กรณีครอบครัว น้องต้นน้ำ เด็กชาย วัย 12 ปี ติดใจสาเหตุการเสียชีวิต หลังพาลูกเข้ารักษาที่ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ โดยแพทย์บอกว่ามีคนไข้พิเศษ เป็นเหตุให้ลูกชายต้องนอนรออยู่ ที่ รพ. ถึง 2 วันยังไม่ได้ผ่าตัด จนสุดท้ายลูกชายไส้ติ่งแตก และติดเชื้อในกระแสเลือดจนเสียชีวิต ไม่ได้รับคำชี้แจงจากแพทย์ถึงสาเหตุที่ไม่ยอมทำการผ่าตัดให้ ต้องร้องสื่อขอความเป็นธรรม

รายการโหนกระแสวันที่ 7 มิ.ย. 65 ดำเนินรายการโดย “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” สัมภาษณ์ พ่อสมบูรณ์ พ่อน้องต้นน้ำ, ป้าผึ้ง, น้าสุ มาพร้อม ดร.มนต์ชัย จงไกรรัตนกุล รองประธานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ

ผอ.ออกมาแถลงว่าห้องผ่าตัดมี 3 ห้อง ห้องแรกรายแรกผ่าตัดไส้ เลื่อนและมีลำไส้เน่า รายที่สองผู้ป่วยช่องท้องอั กเสบอย่างรุนแรง ผ่าตัดเสร็จ 02.00 น. ของวันที่ 30 พ.ค. , ห้องที่ 2 คนไข้อุบัติเหตุกระดูกโผล่ มีแผลเปิด ต้องเร่งผ่าตัด ห้องที่ 3 ผ่าตัดเด็กในครรภ์มีสภาวะหั วใจเต้นเร็ว ยืนยันไม่มีเคสพิเศษแทรกคิวใดๆ ทั้งสิ้น เพื่อความเป็นธรรม โฟนอินหา “นพ. ภูวดล กิตติวัฒนาสาร” ผู้อำนวยการ รพ. บุรีรัมย์ รพ.บุรีรัมย์มีห้องผ่าตัดอยู่ 3 ห้องจริงๆ ใช่มั้ย?
นพ.ภูวดล : รพ.เรามีห้องผ่าตัดทั้งหมด 6 ห้องครับ แต่ผ่านอกเวลาราชการ ในช่วงผ่าตัดช่วงบ่ายเราจะมีห้องทั้งหมดที่เปิดไว้สำรอง 4 ห้อง ส่วนกลางคืนเปิดไว้สำรอง 2 ห้อง เพื่อผ่าตัดได้ทันที
กรณีน้องต้นน้ำที่มีการเข็นเข้าไป แล้วเข็นกลับออกมา มีเวรเปลบอกว่าหมอต้องผ่าตัดเคสพิเศษ 2 เคส ข้อเท็จจริงเป็นยังไง?
นพ.ภูวดล : เรื่องนี้คงไม่ใช่ เรื่องจริง เพราะการเลือกเคสมาผ่าหรือไม่ผ่า เรายึดหลักวิชาการอยู่แล้ว เคสไหนหนักมาก แล้วชนกัน เราจะผ่าเคสที่หนักกว่า เคสอายุ 85 ปี ลำไส้อุดตันลำไส้จะเน่า เขาก็ช็อกแล้วก็ต้องผ่า อีกเคสก็เหมือนกัน ทำให้น้องต้องรอ เราเสียใจกับเรื่องที่เกิดขึ้น
คุณพ่อยืนยันว่ามีการนัดคิวในการผ่าตอน 5 ทุ่ม พอเข็นเข้าไปแล้วเข็นออกมา?
นพ.ภูวดล : โดยทั่วไปห้องผ่าตัดเรามีหลากหลายสาขาในการผ่า มีผ่ากระดูก สูฯ สมอง ผ่าตัดศัลยกรรมทั่วไป มีทุกแผนก มีหมอมากมายในการเข้ามา มีวิสัญญีแพทย์ในการช่วยประเมิน ดังนั้นเวลาเราวางแผนผ่าตัดโดยหลักการ เราวางแผนว่าจะผ่าตอน 5 ทุ่มหรือ 5 ทุ่มครึ่ง แต่พอถึงเวลาเราอาจมีเคสที่ด่วนหรือหนักกว่า ที่เข้ามาแทรก ก็เป็นอีกประเด็นนึงที่ทำให้ถูกเลื่อนรอการผ่าตัดได้

ในกรณีนี้ 3 ห้องที่ผ่าตัด เขาผ่าถึง 7 โมงเช้าเลยเหรอ?
นพ.ภูวดล : ทั้งสามเคสคงไม่ได้ ผ่าถึง 7 โมงเช้าหรอกครับ คงผ่าเสร็จประมาณตีสอง ตีสาม แต่ทีนี้เท่าที่สอบถามเจ้าของไข้ และทีมงาน คงประมาณมองว่าตอนนั้นที่ เขาประเมินหนูน้อย มองว่าอาการยังพอไหว ตอนที่ประเมิน ณ ตอนนั้น ด้วยเคสที่รอผ่าตัดอาจจะรอนาน เขาเลยมองว่างั้นกลับไปรอที่จุดก่อนในส่วนนี้ เคสที่ผ่าก็เป็นเคสที่หนักอยู่แล้ว เนื่องจากเราเป็นรพ.ศูนย์ วันนึงเราผ่าตัดเฉลี่ย 40-50 ราย
แบบนี้มีการประเมินพลาด บอกว่าเด็กอาการยังพอได้ ทั้งที่เด็กนอนปวดดิ้นทุรนทุราย ?
นพ.ภูวดล : ถ้าเกิดเด็กมีอาการช็อกหรืออะไรเขาก็ต้องผ่า ณ เวลาที่เขาประเมิน ยังประเมินแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่คิ ดว่ายอมรับได้ แล้วด้วยเคสตอนนั้นมีเคสที่หนักกว่า มันเลยถูกเลื่อน แต่เคสพิเศษ เวลาเราผ่าตัดเราไม่ได้เลือกใครเป็นเคสพิเศษหรือไม่พิเศษ เราเลือกอยู่ที่ว่าใครหนักหรือไม่หนัก
แต่สุดท้ายตอนเช้าเด็กไส้ติ่งแตก ติดเชื้อในกระแสเลือด ความดันตก หอบ มันก็บอกได้ว่าเกิดเหตุผิดพลาดจริงๆ ในการประเมิน ทำให้เด็กไส้ติ่งแตก ติดเชื้อในกระแสเลือด?
นพ.ภูวดล : อันนี้อาจจะเกิดได้ เพราะช่วงดึกยามวิกาล ส่วนนึงทีมผ่าตัดอาจจะล้า เลยมองว่าเช้าอาจลุกขึ้นมาทำ
รพ.ใหญ่ไม่มีหมอเร่งด่วนเหรอ?
นพ.ภูวดล : เรามีหมอประจำอยู่ แล้ว แต่ด้วยเคสปริมาณเยอะ ส่วนนึงก็ผ่ากันเกือบทั้งคืนอยู่ แล้ว อาจมีเบรกช่วงสั้นๆ แล้วเช้ามาต่อในส่วนนี้ ในมุมของเด็กผมมองว่าส่วนหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเราประเมิน ณ จุดนั้นตอนแรกเด็กโอเค แต่พอประเมินช่วงหลังกลายเป็นว่าเด็กทรุด พอเด็กทรุดเราก็เตรียมการผ่าตัดใหม่อยู่แล้ว ส่วนนี้เราก็ยอมรับ เราก็เสียใจ ที่เด็กทรุดลงมา เราผ่าตัดแล้วไม่สามารถยื้อหรื อรักษาเด็กให้ได้ดีได้
ดร.มนต์ชัย : แพทย์เจ้าของไข้ ใช้วิจารญาณแล้วว่าต้องผ่าตัดในช่วง 5 ทุ่มครึ่ง ก็ต้องแสดงว่าเป็นเคสผ่าตัดเร่งด่วนสิครับ
นพ.ภูวดล : ไม่หรอกครับ โดยทั่วไปเราต้องดูห้องว่างห้องผ่าตัด สองดูคิวเคสผ่าตัด เคสไหนหนักก็เอามาก่อน แต่เขาคงประเมินว่าห้าทุ่มน่าจะพอดี เคสนี้น่าจะเข้าได้ แต่พอ 5 ทุ่มมีเคสหนักเข้ามาแทรกมาอีก เลยถึงถูกเลื่อนออกไปอีก

ทำไมพอเหตุเกิดขึ้นแล้วรพ.รู้ว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นจริงๆ งานศพน้องหรีดสักพวง เจ้าหน้าที่ไม่ไปหาเขาเลย มองยังไง?
นพ.ภูวดล : ตรงนี้ก็ยอมรับว่าอาจได้รับในข้อมูลที่สื่อสารมาล่าช้า ก็ขออภัยอย่างยิ่ง เราอาจขาดการสื่อสารจากข้างล่างมาข้างบนไม่ได้มีมากมาย การจัดการส่วนนี้ไม่ดีพอ เรามารู้จริงๆ ช่วงเขาเผาแล้ว
ป้าผึ้ง : อยากถามว่าตั้งแต่วันน้องเสีย เวลาตั้งศพรวมประมาณ 5 วัน สื่อสารกันไม่ได้เลยเหรอคะ มีแต่ญาติติดต่อไปตลอด จากข้างล่างขึ้นไปข้างบนมันยากขนาดนั้นเลยเหรอคะ
น้าสุ : พยาบาลแจ้งแล้วว่าจะติดต่อคุณหมอเจ้าของเคส จนพยาบาลติดต่อมาว่าคุณหมอคงไม่ ติดต่อกลับมา (ร้องไห้) ให้เราไปถามไอซียูเอง
ป้าผึ้ง : แล้วอาการขนาดไหนถึงจะเรียกว่าฉุกเฉิน ประเมินว่าต้องผ่า
นพ.ภูวดล : ตรงนี้เราก็ยอมรับในการสื่อสาร อาจต้องไปคุยกับทีมงานอีกที ในระบบว่าเวลามีเคสมีอะไรต้องรายงานตรงขึ้นมาให้รวดเร็วชัดเจนกว่านี้ ก็ทำให้เรารู้ช้า กรณีที่ญาติบอกว่าเวลาไปถามแล้วทำไมพยาบาลไม่ได้บอกว่าเป็นโรคอะไร บางทีโดยทั่วไปสุดท้ายเด็กน้อยเป็นอะไรถึงแก่ชีวิต บางทีอาจต้องรวบรวมข้อมูลแล้วให้หมอที่เป็นเจ้าของไข้สรุปอีกทีให้ชัดเจนว่าเสียชีวิตจากอะไร บางครั้งพยาบาลอาจไม่กล้าบอกเลยเพราะกลัวว่าบอกไปแล้วอาจไม่ตรงกับที่หมอพูด เขาก็รอให้หมอเป็นคนพูดเอง พยาบาลรู้คร่าวๆ ว่าเสียชีวิตจากการติดเชื้อจากอะไร แต่ติดเชื้อแล้วมีอะไรร่วมด้วยหรือเปล่า
พยาบาลไม่โทรมาอาจกลัวสื่อสารไม่เข้าใจ ทำให้มีประเด็นเกิดขึ้น แต่ในมุมกลับกันคนที่เข็นรถออกมากลับสื่อสารกับทางนี้ว่ามีเคสพิเศษ?
นพ.ภูวดล : ในห้องผ่าตัดเราไม่มีเคสพิเศษอยู่แล้ว เราผ่าตามความหนักจากคนไข้ เพราะมีการควบคุมหลายส่วนอยู่แล้ว มีทีมหมอผ่าตัด หมอดมยา ซึ่งทีมหมอผ่าตัดก็เข้าหลายสาขา ถ้าเอาเคสไม่ด่วนแล้วมา สาขาอื่นเขาก็โวยได้อยู่แล้ว

ประเด็นที่เกิดขึ้น เที่ยงคืนถึงเจ็ดโมงเช้า ถ้าทางรพ.พยายามบอกว่าคุณหมอหลั งผ่าตัดอาจล้า รอประเมินอาการ ตัวน้องน่าจะไหวอยู่ เช้าแล้วค่อยว่ากัน พอพูดออกไปสังคมอาจกังวลใจได้ เหมือนกัน เหมือนเป็นการประเมินพลาด ทำให้เด็กคนนึงที่หาข้าวหาน้ำ ให้ย่ากินต้องเสียชีวิตไป แต่ต้องมาเสียชีวิตจากการประเมินผิดพลาด เขาปวดทรมาน พ่อยืนอยู่ตลอด พยาบาลเห็นมั้ย?
พ่อสมบูรณ์ : พยาบาลก็เห็น
นพ.ภูวดล : เรายอมรับ แต่มีเคสผ่าอยู่น่าจะเสร็จตี สองตีสาม ก็ยอมรับผิดในการจัดการ เรื่องนี้เราคงต้องมาทบทวน พรุ่งนี้มีนัดจัดการระบบทีมผ่าตัด เพื่อเซ็ตระบบ ปัญหาที่อาจหลุด หรือมีอะไรเกิดขึ้น เพื่อให้ระบบมีคุณภาพที่ดีขึ้น
ดร.มนต์ชัย : แพทย์ที่เขานัดผ่าตัดตอน 5 ทุ่ม เขาติดผ่าตัด 5 ทุ่มจริงใช่มั้ย เขาเป็นคนเดียวกันใช่มั้ย
นพ.ภูวดล : เขาติดผ่าตัดอยู่แล้ว ในเคสที่ลำไส้เน่าอยู่แล้ว
ตอนนั้นสามารถแจ้งญาติได้มั้ยว่าผ่าตัดเต็ม เขาจะได้ไปหารพ.ใกล้ๆ พออึมครึมให้รอดูจนเช้า แล้วไส้ติ่งแตกจนเสียชีวิต เป็นเรื่องการสื่อสารด้วยหรอื เปล่า?
นพ.ภูวดล : ก็คงมีส่วน มองว่าเรื่องสื่อสารนี่แหละ ถ้าญาติหรือใคร อยากไปรพ.อื่นเราไม่มีปัญหา เพราะเรามองว่าด้วยรพ.ใหญ่ก็ ยอมรับว่าบางทีเคสอะไรต่างๆ เราเซ็ตเวลาไว้ แต่บางทีอาจเลื่อนได้เพราะเราติดเคสหรือติดอะไร อย่างมีเคสหนัก ถูกแทง แต่บางอย่างของเราอาจจัดการไม่ดี ตรงนี้ก็ต้องทบทวนและจัดการ
ผมมองว่าเคสไส้ติ่งอักเสบ เด็กปวดขนาดนี้เป็นเคสที่รอไม่ได้ ซึ่งแตกขึ้นมาไม่รู้จะมีใครจะรับผิดชอบ ถ้าแตกไปมีเรื่องหนองไปติดเชื้อในกระแสเลือดได้ ผมว่าการประเมินอาจมีข้อผิดพลาดมาก รบกวนฝากทางรพ.ด้วย?
นพ.ภูวดล : ยินดีครับ ก่อนอื่นในนามรพ.บุรีรัมย์ ขอแสดงความเสียใจกับคุณพ่อและครอบครัว เราก็ไม่ได้อยากให้เกิด เราก็ต้องทบทวนตัวเองว่ามีอะไรต้องปรับ

หลังจากที่ฟังท่านผอ.อธิบาย ทนายแก้วมองยังไง?
ดร.มนต์ชัย : ผมมองว่าแกเลี่ยงบาลีชัดๆ เลยครับ พฤติกรรมของแพทย์ที่มีการนัดหมายผ่าตัด ต้องมีการประสานงานไปยังหน่วยงานอื่นๆ แล้วถึงจะมีการนัด สองถึงแม้ว่าจะมีการเลื่อน แพทย์คนนั้นต้องไปดูแลคนไข้ เพราะเขาเป็นคนประเมินอาการ ถ้าจะปล่อยแล้วบอกว่าเพลียผ่าตั ดคนอื่นแล้วกลับบ้านไปนอน ผมว่ามันไม่ถูกต้อง กรณีตั้งแต่ 7 โมงเช้า เป็นจุดวิกฤตที่สุด ถ้ามีการดูแล ตรวจ ส่งอัลตร้าซาวด์หรือพิจารณาก่อน ในช่วงเที่ยงคืนถึงตีหนึ่งจะดี ที่สุด แต่ผอ.พูดเหมือนห้องผ่าตัดเต็ม ไม่มีทางเลือก ชีวิตคนไม่ใช่ผักปลา มันเลื่อนนาทีเดียว คนไข้อาจเสียชีวิตได้ ผมฟันธงว่าเรื่องนี้แพทย์วินิจฉัยพลาด ผมถือว่าหมอน่าจะประมาท
ในช่วงเที่ยงคืนถึง 7 โมงเช้า มีหมอมาดูมั้ย?
พ่อสมบูรณ์ : ไม่มีเลยครับ
แล้วหมอคนไหนมาประเมิน?
พ่อสมบูรณ์ : มาประเมินช่วงสุดท้ายแล้ว
พ่อบอกว่าตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเจ็ดโมงเช้าไม่มีหมอคนไหนมาดู เลย มีแต่พยาบาล แต่ผอ.บอกว่าหมอประเมินแล้วรอได้ จะตอบคนไข้ยังไง พ่ออยู่ตลอดเวลา ไม่ได้ไปไหนเลย?
พ่อสมบูรณ์ : มีเข้าห้องน้ำ แต่ไปแป๊บเดียว ไม่นาน
ไม่มีหมอคนไหนอยากให้เกิดแบบนี้หรอก แต่อันนี้เป็นความผิดพลาดจริงๆ จะแก้ปัญหานี้ยังไง ผมรู้มาว่าในประเทศไทย ต่างจังหวัดมีเหตุแบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ มีคนมาร้องโหนกระแสเยอะมาก ผมทำให้ได้ไม่หมดจริงๆ เยอะจริงๆ ลักษณะคล้ายๆ แบบนี้?
ดร.มนต์ชัย : ผมแปลกใจ กรณีหมอเขาเลื่อน ถ้าเขาบอกเรา เราจะได้ส่งที่อื่น กรณีนี้คนไข้ก็ดันไม่รู้ด้วยว่ามีการเลื่อนการผ่าตัด ถ้าผ่าที่อื่นก็ไม่น่าจะยาก เพราะมันค่อนข้างผ่าได้ ถ้ามีการสื่อสารที่ดีเราก็ทันเวลา

ที่สำคัญเขาเป็นเด็กดีนะ น้องต้นน้ำ เป็นเด็กดีมาก?
น้าสุ : (ร้องไห้)
ย่าบอกว่าตื่นนอนตอนเช้าก่อนไปเรียนหนังสือ หาข้าวหาน้ำให้ย่ากิน ย่าบอกว่าวันนี้ไม่มีแล้วที่ หลานคนนี้จะเอาข้าวเอาน้ำมาให้ กิน?
พ่อสมบูรณ์ : (น้ำตาไหล)
ฟังแล้วทรมานใจ ปกติยิ่งรู้ว่าไส้ติ่งอักเสบยังไงก็ต้องผ่า เพราะนั่นบอกว่าไส้ติ่งกำลังจะแตก เอาออกได้เร็วที่สุดเท่าไหร่อัตรารอดชีวิตก็มีมากเท่านั้น กรณีน้องถึงได้บอกว่าช่วงเวลาเที่ยงคืนถึงเจ็ดโมงเช้า ทำไมไม่มีการประเมินน้อง เขาประเมินตรงไหน?
ป้าผึ้ง : พ่อเขามีแจ้งพยาบาลว่าลูกไข้สูง พยาบาลเอายามาฉีด
พ่อสมบูรณ์ : พยาบาลบอก แต่ไม่มีหมอ
ป้าผึ้ง : พยาบาลไม่สื่อสารกับหมอเหรอคะ ตอนแกไข้ขึ้นสูง ปวดท้องรุนแรง มีอาการเพ้อ กำมือพ่อ ตอนพ่อแจ้งพยาบาล พยาบาลจะไม่มีการแจ้งทางแพทย์ เลยเหรอคะ ถึงปล่อยให้ไส้ติ่งแตก
พ่อสมบูรณ์ : น้องอ้วกเป็นสีเขียว ตอนเช้าก็อ้วกเต็มถุง
ดร.มนต์ชัย : กรณีของแพทย์ ตามกฎหมายแพทยสภา ต้องมีการดูแลรักษาให้ดีที่สุด การกระทำนี้ถ้าเกิดแพทย์ประมาท เราสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับรพ.ได้ แต่ถ้าเกิดเรามองว่าหมอประมาทส่วนตัว ก็สามารถฟ้องคดีอาญากับหมอได้ เหมือนกัน ส่วนการฟ้องร้องกับทางรพ. สามารถเรียกค่าเสียหาย ค่าทดแทนจากทางรพ.ได้ กรณีนี้ เหมือนหมอพอไม่พอ สามารถเอาหมออะไรมาผ่าก็ได้ เอาความล้ามาใช้กับชีวิตคนผมว่ามันไม่น่ารัก นี่รพ.ใหญ่ ไม่ได้อยู่หลังเขา โรคไส้ติ่งไม่ใช่โรคมะเร็ง ไส้ติ่งปวดปุ๊บยังไงก็ต้องผ่า

ย่าเป็นไงบ้าง?
พ่อสมบูรณ์ : ร้องไห้ทุกวัน (ร้องไห้) แกทำใจไม่ได้ ไม่มีใครหากับข้าวให้แกกิน ผมก็ต้องไปทำงานด้วย
ดร.มนต์ชัย : แปลก 4 วันที่ตั้งศพ ตัวแทนสักคน เจ้าหน้าที่ก็ไม่มี สื่อสารกันด้วยการใช้ม้าเร็วหรือนกพิราบ ถามจริงๆ เรื่องแบบนี้คนตายทั้งคน ลองเป็นลูกหมอดูสิ ผมพูดตรงๆ ว่าได้ผ่าแล้ว เด็กเขาดิ้นทุรนทุราย คุณมองไม่เห็นเลยเหรอ ให้เขารอได้ยังไง เคสนี้เดี๋ยวผมทำให้เต็มที่ ก็แล้วแต่คุณพ่อจะเจรจาค่าทดแทนเรื่องตัวเลข แต่ถ้าเขาไม่รับผิดชอบเลย ผมคิดว่าต้องฟ้อง
พ่อสมบูรณ์ : ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก เพราะเป็นการสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ เกินไป (ร้องไห้) ผมก็มีลูกคนเดียว
น้าสุ : น้องรอจนน้องเสียชีวิต ถ้าหนูไม่ติดต่อไปที่รพ. น้องจะได้รับความยุติธรรมหรื อเปล่าคะ (ร้องไห้) เรื่องนี้จะมีคนรู้หรือเปล่า อยากให้รพ.แก้ไขจะได้ไม่เกิดกั บคนอื่นอีก ความสูญเสียตรงนี้ มันใหญ่เกินจะมีอะไรมาทดแทน (ร้องไห้)
ป้าผึ้ง : การสื่อสารอะไรขอให้ เร็วกว่านี้หน่อย ครอบครัวบางครอบครัวเขาตาสีตาสี ไม่สามารถต่อกรอะไรกับรพ.ได้ อยากฝากค่ะ ไม่อยากให้เกิดเคสแบบนี้ขึ้นมาอีก

ขอบคุณ รายการโหนกระแส