วันศุกร์ที่ 19 เมษายน 2567
SHARE

พี่ชายแตงโม

โพสต์โดย เพลิงไร้ควัน เมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 - 18:58

ล่าสุด ต่อย ดายศ พี่ชายแตงโม ได้ออกมาเคลื่อนไหวด้วยการโพสต์คำสอนของ ศาสตราจารย์ ธงชัย ประดับชนานุรัตน์ ประธานมูลนิธิคริสตจักรคณะแบ๊บติสต์ ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุข้อความว่า

"คอลัมน์ “ส ด แ ต่ เ ช้ า” ปี 2 (34) โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า อย่าให้จิตใจของเจ้าโกรธเร็ว เพราะความโกรธฝังอยู่ในทรวงอกของคนเขลา มีเรื่องเล่าว่า ในขณะที่ชายคนหนึ่งกำลังขับรถไปตามถนน ก็พอดีมีผู้หญิงคนหนึ่งขับรถสวนมา ในจังหวะที่รถสวนกันนั้นเอง หญิงสาวผู้นั้นก็เปิดกระจกรถแล้วตะโกนใส่เขาว่า ควาย ชายคนนั้นรู้สึกฉุนจัด เขาจึงเปิดกระจกแล้วหันหลังมองไปยังรถของหญิงสาวที่เพิ่งขับผ่านไป แล้วตะโกนด่าสวนกลับไปว่า อีบ้า และนั่นคือสิ่งสุดท้ายที่เขาจำได้ ก่อนสติของเขาจะดับวูบไป เกิดอะไรขึ้นกับผม ชายหนุ่มคนดังกล่าวถามพยาบาลที่เขาพบ เมื่อเขากลับคืนสติขึ้นมา พยาบาลตอบเขาว่า คุณขับรถ ช น ควายบนถนนค่ะ

พี่น้องที่รัก สิ่งที่เราพึงตระหนักและสังวรไว้เสมอ ก็คือ

1. เราควรมี ความอดกลั้น ที่รู้จักควบคุม อารมณ์ของตนอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์โกรธ มิฉะนั้น มันจะนำ ภั ย มาสู่ตัวเอง หรือผู้อื่นโดยไม่จำเป็น ความอดกลั้น เป็นคุณลักษณะสำคัญต่อชีวิตที่เราต้องมีติดตัว เพราะความอดกลั้น คือ การระงับอารมณ์, ข่มอารมณ์ หรือ ระงับใจ พระวจนะของพระเจ้า จึงเตือนเราว่า อย่าปล่อยให้ใจของเราโกรธเร็ว เราจึงต้องรับผิดชอบควบคุมความโกรธที่เป็นเปรียบเหมือน อสุรกาย หรือ เสือ ร้ า ย ที่ถูก ขั ง ไว้อยู่ในใจของเรา เราต้องไม่ปล่อยให้มันออกมาเพ่นพ่าน ทำ ร้ า ย ผู้ใด รวมทั้งตัวของเราเอง

2.เราต้องมีความอดทน อยู่ในชีวิต ความอดทน หมายถึง การรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่ก็ตาม ด้วยความมั่นคงหนักแน่น ในภาษาอังกฤษ ใช้ว่าว่า Patience ที่หมายความถึง สมรรถนะหรือความสามารถในการรับหรือทนได้กับความล่าช้า ความยุ่งยาก หรือความทุกข์ เ จ็ บ ป ว ด โดยปราศจากอาการโกรธ หรือหัว เ สี ย บางทีภาษาไทย ก็ใช้คำว่า ขันติ หมายความถึง 1. ความอดกลั้น ต่อสิ่งที่ไม่พอใจ รวมทั้งความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้น และ 2. ความอดทน ต่อสิ่งต่าง ๆ โดยไม่หวั่นไหว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ดีงาม

เราจึงควรมีความอดทนและความอดกลั้นทั้ง

1. ทางกาย

1). อดทนต่อสภาพของปัจจัยความร้อนหรือความเย็น

2). อดทนต่อความทุกขเวทนาของร่างกายเมื่อ เ จ็ บ ป่ ว ย

2. ทางวาจา

1). อดทนต่อคำดูหมิ่น

2). อดทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์

3). อดทนต่อคำกล่าวหา หรือ ตัดสิน

3. ทางใจ

1). อดทนต่อความโลภ

2). อดทนความโกรธ

3). อดทนต่อความหลง

บางคนก็แยกแยะความแตกต่างระหว่าง ความอดทน กับ ความอดกลั้น ไว้ว่า

1. ความอดทน หมายถึง การระงับอารมณ์ และความรู้สึกที่มีต่อผลจากปัจจัยภายนอกหรือภายใน ด้วยจิตที่เข้มแข็ง

2. ความอดกลั้น หมายถึง การระงับหรือการควบคุมกิริยาหรือการกระทำอันมาจากปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยภายในที่มากระตุ้นอารมณ์ และความรู้สึก

แล้ววันนี้ คุณมีความอดทน และความอดกลั้น ที่กล่าวมาแล้วหรือไม่

1. คุณกำลังเป็นคนมีปัญญาที่สามารถควบคุม

1). อารมณ์

2). ความรู้สึก

3). วาจา ทั้งทางการพูด หรือการโพสต์

4). กิริยาท่าทาง

5). การกระทำหรือพฤติกรรม ต่าง ๆ ของคุณ หรือว่า

2. คุณกำลังเป็นคนโง่เขลา ที่ปล่อยให้อารมณ์ความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์โกรธ ควบคุมชีวิตคุณอยู่ในเวลานี้

จงระวัง อารมณ์โกรธของคุณ จะนำการวิวาท การทำ ร้ า ย และการ ทำ ล า ย ล้ า ง กันมาสู่กันและกัน เราต้องควบคุมมัน และระงับไม่ให้เกิดหายนภัยขึ้นมาได้ ดังคำเตือนที่ว่า คนอารมณ์ร้อนเร้าให้เกิดการวิวาท แต่คนที่โกรธช้าก็ระงับการพิพาท สุภาษิต‬ ‭15:18‬ ‭THSV11‬‬ คำเตือนสติที่ว่า “โกรธคือโง่ โมโหคือบ้า” ยังจำเป็นสำหรับคุณอยู่หรือไม่ ช่วยตอบที"

 

ขอบคุณ

Dayos Dechjob



แสดงความคิดเห็นด้วย Facebook

บริการของเรา

Advertising

พื้นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ สินค้าและบริการ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Web Design

ออกแบบเว็บไซต์ ครบจบในที่เดียว ทั้ง FrontEnd และ BackEnd ด้วยทีมงานมืออาชีพ ประสบการณ์กว่า 15 ปี

Web Application

ไม่ว่าจะธุรกิจใดให้ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน จากรูปแบบเดิมๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Online

VDO Creator

บริการออกแบบ และ จัดทำ Presentation ShowCase Review สินค้า TVC หรือ Viral Clip

เราใช้คุ้กกี้เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy)
About Us | Advertising
Join With Us | Contact
Privacy Policy | Terms of Service
Corrections Policy | DMCA Copyrights Disclaimer
Ethics Policy | Fact-Checking Policy
Editorial team information | Ownership and Funding Info
ติดต่อลงโฆษณา: 0880-900-800, อีเมล์: ads@jarm.com
แนะนำติชม/ฝากข่าวประชาสัมพันธ์: info@jarm.com