กลายเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมทั้งประเทศ หลังตำรวจได้แถลงสรุปสำนวนคดีแตงโม ซึ่งล่าสุด แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ หรือ หมอพรทิพย์ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) และอดีตผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ก็ได้ออกมาพูดถึงประเด็นนี้
จากกรณีที่ พล.ต.ท.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 พร้อมคณะ ได้มีการตั้งโต๊ะแถลงกรณีภาพที่นำเสนอในวันแถลงข่าวคดีแตงโม เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา โดยชี้แจงว่า "บ า ด แ ผ ล ขนาดใหญ่บริเวณขาขวาเกิดจากใบพัดเรือ ซึ่งได้ยกกรณีตัวอย่าง โดยมีการอ้างอิงและเปรียบเทียบกับคดีในต่างประเทศที่ระบุว่า มีผู้เคราะห์ร้ายถูกใบพัดเรือชนิดเดียวกันปั่นขา"
ขณะที่หลายคนได้ตั้งข้อสังเกตว่า "สรุปแล้วข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร เนื่องจากสำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ผู้เคราะห์ ร้ า ย ที่เป็นนักศึกษาสาว วัย 21 ปี เคยได้รับ บ า ด แ ผ ล ดังกล่าว จากงานสังสรรค์ ตั้งแต่ปี 2019 โดยถูกของมี ค ม ก รี ด ที่ขาขวา ซึ่งไม่ได้มีการกล่าวถึงใบพัดเรือแต่อย่างใด"
โดยทางตำรวจได้มีการชี้แจงประเด็นที่หลายคนสงสัยว่า "ภาพที่นำมาอธิบายลักษณะ บ า ด แ ผ ล เป็นรูปเว้าโค้ง โดยตำรวจได้ใช้คำว่า บ า ด แ ผ ล เว้าโค้งที่มีลักษณะเดียวกันในวันแถลงสรุปคดี เนื่องจากมีข้อจำกัดทางกฎหมายที่ไม่สามารถนำ บ า ด แ ผ ล จากร่างมานำเสนอได้ โดย แ ผ ล หลังการเย็บ จะมีรูปโค้งเว้าเป็นอักษรตัวเอส (S)
ภาพ บ า ด แ ผ ล นั้น สามารถค้นหาได้ด้วยคำว่า Propeller Wound ซึ่งมีทั้ง บ า ด แ ผ ล ในคนและสัตว์โดยตำรวจได้ศึกษางานวิจัยของต่างประเทศ ในเรื่องคนที่ถูกใบพัดเรือ ฟั น ในลักษณะต่าง ๆ ยืนยันว่า ตำรวจไม่สามารถบิดเบือนข้อเท็จจริงได้ในโลกที่ผู้คนสามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ได้เช่นปัจจุบัน จึงต้องขออภัยประชาชนที่นำภาพซึ่งไม่ได้ระบุแหล่งที่มาอย่างครบถ้วน จนทำให้เกิดความเข้าใจที่กำกวมและมีข้อสงสัย ยืนยัน ไม่กระทบคดี"
ล่าสุด หมอพรทิพย์ ได้ออกมาเปิดใจถึงประเด็นเรื่อง บ า ด แ ผ ล ขนาดใหญ่ที่ขาของ แตงโม ที่ตำรวจแถลงว่า "เป็น แ ผ ล ที่เกิดจาก ใบพัดเรือ เพราะรอย แ ผ ล สอดคล้องกับใบพัดเรือ" ว่า "ความจริงมันเหมือนกับ ต้องมั่นเลยนะว่ามัน ค ม จริง ซึ่งมันแยกได้นะคะ คือ ถ้าโดนของไม่ ค ม มาก บางทีมันจะมี
เขาจะเรียกว่า Grid เนื้อเยื่อมาเป็นตัวเชื่อม จากนั้นต้องไปทดลองด้วยใบพัด คือ ให้ใบพัด สั บ ไปในสภาพเหมือนกันนะ ไม่ใช่ว่าสภาพไม่เหมือนกัน หมูกับคนไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าสภาพเหมือนกัน แล้วดูว่า แ ผ ล เหมือนกันมั้ย เขาเรียกว่าเป็นการจำลอง แต่อย่าพึ่งเชื่อ ต้องทำซ้ำหลาย ๆ หน อันนี้คือหลักการทางวิทยาศาสตร์
เคสนี้เป็นการสรุป เราก็เลยไม่รู้ว่าเขาทำซ้ำกี่หน แต่ถามว่าจะตรวจได้มั้ย ค่อนข้างยากหน่อย เพราะว่า เ ลื อ ด เป็นสารละลาย ก็จะละลาย แต่ว่าอย่าไปหมดหวัง เพราะว่าบางทีถ้า ฟ า ด ไปโดนเนื้อ ตัวชิ้นเนื้ออาจจะติด ในส่วนนี้เองอาจจะมีชิ้นเนื้อติดที่ใบพัดแล้วสามารถมาพิสูจน์ และตรวจหา ดีเอ็นเอ (DNA) ได้"
ขอบคุณ