623 ) ระบุว่า มาตรา 1623  ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้น จะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรม

ซึ่งทางเพจ สำนักงานกิจการยุติธรรม ได้เคยให้ข้อมูล ไขข้อข้องใจ #ทรัพย์สินพระภิกษุ เมื่อลาสิกขาหรือมรณะภาพ ทรัพย์สินเป็นของใคร??? เอาไว้ดังนี้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 1623 ระบุว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น เมื่อพระภิกษุนั้นถึงแก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้น จะได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิต หรือโดยพินัยกรรม

มาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ทรัพย์สินนั้น หาตกเป็นสมบัติของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่ายโดยประการใดตามกฎหมายก็ได้

กรณีพระภิกษุ มรณะภาพ และไม่ได้ทำพินัยกรรม ทรัพย์สินส่วนตัวของพระที่มรณะภาพ จึงตกเป็นของวัด แต่กรณีสึกแล้ว (ไม่ได้มรณะภาพ) ทรัพย์ส่วนตัว ก็ยังคงเป็นทรัพย์ส่วนตัวของอดีตพระภิกษุ

ส่วนทรัพย์สินที่มี หรือได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศ เช่น มีญาติโยมศรัทธาถวายเงินทองให้ ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุอยู่ เพียงแต่หากพระภิกษุมรณะภาพ ก็ให้ตกเป็นสมบัติของวัด ที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ (วัดที่จำพรรษา) เว้นแต่พระภิกษุจะได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนมรณภาพยกให้ใคร หรือได้จำหน่ายไปก่อนมรณภาพ ก็จะไม่ตกเป็นของวัด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินของพระภิกษุ

- ทรัพย์สินที่มีก่อนอุปสมบท จะเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุ ซึ่งหากมรณภาพก็จะตกทอดเป็นมรดกแก่ทายาทต่อไป

- ทรัพย์สินที่มีหรือได้มาในระหว่างอยู่ในสมณเพศ เช่น มีญาติโยมศรัทธาถวายเงินทองให้ ก็ยังคงเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของพระภิกษุอยู่ เพียงแต่หากพระภิกษุมรณภาพให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ (วัดที่จำพรรษา) เว้นแต่พระภิกษุจะได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนมรณภาพยกให้ใคร หรือได้จำหน่ายไปก่อนมรณภาพ ก็จะไม่ตกเป็นของวัด

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรับมรดกของพระภิกษุ

-พระภิกษุเป็นผู้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมได้ เพียงแต่จะต้องสึกออกมาเสียก่อน จากนั้นก็มาเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะทายาทโดยธรรมภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อรู้หรือควรได้รู้ถึงความตาย พระภิกษุเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก ไพรวัลย์ วรรณบุตร และ สำนักงานกิจการยุติธรรม



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com